ไลฟ์สไตล์

Check List พฤติกรรมที่มีความเสี่ยง "ทำร้ายดวงตา"

Check List พฤติกรรมที่มีความเสี่ยง "ทำร้ายดวงตา"

10 ส.ค. 2564

หยุดพฤติกรรมเสี่ยง "ทำร้ายดวงตา" เพื่อลดปัญหาตาแห้งและอ่อนล้า ดูแลดวงตาอย่างตรงจุด

ดวงตา ไม่ใช่แค่หน้าต่างของหัวใจ แต่ยังเป็นโลกกว้างให้กับเราด้วย การถนอมดวงตา และใช้งานอย่างเหมาะสม รวมทั้งปกป้องดวงตาไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคจึงเป็นสิ่งจำเป็น

 

โดยเฉพาะในยุคที่สมาร์ทโฟนเป็นเหมือนเงาตามตัว รวมถึงการ Work From Home ในช่วง COVID-19 อาจทำให้หลายคนใช้สายตามากจนดวงตาแห้งและอ่อนล้า

ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำร้ายดวงตา ดังนี้

1.พักผ่อนน้อย การนอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน นั่นหมายความว่าเราต้องใช้สายตามากกว่าวันละ 18 ชั่วโมง ส่งผลให้ดวงตาอ่อนล้า มีอนุมูลอิสระสะสม อาจนำไปสู่โรคต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อมได้

 

2.จ้องจอ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มักจะมีแสงสีฟ้าหรือBlue Lightคลื่นแสงพลังงานสูงที่เป็นอันตรายต่อดวงตา ยิ่งจ้องจอนานดวงตาก็ยิ่งได้รับแสงสีฟ้ามากขึ้น อาจทำให้ตาแห้งและเสี่ยงต่อการเกิดโรคจุดรับภาพเสื่อม ต้อกระจกรวมถึงทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง

 

3.ตากแดดตากลม การเผชิญกับแสงแดดหรือรังสีUVฝุ่นละอองและลมเป็นประจำ อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ดวงตา รวมถึงเสี่ยงต่อการเกิดต้อชนิดต่าง ๆ

 

4.ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบได้ง่าย รวมทั้งยังทำให้เกิดภาวะตาแห้ง หากปล่อยไว้นานจะทำให้กระจกตาเป็นแผลอักเสบ ติดเชื้อและอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียดวงตาได้

 

5.รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ ทำให้ขาดสารอาหารบำรุงดวงตา เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือติดเชื้อที่ดวงตาได้ง่าย

 

นอกจากพฤติกรรมที่ทำร้ายดวงตาแล้ว ความเสื่อมตามวัยและโรคประจำตัวบางอย่างก็ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตาได้เช่นกัน

 

ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานที่เสี่ยงเกิดต้อกระจกได้มากกว่าคนทั่วไป2- 4 เท่า และต้อกระจกมีโอกาสทำให้ตาบอดได้ถึงร้อยละ52ส่วนในผู้สูงอายุนั้นมีโอกาสเกิดต้อกระจกมากถึงร้อย95

ดังนั้นเราควรการหยุดพฤติกรรมเสี่ยงที่"ทำร้ายดวงตา"และบำรุงสายตาด้วยสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งประกอบด้วย

1.ลูทีนและ ซีแซนทีน(Lutein and Zeaxanthin) สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร และเป็นแคโรทีนอยด์2ชนิดเท่านั้นที่พบอยู่ที่จุดรับภาพของลูกตาและที่เลนส์ตา ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์จอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย ลดอนุมูลอิสระและกรองแสงสีฟ้า ช่วยลดโอกาสเกิดต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อมและช่วยให้การมองภาพเห็นชัดขึ้น

2.วิตามินเอ ช่วยให้การมองเห็นเป็นปกติ เพิ่มคุณภาพน้ำตาในกลุ่มคนที่ตาแห้งและช่วยคงสภาพปกติของเยื่อบุต่าง ๆ หากขาดวิตามินเอจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย

3.แอสตาแซนธิน(Astaxanthin)เป็นสารแคโรทีนอยด์อีกชนิดที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้ ต้องได้จากการรับประทานสาหร่ายสีแดงสายพันธุ์Haematococcus Pluvialisมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ลดความเมื่อยล้าและเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังดวงตา ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดขึ้น

4. สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin)ต้านอนุมูลอิสระช่วยให้จอตาเป็นปกติ ชะลอการขุ่นมัวของเลนส์ตา เพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงดวงตา เพิ่มการปรับตัวในการมองเห็นในที่มืดและลดอาการล้าของดวงตา

5. วิตามินอี ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

ขอบคุณที่มาข้อมูล : กิฟฟารีน