รู้ยังกิน "ขมิ้นชัน" เวลาไหน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะ
"ขมิ้นชัน" มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี แต่รู้ไหมเวลาในการรับประทาน "ขมิ้น" ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดนั้น มีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น
"ขมิ้น" ชื่อวิทยาศาสตร์ ่Curcuma Longa L. จัดอยู่ในวงศ์ขิง(ZINGIBERACEAE) ขมิ้นเป็นพืชล้มลุก จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีตั้งแต่สีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
"แกงป่า"อาหารไทยพื้นบ้าน"มากประโยชน์"
ป่วย "โรคหัวใจ"การออกกำลังกายที่เหมาะสม
20 ประโยคบอกรัก"วันแม่" ซึ้งกินใจน้ำตาไหล
“ขมิ้น” มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละภาคและจังหวัดนั้นๆ
นิยมนำ “ขมิ้นชัน สมุนไพร” ไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่งสี แต่งกลิ่นอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่
“ขมิ้น” อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาติฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่างๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน
"ขมิ้น" มีสรรพคุณทางยา ที่รักษาอาการและโรคต่างๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี
สำหรับ“ขมิ้นชัน” ที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บเกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ “ขมิ้น” เริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่าง“เคอร์คูมิน” ในขมิ้นมีน้อย
ส่วนเหง้าขมิ้น ที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเฟยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน
เมื่อได้เหง้ามาแล้ว หากจะนำไปรับประทานเพื่อใช้ในการรักาษโรคต่างๆ ควรล้างให้สะอาดก่อน และไม่ต้องปอกเปลือก แต่หั่นเป็นแว่นชิ้นบางๆ แล้วนำไปตากแดดสัก 2 วัน แล้วนำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งแล้วปะ้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ เท่าปลายนิ้วก้อย แล้วนำมารับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2-3 เม็ด หลังอาหารและช่วงก่อนนอน
หรือจะนำ "เหง้าขมิ้นแก่" มาขูดเอาเปลือกออกแล้วนำไปล้างให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด เติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมารับประทานครั้งละ 2ช้อนโต๊ะ วันละ 3ครั้ง
หากนำ "ขมิ้น" มาใช้เป็นยาทาภายนอก เพื่อรักษาอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำเหง้าขมิ้นมาฝนกับน้ำต้นสุกแล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง หรือจะนำเอาผงขมิ้นมาโรยก็ใช้ได้เช่นกัน
ไม่เพียงเท่านั้น มีการศึกษาพบว่า การรับประทาน “ขมิ้น” ตามเวลาที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเรากำลังทำงานนั้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของขมิ้นให้มากขึ้น โดยวิธีกินขมิ้นชันควรรับประทานขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้ ตามการรักษา
ควรรับประทานขมิ้นตามเวลาต่อไปนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพอวัยวะกำลังทำงาน
1.)เวลา 03.00-05.00 น. ช่วงเวลาของปอด หากรับประทานช่วงเวลานี้จะช่วยในการบำรุงปอดช่วยให้ปอดแข็งแรง ช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูก ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง และช่วยเรื่องภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวก
2.)เวลา 05.00-07.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้ที่ขับถ่ายไม่เป็นเวลาหรือรับประทานยาถ่ายมานาน หากรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ให้บีบรัดตัว
เพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างเป็นปกติ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ขับถ่ายน้อยหรือมากจนเกินไป และช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวารและมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย หากรับประทานพร้อมกับโยเกิร์ต น้ำผึ้ง นมสด มะนาว หรือน้ำอุ่น จะช่วยชะล้างผนังลำไส้ให้สะอาดได้
3.)เวลา 07.00-09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง และยังช่วยแก้อาการปวดเข่า ขาตึง บำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อมได้อีกด้วย จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และยังลดอาการท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมองและป้องกันความจำเสื่อมได้เวลา
4.) 09.00-11.00 น. ช่วงเวลาของม้าม ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลบริเวณปาก บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน โรคเกาต์ การอ้วนเกินไปหรือผอมเกินไปเวลา
5.)11.00-13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ ช่วยบำรุงหัวใจให้มีสุขภาพแข็งแรงเวลา
6.)15.00-17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้อาการตกขาว และการทำให้เหงื่อออกในช่วงเวลานี้จะช่วยทำให้ร่างกายขับสารพิษออกไปจากร่างกายได้มากเวลา
7.)17.00 น. จนถึงเวลาเข้านอน การรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น เมื่อตื่นนอนจะไม่อ่อนเพลีย การขับถ่ายก็จะดีขึ้นด้วย
ข้อมูล: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุรินทร์