คุณทำได้ 3 ทริกห่างไกล "โรคข้อเข่าเสื่อม"
เพศหญิงมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศชาย 2-3 เท่า และการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ทำให้กระดูกและข้อต้องรองรับน้ำหนักมากเกินไป เป็นสาเหตุเกิด "โรคข้อเข่าเสื่อม" แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมช่วยคุณได้
“โรคข้อเสื่อม”คือภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพ สึกกร่อน บางลง ส่งผลให้เวลาเคลื่อนไหวร่างกายแล้วกระดูกข้อต่อจะเสียดสีกันจนเกิดการอักเสบ ทำให้รู้สึกเจ็บปวดบริเวณข้อและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
มักพบในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไปและผู้สูงอายุปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเสื่อมอายุกระดูกและผิวกระดูกอ่อนเสื่อมลงตามอายุ
ผู้ที่อายุ 65 ปีพบว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าร้อยละ 50เพศผู้หญิงมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ชาย 2-3 เท่าน้ำหนักการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานทำให้กระดูกและข้อต้องรองรับน้ำหนักมากเกินไปพฤติกรรม
เช่น การนั่งงอเข่า แบกของหนักบ่อยๆ ขึ้นลงบันไดมากเกินไปใส่รองเท้าส้นสูงนานๆกรรมพันธุ์นักวิจัยพบยีนหลายตัวที่สัมพันธ์กับโรคข้อเสื่อมอุบัติเหตุการล้ม การเล่นกีฬา
หรือเคยได้รับบาดเจ็บที่ข้อ
5 สัญญาณโรคข้อเสื่อม
1. ปวดข้อตลอดวัน มักปวดมากเวลาใช้งาน บางครั้งอาจปวดตอนกลางคืน จนรบกวนการนอนหลับ
2. ข้อบวม กดแล้วเจ็บ
3. ข้อติด โดยเฉพาะหลังตื่นนอน หรืออยู่ท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
4. เคลื่อนไหวลำบาก รู้สึกข้อฝืด ตึง
5. มีเสียงลั่นเมื่อขยับข้อนั้นๆ
การรักษาแบ่งตามความรุนแรงของโรค ได้แก่
เสื่อมน้อย : ไม่ใช้ยาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อรอบหัวเข่าสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา เช่น นั่งเหยียดขาเกร็งกล้ามเนื้อควบคุมน้ำหนักตัวกายภาพบำบัดใส่สนับเข่า เพื่อพยุงข้อและป้องกันการบาดเจ็บ
เสื่อมปานกลาง : ใช้ยา หรือผ่าตัดยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบยาชะลอความเสื่อมการฉีดยาเข้าข้อเข่า เพื่อลดการอักเสบเฉียบพลันผ่าตัดโดยใช้กล้องกายภาพบำบัดควบคู่ไปด้วย
เสื่อมมาก : ผ่าตัดผ่าตัดแก้ไขแนวกระดูก (ในกรณีผิวข้อเสื่อมบางส่วน)ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม
เคล็ด (ไม่) ลับ 3 ทริกห่างไกลโรคข้อเข่าเสื่อม
1. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้น้ำหนักเกินหรืออ้วน เพราะยิ่งน้ำหนักตัว มากเท่าไร ข้อต่าง ๆ ในร่างกายก็ยิ่งต้องรับภาระมากเท่านั้น โดยเฉพาะข้อเข่า สะโพก และ หลัง
2. ออกกำลังกายเคลื่อนไหวข้อและกล้ามเนื้อ โดยเลือกวิธีออกกำลังกายที่ลดแรงปะทะต่อข้อ หรือมีแรงกดต่อผิวข้อน้อย เช่น ออกกำลังกายในน้ำ เดิน ปั่นจักรยานโดยปรับการนั่งให้สูงกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อเข่าจะได้ไม่งอมากเกินไป
3. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ทำให้เกิดแรงกดที่ข้อเช่น การนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ โดยไม่จำเป็น รวมถึงหลีกเลี่ยงการยกของหนัก การใช้งานข้อต่างๆ อย่างหักโหมแม้ว่าปัจจัยเรื่องอายุและเพศจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่เราสามารถลดความเสี่ยงการเกิดข้อเสื่อมก่อนวัยได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดูแลตัวเอง รวมถึงปรึกษาแพทย์เฉพาะทางสถาบันกระดูกและข้อ
ที่มา : มูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี : รพ.ปิยะเวท