ไลฟ์สไตล์

รับมือ "ตะขาบ"ร้าย โดนกัดแล้วทำอย่างไรไม่ให้เสียชีวิต

รับมือ "ตะขาบ"ร้าย โดนกัดแล้วทำอย่างไรไม่ให้เสียชีวิต

12 ส.ค. 2564

เจ้าตะขาบถือเป็นสัตว์ที่มีพิษชนิดหนึ่ง และชอบอาศัยในพื้นที่อับชื้น ยิ่งเข้าฤดูฝนแบบนี้มักจะชอบออกมาหนีน้ำเดินป้วนเปี้ยนและขยายพันธุ์ง่าย เราจึงต้องระวังและรู้วิธีดูแลหากโดนกัดเพราะพิษตะขาบทำเสียชีวิตได้

รศ.พญ.สาทริยา ตระกูลศรีชัย ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินและศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับตะขาบ การสังเกตอาการผิดปกติและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้อง เพื่อให้ทุกบ้านที่เสี่ยงกับสัตว์ร้ายหน้าฝนนี้สามารถช่วยเหลือคนในครอบครัวได้ทันท่วงทีค่ะ

 

ตะขาบเป็นสัตว์ขาปล้องประเภทหนึ่ง ขนาดตัวมีความยาวได้มากถึง 38 เซนติเมตร โดยที่แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ทำให้มีขาจำนวนมากอาจจะถือเป็น 100 ขา  บริเวณที่พบตะขาบได้มากคือในเขตร้อนชื้นเช่นเมืองไทยเรา เจ้าตะขาบชอบอาศัยบนบก อันตรายของตะขาบคือมีเขี้ยวพิษ 1 คู่  เวลาที่กัดคนก็จะสามารถปล่อยพิษตรงเขี้ยวพิษนี้  ซึ่งสารที่อยู่ในพิษของตะขาบเป็นสารทั้งชนิดที่เป็นเอนไซม์และไม่ใช่เอนไซม์ ที่ส่งผลทำให้คนที่โดนกัดมีอาการตั้งแต่น้อยไปถึงมากจนเสียชีวิต

 

 

รับมือ \"ตะขาบ\"ร้าย โดนกัดแล้วทำอย่างไรไม่ให้เสียชีวิต

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

https://หน้าฝนควรรู้ ตะขาบ กัดรับมือปฐมพยาบาลอย่างไร แพ้พิษเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

อาการเมื่อโดนตะขาบกัด :  รู้สึกปวดแผลเล็กน้อยจนถึงปวดมาก  มีอาการคัน บวมที่แผล แผลของผู้ป่วยบางรายอันตรายถึงขั้นเนื้อตาย

อาการแพ้พิษของตะขาบ :  มีตั้งแต่อาการบวมที่ใบหน้า บวมที่หนังตา บวมที่ริมฝีปาก  มีผื่นขึ้นทั่วร่างกาย  หายใจติดขัด   จนถึงขั้นมีอาการหน้ามืดและเสียชีวิตได้

 

รับมือ \"ตะขาบ\"ร้าย โดนกัดแล้วทำอย่างไรไม่ให้เสียชีวิต

 

 

 

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น :  หากโดนกัดแล้วมีอาการไม่รุนแรง ให้ทำความสะอาดแผลที่โดนกัดด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำสบู่อ่อน ไม่ควรกรีดแผลหรือนำสมุนไพรพอกบริเวณที่โดนกัดและใช้วิธีประคบเย็นได้ หากรู้สึกเจ็บปวดมากสามารถกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดให้ทุเลาลง  แต่หากมีอาการผิดปกติให้พบแพทย์ทันที

หากโดนตะขาบกัด แล้วมีอาการรุนแรง หรือสงสัยว่าจะแพ้พิษตะขาบ คือมีอาการบวม มีตุ่มขึ้นทั่วร่างกาย หายใจติดขัด หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำ หรือว่ามีหน้ามืดให้รีบไปโรงพยาบาลทันทีหรือโทรเบอร์ 1669 เพื่อติดต่อรถฉุกเฉิน