ไลฟ์สไตล์

"ขนมไหว้พระจันทร์"ความอร่อยแฝงความหมายของวัฒนธรรม

"ขนมไหว้พระจันทร์"ความอร่อยแฝงความหมายของวัฒนธรรม

14 ส.ค. 2564

เทศกาลที่อยู่คู่ชาวจีนมายาวนาน และกลายเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยคือ เทศกาลไหว้พระจันทร์ และความโดดเด่นของเทศกาลนี้ก็คือ" ขนมไหว้พระจันทร์"

 

 

 

เข้าสู่เดือนกันยายนหรือตุลาคมของทุกปี    สำหรับคนจีนแล้ว มีความหมายเพราะนี่คือ การเข้าสู่เทศกาล"ไหว้พระจันทร์"  หรือ "วันไหว้พระจันทร์" และสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ก็คือ  "ขนมไหว้พระจันทร์"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

 

เทศกาล"ไหว้พระจันทร์"  หรือ "วันไหว้พระจันทร์" จะตรงกับ   วันขึ้น  15 ค่ำ เดือน 8  ของทุกปี  โดยจะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน หรือ ตุลาคม   ของทุกปี   อันตรงกับช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง    สำหรับในไทย   ตรงกับวันอังคารที่ 21  กันยายน  และในรอยต่อของการเข้าสู่เทศกาลไหว้พระจันทร์  หรือ วันไหว้พระจันทร์ สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ "ขนมไหว้พระจันทร์" 

 

 

เพราะการเป็นขนมประจำเทศกาล   "ขนมไหว้พระจันทร์"  ในอีกมุมหนึ่งจึงไม่ต่างไปจากการประชันความสามารถหรือชื่อเสียงของบรรดา โรงแรม  ภัตตาคารชั้นนำ หรือ ล่าสุด แม้แต่ร้านกาแฟ  ก็หันมาให้ความสำคัญกับการผลิต สินค้าที่เรียกว่า" ขนมไหว้พระจันทร์"  รองรับความต้องการของผู้บริโภค  โดยการผลิตขนมไหว้พระจันทร์  จะเริ่มจำหน่ายล่วงหน้า  1  เดือน  ก่อนเข้าสู่วันไหว้ 

    

 

"ขนมไหว้พระจันทร์"( Mooncake ) คือ ขนมหวานที่มีไส้ทั้งหวานหรือคาว โดยรูปร่างของขนม ดั้งเดิมจะมีลักษณะกลมเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงรูปร่างของดวงจันทร์ แต่ระยะหลังอาจจะเห็นถึง การพัฒนาเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส  "ขนมไหว้พระจันทร์"   ดั้งเดิมของจีน
 จะอบสีน้ำตาลทองและขึ้นรูปหรือประทับด้านบนด้วยชื่อของไส้ 

 


ลักษณะของขนมมีทรงกลม ลักษณะคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้งนวด แล้วกดใส่แป้นพิมพ์ที่มีลวดลายต่าง ๆ จากนั้นนำไปอบ และเคลือบผิวหน้าด้วยน้ำเชื่อม ภายในบรรจุไส้ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธัญพืชต่าง ๆ เช่น ทุเรียน, เมล็ดบัว, แมคคาเดเมีย, พุทราจีน เป็นต้น แต่ปัจจุบันก็ได้มีดัดแปลงใส่เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เข้าไป เช่น กุนเชียง, ไข่เค็ม, หมูแฮม, หมูแดง, หมูหยอง   และเพื่อความร่วมสมัย
มีการพัฒนาสูตรเช่น    ช็อคโกแล็ต, ชาเขียว, คัสตาร์ด, อัลมอนด์ หรือดัดแปลงไปเป็นแบบต่าง ๆ  คล้ายขนมโมจิ 

 

 

ไส้ของขนมไหว้พระจันทร์และความหมายที่แฝงเอาไว้
1. ไข่แดง หมายถึง พระจันทร์
2. เม็ดบัว หมายถึง สัญลักษณ์ของจิตใจบริสุทธิ์ อายุที่ยืนยาว ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความสงบสุข
3. ลูกพลัม หมายถึง สัญลักษณ์ของความกล้าหาญและความหวัง   เหมือนดอกพลัมที่ชูช่อในฤดูหนาว
4. ธัญพืช สัญลักษณ์ของโชคลาภ และความอุดมสมบูรณ์
5. เกาลัด หมายถึง ลูกชาย และสิ่งอันเป็นที่รัก

 

 

\"ขนมไหว้พระจันทร์\"ความอร่อยแฝงความหมายของวัฒนธรรม

 

 

\"ขนมไหว้พระจันทร์\"ความอร่อยแฝงความหมายของวัฒนธรรม

 

 

 

\"ขนมไหว้พระจันทร์\"ความอร่อยแฝงความหมายของวัฒนธรรม

 

 

 

 

 

กิจกรรมวันไหว้พระจันทร์  ( ในความหมายชาวจีน)
ทานขนมไหว้พระจันทร์ ,  ร่วมกันชมความงามของดวงจันทร์ , กราบไหว้ดวงจันทร์ รำลึกถึงคุณของธรรมชาติ ผู้กำหนดฤดูกาลหมุนเวียนสรรพสิ่ง ,  ทำหรือประดับโคมสี , ทานอาหารร่วมกัน  ,  มอบของขวัญให้กับคนอันเป็นที่รัก  , ส่งข้อความอวยพร  

 

 

ความเป็นมาของการไหว้พระจันทร์

การไหว้พระจันทร์ถือเป็น 1 ใน 8 การไหว้ครั้งสำคัญของปีสำหรับชาวจีน  ด้วยความเชื่อต่างๆ ประกอบด้วย เสริมความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ เพราะเทศกาลอยู่ในช่วงหลังเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว และของไหว้มงคลอย่าง ขนมไหว้พระจันทร์ ยังเป็นสัญลักษณ์ของ ความพร้อม ความสมบูรณ์ และความหวังอีกด้วย 


เสริมความรักความสามัคคี นอกจากเป็นตัวแทนความสามัคคีของชาติ   จากตำนานขนมไหว้พระจันทร์กู้ชาติในอดีตแล้ว วันไหว้พระจันทร์ยังเป็นวันที่ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้ากัน จึงเป็นวันดีที่คนในครอบครัวจะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน มีความรักใคร่กลมเกลียวกันนั่นเอง หรือหากอยู่ไกลกัน ชาวจีนถือว่าพระจันทร์เป็นเสมือนสื่อกลางส่งผ่านความคิดถึง เพียงแหงนหน้ามองพระจันทร์ก็เหมือนกับได้ส่งความปรารถนาดีไปถึงผู้ที่อยู่ห่างไกล 

 

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก  NANITALK

ภาพประกอบจาก https://pixabay.com/th/

 

 

\"ขนมไหว้พระจันทร์\"ความอร่อยแฝงความหมายของวัฒนธรรม

 

 

\"ขนมไหว้พระจันทร์\"ความอร่อยแฝงความหมายของวัฒนธรรม

 

 

\"ขนมไหว้พระจันทร์\"ความอร่อยแฝงความหมายของวัฒนธรรม

 

 

\"ขนมไหว้พระจันทร์\"ความอร่อยแฝงความหมายของวัฒนธรรม