"ครีบปลาวาฬ" ต้นไม้ใบเก๋ ปลูกในห้องนอนฟอกอากาศได้
ใครอยากมี “ต้นไม้ฟอกอากาศ” เก๋ๆไม่ซ้ำใคร แนะนำต้น “ครีบปลาวาฬ” ที่มีใบสวย เลี้ยงง่าย ปลูกในห้องนอนได้อีกด้วย
ครีบปลาวาฬ เป็นไม้ประดับที่มีใบใหญ่ สายพันธุ์เดียวกับต้นลิ้นมังกร จึงทำให้มีลักษณะคล้ายต้นลิ้นมังกร แต่ความโดดเด่นคือรูปแบบของใบที่มีใบใหญ่มากกว่าลิ้นมังกร มีลักษณะใบแข็ง มีลาย คล้ายครีบปลาวาฬ เป็นต้นไม้ที่มีเหง้าและไหลใต้ดินเช่นเดียวกับต้นลิ้นมังกร ที่สำคัญคือหากปลูกไว้ในบ้านจะมีประโยชน์ต่อเราเพราะสามารถช่วยฟอกอากาศให้ดีขึ้นได้รวดเร็วอีกด้วย
ต้นครีบปลาวาฬ เหมาะที่จะปลูกและประดับไว้ในบ้าน โดยเฉพาะในห้องนอนเพราะต้นครีบปลาวาฬจะคายออกซิเจนหรืออากาศดีให้เราได้ ในเวลากลางคืน ซึ่งนอกจากใบที่มีความโดดเด่นแล้วสวยงามตามลักษณะพันธุ์ปกติแล้ว ต้นครีบปลาวาฬยังมีสายพันธุ์ครีบปลาวาฬด่าง ที่มีความสวยงามน่าสนะสมและหามาประดับบ้าน ไม่แน่อาจจะขายได้ราคาดีอีกด้วยในยุคที่นักสะสมชอบเก็บต้นไม้ด่างต่างๆ และให้ราคาสูงลิ่ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รู้จัก เจตมูลเพลิงแดง ต้านเนื้องอกลดเสี่ยง “มะเร็ง”
- รู้จัก 7 "สมุนไพรไทย" ใช้กำจัดแมลงร้ายที่ทำลายพืชผลเกษตร
- “กุยช่าย” สรรพคุณมากล้นต่อสุขภาพ เสริมความฟิตพิชิตโรค
- ช้อนเงินช้อนทอง ไม้ “เสริมมงคล” เรียกทรัพย์ รับเฮง
- “มะละกะ” ผลไม้หายากชื่อเหมือนมะละกอ แต่หน้าตาคล้ายลองกองและลางสาด
ครีบปลาวาฬปลูกง่าย ขอให้โดนแดด
ต้นครีบปลาวาฬ สามารถปลูกได้โดยใช้ดินร่วนทั่วไป หรือปลูกด้วยดินใบก้ามปู โดยรองก้นกระถางด้วยมะพร้าวสับ รดน้ำเพียงแค่สองสามวันครั้ง ชอบแดดจัด ทนแล้งได้ดีมาก ไม่ชอบน้ำท่วมขัง นิยมปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ ตั้งประดับในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ส่วนการใส่ปุ๋ย จะเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยขี้วัวแห้งก็ได้ ใส่แค่เดือน 2 ครั้ง (15 วันครั้ง) จะทำให้ต้นแข็งแรงมีใบสวยงาม
การขยายพันธุ์ต้นครีบปลาวาฬทำได้ง่าย ด้วยวิธีการแยกกอ คือแค่เห็นใบอ่อนขึ้นมา แสดงว่ามีเหง้าที่อยู่ใต้ดินแตกออกมาแล้วจากนั้นจึงตัดและแยกเหง้าที่มีใบอ่อนนำมาปลูกได้ทันที อีกวิธีคือการนำใบของต้นครีบปลาวาฬที่ตัดมานำไปแช่น้ำ ในน้ำยาเร่งรากและเมื่อรากออกค่อยนำไปลงดิน แต่วิธีที่นิยมใช้จะเป็นการขยายพันธุ์โดยการปักชำเพราะสะดวกและทำให้มีการติดรากได้ไว ตอนลงกระถางช่วงระยะ 7-14 วันแรกให้รดน้ำวันละ1 ครั้ง หลังจากต้นไม้เริ่มปรับตัวเองได้ ให้รดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก https://www.myhomemygardening.com/2018/08/samse-vieria.html, https://www.1000maidee.com, monstyplanet, https://10th.online