ไลฟ์สไตล์

เช็กเลย 5 อาการ “ข้อเข่าเสื่อม” ไม่ต้องสูงวัยก็เป็นได้

เช็กเลย 5 อาการ “ข้อเข่าเสื่อม” ไม่ต้องสูงวัยก็เป็นได้

09 ก.ย. 2564

อย่าให้อาการ “เข่าเสื่อม” มาเยือนก่อนวัยอันควร เพราะไม่ต้องรอให้"สูงวัย"ก็เป็นได้ หากไม่ระวังและดูแลตัวเอง

ข้อเข่าเสื่อมเร็วมีสาเหตุ

น้ำหนักตัวมาก:  คือมี BMI มากกว่า 23 กก./ม.2  เพราะปกติข้อเข่าจะต้องรับน้ำหนัก 3 เท่าของน้ำหนักตัว และเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าเวลาเดินขึ้นลงบันได ดังนั้นเมื่อน้ำหนักตัวมาก ข้อเข่าก็ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้ผิวข้อเกิดการสึกหรอหรือชำรุดก่อนวัยอันควร

การบาดเจ็บ : เช่น มีการบาดเจ็บที่ข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าเสื่อมหรือโครงสร้างไม่แข็งแรงเท่าเดิม การได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง การเล่นกีฬาหนักๆ ที่มักเกิดแรงกระแทกในข้อเข่า มีการฉีกขาดของกระดูกอ่อนหรือเส้นเอ็นภายในข้อเข่า ส่งผลให้ข้อเสื่อมแม้ยังไม่เข้าสู่วัยชรา

ใช้ข้อเข่าหักโหม : นั่นคือ การใช้ข้อเข่าในท่าทางซ้ำๆ หรือทำท่าบางอย่างที่ต้องงอเข่ามากเกินไป เช่น การคุกเข่า หรือนั่งยองๆ ซึ่งทำให้เข่าต้องรับแรงกดสูงกว่าปกติเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง

อายุและเพศ : โดยเมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของกระดูกอ่อนก็ลดลง นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะมีแนวโน้มของการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าผู้ชายที่อายุเท่ากัน

โรคต่างๆ : โรคบางโรคทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุข้อเรื้อรัง ผิวข้อจึงเสื่อมเร็วกว่าปกติ

พันธุกรรม : รวมถึงความผิดปกติแต่กำเนิดบางชนิด เช่น ขาหรือเข่าผิดรูป

 

อาการปวดเข่า บอกโรคข้อเข่าเสื่อม

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้องล่าสุด

 

 

บริเวณที่มีอาการเข่าเสื่อม

 

 

เช็กเลย!! 5 อาการบอกเข่าเสื่อมมาเยือนแล้ว

  • ปวดเข่า  เริ่มมีอาการปวดเข่า เจ็บเข่าในชีวิตประจำวัน
  • เข่าผิดรูป   ลักษณะเข่ามีอาการผิดปกติ
  • เข่าเริ่มยึด  เริ่มยืดหรือเหยียดเข่าได้ลำบาก
  • เคลื่อนไหวลำบาก เช่น การเดิน เดินขึ้น-ลงบันได  ออกกำลังกาย
  • ไม่สามารถเดินได้  หากมีอาการรุนแรง

 

 

บริเวณ "ข้อเข่า" ที่มีอาการเสื่อม

 

 

ตรวจเช็กอาการที่เกิดกับเข่าเสมอ

 

 

ป้องกัน ก่อนข้อเข่าเสื่อม!

  • ลดน้ำหนัก  ควบคุมน้ำหนักของตัวเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่าปล่อยให้อ้วน
  • บริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่า  ด้วยการนั่งยืดเหยียดขาและเข่า ออกกำลังกายเบาๆ เดิน  เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  • เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง : ที่ก่อให้เกิดแรงกดดันหรือทำให้ข้อเข่ามากเกินไป เช่น การนั่งยองๆ การคุกเข่า พับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธิ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก รพ.ธนบุรี  https://www.thonburihospital.com รพ.พญาไท https://www.phyathai.com , Pixabay, Freepik