ไลฟ์สไตล์

"ผัดไทย"อาหารจานเดียวแฝงคุณประโยชน์

"ผัดไทย"อาหารจานเดียวแฝงคุณประโยชน์

29 ก.ค. 2564

เปรี้ยว  หวาน มัน เค็ม คือองค์ประกอบของ   อาหารจานเดียว ที่ชื่อว่า " ผัดไทย" แม้ว่า จะมีส่วนประกอบเพียงไม่กี่อย่างในการปรุง แต่ผัดไทย ก็เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ให้ประโยชน์กับร่างกาย

 

 

 


“ผัดไทย “ อาหารไทยที่มีเส้นเป็นส่วนประกอบหลักถูกอ้างอิงว่า เป็นที่รู้จัก  ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี  หรือสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2   ด้วยรณรงค์ให้ประชาชนหันมารับประทานก๋วยเตี๋ยว เพื่อลดการบริโภคข้าว

 

 

 

เนื่องจากในช่วงนั้นสภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ข้าวมีราคาแพง   ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับอาหารไทย  จาก”ก๋วยเตี๋ยว” ที่เป็นอาหารจีน จึงปรุงแต่งกลายมาเป็น “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย”  หรือ  "ผัดไทย"

 

 

“ผัดไทย”เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง เนื่องจากส่วนผสมหลักคือการนำเส้นแป้งข้าวเจ้ามาผัด กับน้ำมัน มีโปรตีนได้จากเต้าหู้แข็ง กุ้งแห้ง ถั่วลิสง และถั่วงอก ใยอาหารจากใบกุยช่าย หัวไชโป๊ ซึ่งมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ซึ่งช่วยบำรุงกระดูก และฟัน 

 

 

ในสูตรอาหารของ "ผัดไทย"  ประกอบด้วย  เส้นจันทร์อบแห้ง  ,ถั่วงอก,กุ้งสด,  กุ้งแห้ง, เต้าหู้แข็ง,ใบกุยช่าย,หัวผักกาดเค็ม,ถั่วลิสงคั่วบดหยาบ,ไข่ไก่,หอมแดงสับละเอียด , น้ำมันพืช,มะนาว,ต้นกุยช่าย,หัวปลี,น้ำปรุงรส,น้ำตาลปี๊บ , น้ำปลา,น้ำตาลทราย,น้ำมะขามเปียก  และ พริกป่น 

 


คุณค่าทางโภชนาการของ"ผัดไทย"  พลังงาน(กิโลแคลอรี่)  216.16 โปรตีน(กรัม)  7.26  ไขมัน(กรัม)  10.84  คาร์โบไฮเดรต(กรัม)  22.39
ใยอาหาร(กรัม)  1.78 แคลเซียม(มิลลิกรัม)  67.98  และเหล็ก(มิลลิกรัม)  0.94

 

 

คุณค่าทางอาหาร ที่มีอยู่ใน"ผัดไทย" อาทิ ใบกุยช่าย แก้ท้องผูก ช่วยลดระดับคลอสเลสเตอรอลในเลือด , ลดความดันโลหิตป้องกันโรคมะเร็ง ,หัวหอม  บรรเทาอาการหวัด หายใจไม่ออก ,กระเทียม ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด ,โรคมะเร็ง, การอักเสบ รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา  น้ำมะขาม  ฟอกโลหิต เป็นยาระบายอ่อนๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

\"ผัดไทย\"อาหารจานเดียวแฝงคุณประโยชน์

 

 

 

\"ผัดไทย\"อาหารจานเดียวแฝงคุณประโยชน์

 

 

\"ผัดไทย\"อาหารจานเดียวแฝงคุณประโยชน์

 

 

\"ผัดไทย\"อาหารจานเดียวแฝงคุณประโยชน์

 

 

 

 

 

“ผัดไทย”มีหลากหลายเมนู  ทั้งผัดไทยห่อไข่ , ผัดไทยโบราณ, วุ้นเส้นผัดไทย เป็นต้น เมนูผัดไทยที่นิยมคือ  “ผัดไทยกุ้งสด”  ด้วย รสชาด  เปรี้ยว-เค็ม-หวาน   แม้ว่า”ผัดไทย”จะเป็นแหล่งที่ดีของใยอาหาร แต่เพื่อประโยชน์ของร่างกาย  ควรที่จะรับประทานผักสดวบคู่กันไปด้วย   ขณะเดียวกัน”ผัดไทย”ก็มีปริมาณของไขมันสูงเช่นกัน   ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง จึงควรระมัดระวัง 

 

 

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก

https://sites.google.com/a/srisawat.ac.th/healthy-food-thailand/home

 

ภาพประกอบจาก 

https://pixabay.com/th/