อ้วนน้ำหนักเกินจาก "ไขมันพอกตับ"ปัจจัยไปสู่มะเร็งเร็งตับ
"ไขมันพอกตับ" คือภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเซลล์ตับ เป็นภาวะที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากโรคอ้วน ขยายจนเป็นเป็นภาวะตับแข็ง และลุกลามเป็นมะเร็งตับในที่สุด
ภาวะ”ไขมันพอกตับ” แบ่งออกได้เป็น 2 ด้าน 1. ผู้ที่มีไขมันพอกตับปฐมภูมิ คือผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่มีสาเหตุ เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นกลไกที่พบในผู้ป่วยกลุ่มโรคอ้วนลงพุง หรือเมตาบอลิกซินโดรม คือ ในผู้ป่วย ที่มีความยาวรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร (ชาย) และ มากกว่าหรือเท่ากับ 80 เซนติเมตร (หญิง)แพทย์
"ไขมันพอกตับ" โดยมีระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร มากกว่าหรือเท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน, ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากกว่าหรือ เท่ากับ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร, ระดับ HDL คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศชาย และ น้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศหญิง, ระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 130/85 มิลลิเมตรปรอท หรือได้รับยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง
2. ผู้ที่มีไขมันพอกตับทุติยภูมิ คือผู้ที่มี"ไขมันพอกตับ" ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยในปัจจุบันคือ ภาวะไขมันพอกตับจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ (มากกว่า 30 กรัมต่อวันในผู้ชาย และ มากกว่า 20 กรัมต่อวันในผู้หญิง) นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับที่พบได้แต่ไม่บ่อย เช่น การใช้ยาบางชนิด การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี, โรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน, โรคทางพันธุกรรมบางชนิด, ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือการได้สารอาหารทดแทนทางเส้นเลือดเป็นระยะเวลานาน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากดื่มแอลกอฮอล์ 1.ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน 2.เบาหวานหรือมีภาวะดื้ออินซูลิน 3.ผู้ที่มีโรคอ้วนลงพุงหรือภาวะเมตาบอลิกซินโดรม 4.พฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม เช่น การกินอาหารพลังงานสูงเกินความจำเป็น โดยเฉพาะ แป้ง ไขมัน น้ำตาล
อาการของภาวะไขมันพอกตับ โดยทั่วไปส่วนใหญ่ภาวะนี้ไม่ทำให้เกิดอาการผิดปรกติ มักจะตรวจพบจากการสุขภาพประจำปี หรือตรวจทางการแพทย์ด้วยความเจ็บป่วยอื่นๆ หรืออาจจะมีอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา
การดำเนินโรคของภาวะไขมันพอกตับ
1.ระยะเริ่มต้น เป็นระยะที่มีการสะสมไขมันในตับ โดยที่ยังไม่มีหรือมีการอักเสบเพียงเล็กน้อย และไม่มีผังผืด
2.ระยะที่สอง เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ และเริ่มมีการสะสมของผังผืดในเนื้อตับ
3.ระยะที่สาม เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ และมีการสะสมของผังผืดในตับอย่างชัดเจน
4.ระยะที่สี่ เป็นระยะที่ตับมีผังผืดอยู่เป็อย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นตับแข็ง ที่อาจจะปรากฏภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่าตาเหลือง ท้องโตจากภาวะมีน้ำในช่องท้อง มีเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร และการเกิดเป็นมะเร็งตับในที่สุด
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่
การตรวจวินิจฉัยภาวะไขมันพอกตับ
1. การตรวจเลือด ดูค่าการอักเสบของตับว่าสูงกว่าปรกติหรือไม่ แม้ว่าอาจจะไม่ได้จำเพาะต่อภาวะไขมันพอกตับ
2. การตรวจอัลตราซาวน์บริเวณช่องท้องซึ่งจะตรวจพบการเปลี่ยนในกรณีที่มีไขมันพอกในตับมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป
3. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
4. การตรวจวัดปริมาณไขมันในตับและระดับความแข็งของตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน (Fibroscan) ซึ่งปัจจุบันสามารถให้ผลการตรวจที่แม่นยำ รวดเร็ว
5. การเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ แม้ว่าจะเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยและประเมินระยะของภาวะไขมันพอกตับ แต่ในปัจจุบันมีความนิยมในการตรวจลดลงเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
การดูแลรักษาและคำแนะนำในผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ
การลดน้ำหนัก ในคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน การลดน้ำหนักลงได้ ร้อยละ 7 ถึง 10 ของน้ำหนักตัว จะช่วยลดเรื่องของภาวะไขมันพอกตับ ลดการอักเสบในเนื้อตับ ไปจนถึงช่วยทำให้ผังผืดในตับดีขึ้น โดยเกณฑ์การลดน้ำหนักควรอยู่ที่ 1 กิโลกรัม ถึง 2 กิโลกรัมต่อ 1 เดือน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน คือ การลดปริมาณแคลอรี่ ลดปริมาณไขมัน แป้ง อาหารหรือเครื่องดื่มที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล
ออกกำลังกาย ทั้งการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (เดิน, วิ่ง, ปั่นจักรยาน, เต้น) สัปดาห์ละ 150 นาที ถึง 200 นาที ไปจนถึงการออกกำลังกายโดยมีแรงต้านทาน (weight training) ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตรวจหาโรคร่วมหรือโรคที่มีควมเสี่ยงร่วมต่อภาวะไขมันพอกตับ ในปัจจุบันมียา ที่เชื่อว่ามีผลช่วยลดประมาณไขมันในตับ หรือช่วยลดการอักเสบในตับ แต่ควรปรึกษาและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อประเมินถึงผลดีและผลเสียโดยละเอียดต่อไป ไม่ใช้ยา อาหารเสริม สมุนไพรต่างๆ โดยปราศจากคำแนะนำจากแพทย์