เมื่อเจอคำว่า "ล้มละลาย" โดนอายัดอะไรบ้าง?
เมื่อโดนคำว่า "ล้มละลาย" หลายคนอยากรู้ว่าเงินอะไรจะถูกอายัดไว้ และ "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" จะโดนด้วยหรือเปล่า?
เรื่อง "ล้มละลาย" ที่คุณอาจยังไม่รู้ เพราะมีข้อมูลต่างๆ ที่หลายคนไม่เข้าใจ พร้อมมีคำถามว่าเงินส่วนไหนจะโดนบ้าง แล้วเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะโดนอายัดไปด้วยหรือเปล่า ไปดูข้อมูลน่ารู้นี้กันเลย
ทรัพย์สินและเงินเดือนจะถูกอายัด
ในสภาวะปัจจุบันเศรษฐกิจซบเซา รายได้ชักหน้าไม่ถึงหลัง บางครอบครัวต้องกู้หนี้ยืมสิน จนหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถหามาจ่ายคืนได้ สุดท้ายต้องโดนฟ้อง "ล้มละลาย" คำว่า "ล้มละลาย" จึงเป็นคำพูดที่ฟังกี่ทีก็ใจสั่น เพราะหากเราต้องอยู่ในสภาพบุคคลล้มละลายแล้ว เราจะไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินอะไรได้อีกเลย อาทิ
- บัญชีเงินเดือนก็ถูกอายัดเพื่อนำไปชำระหนี้บางส่วน
- ทรัพย์สินที่มีก็จะต้องถูกนำไปรวมไว้ที่กรมบังคับคดีเพื่อขายทอดตลาดแล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไปใช้คืนเจ้าหนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "ศาลล้มละลายกลาง" เห็นชอบแผนฟื้นฟูฯ"การบินไทย"
- อดีตนางเอกชื่อดัง "แหม่ม อลิษา" เคยล้มละลายเป็นหนี้ 20 ล้านบาท
- "บ้านมือสอง" คิดวิเคราะห์ ก่อนซื้อให้คุ้มค่าเงิน
เป็นบุคคลล้มละลายแล้วต้องทำอย่างไร?
เมื่อเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว หลายคนคงทำตัวไม่ถูกว่าจะต้องดำเนินชีวิตอย่างไร ทำงานได้ไหม บอกไว้ตรงนี้เลยว่า ให้ทำตัวปกติ ทำงานปกติ ใช้ชีวิตปกติเป็นพิเศษ กล่าวคือต้องประหยัดมากขึ้น เพราะถ้าคุณเป็นพนักงานประจำคุณจะต้องโดนอายัดเงินเดือนไว้บางส่วนนั่นเอง
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถูกอายัดตามกำหนด
ในกรณีที่ทำงานประจำจะมีสวัสดิการตัวหนึ่งที่เรียกว่า "เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" เงินนี้เราจะได้ก็ต่อเมื่อลาออกจากการเป็นพนักงานหรือเกษียณอายุจากงานประจำ จึงมีคำถามมาว่า "เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" จะโดนอายัดได้ไหม
ตอบ โดนอายัดได้ แต่อาจไม่โดนอายัดทั้งหมด ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ ดังตัวอย่าง เช่น ถ้าคุณเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อปี 2558 และปลดจากล้มละลายปี 2561 โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้เริ่มทำไว้ตอนปี 2556 และลาออกในปี 2564 คุณจะโดนอายัดเงินส่วนที่เริ่มทำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจนถึงปี 2561 เท่านั้น
หลังจากนั้นจึงเป็นเงินที่เหลือส่งคืนเจ้าของเงินต่อไป อย่างไรก็ดีการที่จะได้รับการปลดจากล้มละลาย 3 ปีนั้น ลูกหนี้จะต้องให้ความร่วมมือในการรวบรวมทรัพย์สินโดยไปให้การสอบสวนกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย มิฉะนั้นระยะเวลาในการปลดจากล้มละลายอาจขยายเป็น 5 ปี และตามตัวอย่างข้างต้นก็จะทำให้ถูกอายัดเงินถึงปี 2563 เลย
อ้างอิงถึงกฎหมายล้มละลายมาตรา 109 ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจ
แบ่งแก่เจ้าหนี้ได้
(1) ทรัพย์สินทั้งหลายอันลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายรวมทั้งสิทธิเรียกร้องเหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่น เว้นแต่
ก. เครื่องใช้สอยส่วนตัวอันจําเป็นแก่การดํารงชีพ ซึ่งลูกหนี้รวมทั้งคู่สมรสและ
บุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้จําเป็นต้องใช้ตามสมควรแก่ฐานานุรูป และ
ข. สัตว์พืชพันธุ์เครื่องมือและสิ่งของสําหรับใช้ในการประกอบอาชีพของ
ลูกหนี้ราคารวมกันไม่เกินหนึ่งแสนบาท
(2) ทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายจนถึงเวลาปลดจากล้มละลาย
(3) สิ่งของซึ่งอยู่ในครอบครองหรืออํานาจสั่งการหรือสั่งจําหน่ายของลูกหนี้ใน
ทางการค้าหรือธุรกิจของลูกหนี้ด้วยความยินยอมของเจ้าของอันแท้จริง โดยพฤติการณ์ซึ่งทําให้เห็นว่าลูกหนี้เป็นเจ้าของในขณะที่มีการขอให้ลูกหนี้นั้นล้มละลาย
*[มาตรา 109 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 และ (1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542]
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมบังคับคดี