ไลฟ์สไตล์

7 ทริกออกกำลังกายปลอดภัย สำหรับคนเป็น"โรคหัวใจ"

7 ทริกออกกำลังกายปลอดภัย สำหรับคนเป็น"โรคหัวใจ"

23 ส.ค. 2564

หากคุณเป็น"โรคหัวใจ”อยู่ อาจกังวลใจว่าจะออกกำลังกายแบบไหนที่ปลอดภัยต่อตัวเอง เพราะกลัวจะยิ่งทำให้ปัญหาโรคหัวใจรุนแรงขึ้น ทั้งๆ ที่การออกกำลังกายดีต่อคนเป็นโรคหัวใจ แถมยังทำให้โรคภัยหายได้เร็วขึ้น

เราจึงมาแนะนำ 7 วิธีการออกกำลังกายที่ช่วยฟื้นฟูหัวใจอย่างปลอดภัย โดยเป็นความรู้จากคู่มือของชมรมฟื้นฟูหัวใจ โดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งคนที่มีสุขภาพดีก็สามารถที่จะนำไปใช้ได้เหมือนกันค่ะ

1) ปรึกษาหมอ ปรึกษาหมอเรื่องการออกกำลังกายว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง การออกกำลังกายแบบไหนที่เราควรทำและควรงด รวมถึงไม่ลืมที่จะถามคุณหมอเรื่องยาสำคัญหรือยาที่จำเป็นกรณีมีอาการกำเริบที่ควรพกติดตัวหรือวิธีการกินที่ถูกต้อง

2) บอกคนในครอบครัว ต้องบอกคนในครอบครัวก่อนไปออกกำลังกายทุกครั้งว่าจะไปสถานที่ใด จะกลับเวลาไหน พกโทรศัพท์ติดตัวหรืออุปกรณ์ที่ติดตามตัวไปด้วย เผื่อเกิดเหตุกรณีฉุกเฉินขึ้นจะได้โทร.แจ้งคนในครอบครัวให้มาดูแลหรือส่งโรงพยาบาลได้ทันท่วงที รวมถึงหากคุณหายไปนานคนทางบ้านก็จะได้ติดต่อสอบถามได้สะดวก

 

7 ทริกออกกำลังกายปลอดภัย สำหรับคนเป็น\"โรคหัวใจ\"

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

3) เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การเดิน การวิ่ง การทำกายบริหาร การเต้นรำ ว่ายน้ำ หรือรำมวยจีน  ซึ่งการเดินถือเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย รวมถึงคนที่ป่วยในระยะพักฟื้นต่างๆ

4) การเดินปลอดภัยกว่า การเดินเป็นการออกกำลังกายที่ดีสำหรับคนที่ไม่เคยทำมาก่อน ดังนั้นหากใครยังไม่เคยได้ออกกำลังกายมาก่อนเลย หรือเป็นผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป คนที่มีปัญหาปวดเข่า ปวดหลัง เข่าเสื่อม ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่แนะนำให้เน้นการเดินออกกำลังกายเป็นหลัก

 

 

 

7 ทริกออกกำลังกายปลอดภัย สำหรับคนเป็น\"โรคหัวใจ\"

 

 

5) ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย  โดยทำก่อนออกกำลังกายประมาณ 5-10 นาที และหลังออกกำลังกายครั้งละ 10 นาที เพื่อเตรียมร่างกายให้ระบบกล้ามเนื้อข้อต่อและระบบไหลเวียนเลือดพร้อมก่อนออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด รวมถึงอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อต่อ  มีความสำคัญต่อการป้องกันภาวะความดันเลือดตกเฉียบพลันหลังออกกำลังกาย และยังเป็นวิธีช่วยเร่งการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนเลือดให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ

 

6) ใช้เวลาพอเหมาะ ไม่ออกกำลังกายหักโหม  การออกกำลังกายสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจควรใส่ใจที่สุขภาพและข้อจำกัดร่างกายของตัวเอง ควรดูว่าสภาพร่างกาย ณ ขณะนั้นเป็นอย่างไร อาจเริ่มต้นทำครั้งละ 10 นาที แล้วค่อยๆ ขยายเป็นครั้งละ 15 นาที แล้วเพิ่มขึ้นเป็น 20 นาที จนถึง 30 นาที ทำอย่างต่ำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง 

7) หยุดพักทันทีหากมีอาการผิดปกติ  ขณะที่กำลังออกกำลังกายอยู่ หากมีอาการอ่อนเพลีย หายใจสั้นๆ ตื้นๆ รู้สึกเจ็บหรือแน่นหน้าอก เหนื่อยมากจนพูดไม่ออก เจ็บตามกล้ามเนื้อต่างๆ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ และเหงื่อออกมากผิดปกติ ให้หยุดพักการออกกำลังกายทันทีก่อนแล้วสังเกตอาการตัวเอง หากพักแล้วไม่หายหรือมีอการรุนแรงขึ้น ควรรีบให้คนใกล้ชิดพาไปพบหมอทันที  

 

7 ทริกออกกำลังกายปลอดภัย สำหรับคนเป็น\"โรคหัวใจ\"