ทำไม “น้องหมาถึงชอบเดินตาม” ใจนึงก็รัก ใจนึงก็คิดว่าหยุดตามสักทีซิ
บทความนี้จึงจะพาไปทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของน้องหมาที่ชอบเดินตามเจ้านาย หรือติดเจ้านายหนึบ เราไปทำความเข้าใจนิสัยน้องจากนักพฤติกรรมสัตว์กัน
สีสันของบ้านอย่างหนึ่งคือการที่เรามีน้อนหมา (น้อนเป็นศัพท์วัยรุ่น ที่แปลว่า: น้อง) มาให้คอยดูแลเทคแคร์ ให้เล่นด้วย ให้กอดฟัดหรือตบหัวซักทีเวลามันเริ่มจะซนเกินไป รวมถึงพาไปเที่ยวทำกิจกรรมด้วยกันแต่บางทีน้อนก็เอาตัวมาตามติดเรา 'หนึบ' เดินตามไปซะทุกทีจนทำให้เราสงสัยว่า 'เฮ้ เป็นไรเนี่ย...ขอเวลาส่วนตัวบ้างสิลูกเพ่'
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- เจ้าของช็อก "น้องเหมียว" ผูกมิตรกับหนู เอ็นดูแทนที่จะจับ (คลิป)
-
ให้สัตว์เลี้ยง “บำบัด” ขจัดทุกข์ เยียวยาสมองเสื่อม มะเร็งและซึมเศร้าได้
- “โมจิมารุ” แมวแฟนคลับเยอะจนได้โล่ทองคำยูทูปและสถิติกินเนสส์บุ๊ค
-
"วัวพันธุ์ม้าลาย" วัวตัวเดิมเพิ่มเติมคือลายทางที่ช่วยไล่แมลงวัน
ทำไมน้อนถึงชอบสะกดรอยตามเรา
1. สัญชาตญาณของหมา คือการอยู่รวมกันเป็นฝูงและเลียนแบบพฤติกรรมซึ่งกันและกัน โดยลูกหมาอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือนก็จะเลียนแบบพฤติกรรมของแม่หมา เมื่อน้อนมาอยู่กับเราแล้วมันจึงตามเราเพื่อพยายามเลียนแบบเราเหมือนที่น้อนจะเลียนแบบแม่
2. พลังใจที่น้อนได้รับจากเจ้าของ เมื่อเวลาที่คุณมอบความรักความอบอุ่นให้กับให้น้อน จากการเล่นด้วย หรือหรือเอาใจน้อน จะทำให้หมาติดใจและจะตามคุณไปรอบ ๆ เพื่อสัมผัสความรู้สึกเหล่านั้นอีก ยิ่งถ้าคุณตอบสนองการติดตามของน้อนด้วยของกินอร่อย ๆ ก็จะยิ่งทำให้น้อนมีความสุขและติดคุณมากขึ้น
3. สายพันธุ์ของหมา เป็นอีกตัวกำหนดว่าน้อนจะติดเจ้าของมากแค่ไหน โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่สมัยก่อนเป็นหมาสายพันธ์ทำงานหรือกลุ่มที่ต้องต้อนแกะ อย่าง ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ เยอรมันเชพเพิร์ด หรือเช็ตแลนด์ ชีพด็อก พันธุ์เหล่านี้ถูกเลี้ยงให้ทำงานกับคนมาโดยตลอดมันจึงอยู่ใน DNA ของของน้อนที่จะตามคุณไปทุกที
4. น้อนติดนาย vs น้อนกลัวการพลัดพราก สองนิสัยของนี้มีความเกี่ยวกับการที่น้อนไม่ต้องการอยู่ห่างจากเจ้าของ แต่ก็มีความแตกต่างตรงที่นิสัยติดเจ้านายจะเป็นหมาที่ไม่ยอมแยกตัวออกห่างจากเจ้านาย แต่น้อนที่กลัวการพลัดพรากจะเกิดอาการ ตระหนกและวิตกกังวลเมื่อรู้ตัวว่าต้องห่างจากเจ้านาย ในกรณีนี้เจ้านายจึงควรสังเกตุอาการน้อนให้ดี ๆ เพื่อให้น้องสามารถมีชีวิตได้อย่างมีความสุขในช่วงเวลาที่เจ้าของไม่อยู่
ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:
www.akc.org/expert-advice
https://www.prouddogmom.com