"แกงป่า"อาหารไทยพื้นบ้าน"มากประโยชน์"
"แกงป่า"อาหารไทยพื้นบ้าน"มากประโยชน์" เป็น"แกง"แบบไม่ใส่กะทิ นิยมใส่"เครื่องเทศ"จำนวนมากเพื่อปรุงกลิ่นรส โดยเฉพาะเพื่อดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นสาบของเนื้อสัตว์
"แกงป่า"เป็นอาหารไทยที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ช่วยไล่ลม ขับเหงื่อ ทำให้เลือดลมหมุนเวียนดี จัดอยู่ในประเภท"แกง"ที่ไม่มีกะทิ จึงเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำแต่มีใยอาหารสูง โดยเฉพาะจากมะเขือพวง มะเขือเปราะ ใบกะเพรา กระชาย
และมีเครื่องเทศสมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลายชนิด อาทิ พริกแห้ง พริกขี้หนูสด พริกไทย กระเทียม ข่า ตะไคร้ มะกรูด กะเพรา กระชาย ฯลฯ เป็นอีกหนึ่งเมนูสุขภาพสำหรับทุกคน
"แกงป่า"ในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันโดยมากเป็นความแตกต่างที่เครื่องเทศในแต่ละท้องถิ่น
จังหวัดเพชรบุรี ใส่พริกกะเหรี่ยงและกะปิ
จังหวัดราชบุรี ใส่พริกกะเหรี่ยงซึ่งมีรสเผ็ดร้อน เครื่องเทศอื่น ๆ ที่ใช้คือ ยี่หร่า ลูกผักชี โป๋ยกั๋ก พริกไทย กานพลู เวลาปรุงใส่กระชายและใบกะเพรามาก
จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้ทั้งพริกแห้งและพริกสดนิยมใส่หอมแดง
จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้ทั้งพริกขี้หนูสดและแห้ง
ภาคตะวันออก ใช้เครื่องเทศที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น จันทบุรีและตราดใช้หัวไพล ขิงแห้ง กระทือ เปราะหอม เร่วหอม หน่อกระวาน ลูกกระวาน ทางระยอง นิยมใส่ดอกผักชีไร่ ดอกกะเพรา ดอกผักชีฝรั่ง และนิยมใส่พริกตุ้มซึ่งเป็นผักท้องถิ่นลงในแกงด้วย
สรรพคุณส่วนประกอบของ"แกงป่า"
- พริกไทย ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหาร ขับลม ขับเหงื่อ บรรเทาความร้อนในร่างกาย
-กระชาย ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ไข้ ลดการอักเสบต้านเชื้อรา แบคทีเรีย
- พริกขี้หนู ทำให้เจริญอาหาร ขับลม ขับเสมหะสารแคปไซซินในพริกช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง
-กะเพรา ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้ ขับเสมหะ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยย่อยไขมัน แก้อาการจุกเสียด
-กระเทียม มีสรรพคุณขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ลดไขมัน
-มะกรูด ช่วยขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ
- ตะไคร้ ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ
"แกงป่า" จึงเป็นอาหารที่ช่วยเรื่องระบบการย่อย มีความเผ็ดร้อน รับประทานได้ทั่วไป ในฤดูหนาวหรือวันที่มีอากาศเย็น จะช่วยเพิ่มความร้อนให้กับร่างกาย มีจุดเด่นที่สามารถเติมส่วนผสมประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ปลา เนื้อ ไก่ กุ้ง ส่วนประกอบของ"แกงป่า"ยังช่วยลดกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
"แกงป่า"จึงเป็นอีกหนึ่งเมนูสุขภาพสำหรับทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักและผู้เป็น"เบาหวาน"เพราะช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาล และไขมัน
ที่มา- เว็บไซต์มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.),วิกิพีเดีย