12 วิธี เก็บของพร้อมรับมือ “น้ำท่วม” รีบทำแบบนี้เพื่อหนีน้ำก่อน
หน้าฝน “พายุ” มาอีกแล้ว แบบนี้รอช้าไม่ได้ต้องรีบเก็บของพร้อมจัดบ้านด้วย 12 วิธีนี้ เพื่อรับมือกับ “น้ำท่อม”ก่อนที่น้ำจะมากไม่ทันได้ตั้งตัว
จากข่าว “พายุโกนเซิน” ที่กำลังก่อฝนอยู่ตอนนี้ และพายุลูกอื่นๆ ที่จะตามมาในเดือนตุลาคม ทำให้หลายคนอาจต้องเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาน้ำท่วมไว้ล่วงหน้า ก่อนที่อยู่ๆ น้ำจะมาโดยไม่ทันตั้งตัวจนข้าวของเครื่องใช้เสียหาย หรือเกิดอันตรายจากไฟฟ้าดูด หรืออื่นๆ ไปดูว่าควรจะทำอะไรกันบ้าง
1. ต้องเก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจเสียหายจากน้ำไว้ในที่สูง หรือพยายามเก็บห่อใส่ลังหรือชั้นพลาสติกที่น้ำเข้าไม่ได้ไว้ หรืหากไม่มีก็จัดเก็บของใส่ไว้ในถุงดำหรือถุงพลาสติกขนาดใหญ่ แล้วไปเก็บไว้บนที่สูง อาจจะหาโต๊ะหรือขาตั้งที่ทำให้ของใช้นั้นอยู่ในที่สูงขึ้นได้
2. เปลี่ยนตำแหน่งปลั๊กไฟและสวิตซ์ไฟฟ้า คือหากปลั๊กไฟอยู่ในระดับต่ำ ให้ย้ายมาอยู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ปกติจะอยู่ที่ประมาณระดับ 30 ซม. จากพื้นอาคารนั้น ให้ไปอยู่ที่สูงขึ้นไปอยู่ในระดับ 1.20 ซม.ถ้าทำได้ รวมถึงควรแยกเบรกเกอร์ออกเป็นเฉพาะชั้นๆ เพื่อความสะดวกในการตัดกระแสไฟฟ้าเวลาน้ำท่วม
3. ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในชีวิตทุกวันไปอยู่ที่สูงที่สุด เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต ลัดวงจร และป้องกันไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ผบ.ตร. สั่งรับมือด่วน พายุดีเปรสชัน "โกนเซิน"
- พายุดีเปรสชั่น "โกนเซิน" กระทบอีสาน-ตะวันออก 18 จังหวัดฝนตกหนักถึงหนักมาก
- "กทม." เตรียมแผนรับมือพายุ "โกนเซิน" ขุดลอกคลองรับมือฝนตกหนัก
4. สำรวจรอยแตกร้าว รอยแยกให้รอบตัวบ้าน ว่ามีจุดไหนที่น้ำจะรั่วซึมเข้ามาได้ แล้วใช้วัสดุยาแนวหรือซิลิโคลนฉีดอัดบริเวณรอยแตกร้าวภายนอก เพื่อไม่ให้น้ำซึมเข้ามาได้
5. ตรวจช่องว่างของประตู หน้าต่าง ว่ามีช่องหรือรูให้สัตว์มีพิษ สัตว์ที่มีอันตรายลอดเข้ามาทำในบ้าน หรือกัดคนในครอบครัวได้ และหาวิธีปิดช่องเหล่านั้นให้มิดชิด รวมถึงเตรียมหาสถานที่สูงสำหรับย้ายเลี้ยงสัตว์ของตัวเองเอาไว้ล่วงหน้าด้วย
6. เตรียมกระสอบทราย เพื่อทำกำแพงกันน้ำตรงทางเข้า-ออกของบ้าน และวางกั้นที่ประตูห้องน้ำเพราะห้องน้ำจะมีระบบท่อน้ำทิ้งซึ่งน้ำจากภายนอกจะขึ้นมาจากระบบท่อนั้น
7. หากไม่มีกระสอบทราย อาจใช้การก่อผนังฉาบปูนทำผิวขัดมัน แทนการนำกระสอบทรายมากั้นได้
8. เตรียมอุปกรณ์หรือภาชนะใส่น้ำสะอาดไว้กินให้เพียงพอ เพราะอาจไปซื้อน้ำมากินได้ยาก และไม่สามารถกินน้ำประชาได้ หากเตรียมได้ควรกรองน้ำกินเก็บไว้ใช้ก่อนล่วงหน้าให้ได้มากที่สุด เนื่องจากเวลาน้ำท่วม น้ำประปาจะมีสิ่งสรกปกปะปนมาได้
9. เตรียมหาภาชนะสำหรับใส่สิ่งปฏิกูลที่ขับถ่าย เพราะในช่วงน้ำท่วมไม่ควรขับถ่ายลงส้วมเดิม เนื่องจากจะไปเพิ่มสิ่งสกปรกลงไปในน้ำ รวมถึงน้ำที่ท่วมจะทำให้เราใช้ห้องน้ำไม่ได้ด้วย เช่น ท่อตัน มีน้ำ ทำให้กดชักโครกหรือราดไม่ลง
10. เตรียมอาหารแห้งและอุปกรณ์เวชภัณฑ์ที่สำคัญ เช่น อาหารสำเร็จรูป บะหมี่ อาหารกระป๋อง ยา น้ำเกลือ ชุดปฐมพยาบาล เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วมบางพื้นที่อาจต้องมีการตัดกระแสไฟ ทำให้หุงหาอาหารได้ลำบาก
11. คิดเผื่อไว้ล่วงหน้าหากน้ำท่วมมากจนต้องย้ายที่อยู่ชั่วคราว โดยให้วางแผนหาที่อพยพ การเดินทาง เส้นทางไหน เดินทางได้อย่างปลอดภัย รวมถึงไม่ลืมตกลงเรื่องจุดหมายปลายทางกับคนที่บ้านไว้ กรณีพลัดหลงหรือไม่เจอกัน
12. ติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง และหาข้อมูลเตรียมไว้ว่า เราจะรู้ข้อมูลแจ้งเตือนจากภาครัฐได้ทางไหน และจะขอความช่วยเหลือได้จากที่ไหนได้บ้าง โดยบันทึกข้อมูล เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย ได้แก่
- ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 1784
- ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง
- สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690
- สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก https://www.axa.co.th, https://www.nationtv.tv, http://www.softbizplus.com, Pixabay