Lifestyle

"หล่อฮังก๊วย"  ให้ความหวานที่ไม่ทำลายสุขภาพ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"หล่อฮังก๊วย" สมุนไพรจีนที่นิยมนำผลแห้งมาต้มน้ำแล้วบริโภคเป็นเครื่องดื่ม โดยมีความเชื่อว่าสมุนไพรชนิดนี้  มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ 

 

"หล่อฮังก๊วย" พืชสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ผลของหล่อฮังก๊วยมีลักษณะกลมเหมือนไข่เป็ด มีเปลือกแข็งล้อมรอบเนื้อผลไม้แต่มีความเปราะ ในช่วงที่ยังไม่สุกผลจะมีสีเขียวและเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีเขียวเข้มแกมดำและผลจะรีลง   ในทางการแพทย์แผนจีนจะนำผลของ"หล่อฮังก๊วย"ไปตากแห้งหรือลนไฟจนแห้งสามารถนำมาต้ม เพื่อปรุงเป็นเครื่องดื่มได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 


"หล่อฮังก๊วย" เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Monordica grosvenoril Swingle   เป็นพืชสมุนไพรจีน  ผลของหล่อฮังก๊วยมีลักษณะกลมเหมือนไข่เป็ด มีเปลือกแข็งล้อมรอบเนื้อผลไม้แต่มีความเปราะ ในช่วงที่ยังไม่สุกผลจะมีสีเขียวและเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีเขียวเข้มแกมดำและผลจะรีลง

 


"หล่อฮังก๊วย" มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศจีน ปลูกขึ้นเฉพาะที่มณฑลกว่างซีที่เดียวเท่านั้น  ปัจจุบันมีการส่งออกผล   ไปมากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ลักษณะของ  ผลที่สุกและแก่แล้ว  จะนำไปต้มดื่มได้ ส่วนผลที่ยังไม่สุกจะมีสีเขียวอ่อนลักษณะคล้ายลูกมะนาว และจะมีสีเขียวเข้มขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งแก่จัดเป็นสีน้ำตาลอ่อนจึงจะเก็บมาบริโภคได้   วิธีเลือกซื้อ ควรเลือกจากผลที่มีน้ำหนักมากๆ ไม่กลวง ไม่แห้งมาก ส่วนสำคัญคือด้านในต้องเหนียว ข้น จึงจะได้ผลที่หวานฉ่ำ นำไปต้มแล้วได้รสหอมหวาน

 


"หล่อฮังก๊วย"  เมื่อแห้งผ่าซีกนำไปต้มกับน้ำ เป็นเครื่องดื่ม สรรพคุณของ   หล่อฮังก๊วยเมื่อนำมาสกัดจะให้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยสารให้ความแทนน้ำตาลที่สกัดได้นี้ให้ความหวานถึง 250-300 เท่าของน้ำตาลทราย จึงนิยมนำมาเป็นสารเพิ่มความหวานในอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานในอุตสาหกรรมอาหาร โดยที่ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มของน้ำตาลในกระแสเลือด

 


นอกจากจะนิยมนำผล"หล่อฮังก๊วย"ไปทำเป็นเครื่องดื่มแล้ว ยังนิยมนำไปสกัดเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจากธรรมชาติที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 150-200 เท่า ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณของสารโมโกรไซด์  อีกทั้งหล่อฮังก๊วยยังปราศจากแคลอรี่ ไขมัน  คาร์โบไฮเดรต โซเดียม รวมถึงสารสังเคราะห์ต่าง ๆ เช่น แอสปาร์แตม  หรือขัณฑสกร

 


สารให้ความหวานจากหล่อฮังก๊วยจึงได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคที่ชื่นชอบอาหารแคลอรี่ต่ำและผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะนำไปประกอบอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มได้ แต่เนื่องจากสารให้ความหวานจากหล่อฮังก๊วยมีความหวานมากกว่าน้ำตาล เมื่อนำไปปรุงอาหารควรระมัดระวังในปริมาณ

 

 

\"หล่อฮังก๊วย\"  ให้ความหวานที่ไม่ทำลายสุขภาพ

 

 

 

\"หล่อฮังก๊วย\"  ให้ความหวานที่ไม่ทำลายสุขภาพ

 

 

 

ส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน  "หล่อฮังก๊วย"เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่สกัดจากธรรมชาติ โดยไม่กระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยกระตุ้นการผลิตอินซูลินในร่างกาย อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวานยังรับประทานสารนี้ได้อย่างปลอดภัย   แม้หล่อฮังก๊วยจะปราศจากคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล แต่เครื่องดื่มหล่อฮังก๊วยบางชนิดอาจมีส่วนผสมอื่น ๆ ปะปนอยู่ด้วย เช่น น้ำตาล คาร์โบไฮเดรต แคลอรี่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระดับอินซูลินในร่างกาย

 

 

ดังนั้น ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกซื้อเครื่องดื่มหล่อฮังก๊วย และรับประทานผลิตภัณฑ์จากหล่อฮังก๊วยในปริมาณที่เหมาะสม   คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ  หากมีสารอนุมูลอิสระในร่างกายมากเกินไป จะรบกวนการทำงานของเซลล์จนเซลล์ต่าง ๆ เกิดความเสียหายและส่งผลเสียต่อร่างกาย เชื่อกันว่าการรับประทานสมุนไพรอย่างหล่อฮังก๊วยอาจช่วยต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ได้ 

 


มีการศึกษาเกี่ยวกับสารโมโกรไซด์ซึ่งเป็นเป็นสารให้ความหวานตามธรรมชาติในหล่อฮังก๊วยเกี่ยวกับคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่อาจเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การศึกษาดังกล่าวพบว่าหล่อฮังก๊วยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้    คุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย   เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ทั้งช่วยย่อยอาหาร กำจัดเซลล์มะเร็ง ทำลายจุลินทรีย์ที่ก่อโรค รวมถึงให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่มีเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคด้วย 

 

 

 มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ  ที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก เช่น เชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์  ซึ่งเป็นสาเหตุของฟันผุ เชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิส  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ และยีสต์แคนดิดา อัลบิแคนส์  ซึ่งเป็นสาเหตุของเชื้อราในช่องปาก     คุณสมบัติต้านการอักเสบ   การอักเสบเป็นปฏิกิริยาที่เซลล์เม็ดเลือดขาว ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย หล่อฮังก๊วยเป็นสมุนไพร ที่เชื่อกันว่าช่วยต้านการอักเสบ บรรเทาอาการไอ เจ็บคอ และช่วยละลายเสมหะได้   ในสารโมโกรไซด์ของหล่อฮังก๊วยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ 

 

 

อย่างไรก็ตามการบริโภค"หล่อฮังก๊วย" อาจเสี่ยงเกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่แพ้พืชในวงศ์แตง เช่น  ฟักทอง แตงกวา เมลอน และน้ำเต้า โดยอาจส่งผลให้เกิดผื่นคันตามผิวหนัง วิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด ลิ้นบวม ปวดท้อง อาเจียน ชีพจรเต้นอ่อนหรือเร็วกว่าปกติ    ดังนั้นในรายของผู้ที่อาการแพ้จึงควรระมัดระวัง

 

 

 

\"หล่อฮังก๊วย\"  ให้ความหวานที่ไม่ทำลายสุขภาพ

 

 

\"หล่อฮังก๊วย\"  ให้ความหวานที่ไม่ทำลายสุขภาพ

 

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก  "พบแพทย์"

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ