เมื่อ "น้ำท่วม" บ้าน ต้องทำอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งครอบครัว
หากตอนนี้กำลังถูก "น้ำท่วมบ้าน" อยู่ และจำเป็นต้องอยู่กับมัน เราจะอยู่กันแบบไหนให้ "ปลอดภัย" ไปดูข้อมูลคำแนะนำกันเลย
คมชัดลึกได้เคยให้ข้อมูลการเตรียมพร้อมรับมือกับน้ำท่วมกันมาแล้ว แต่หากใครเตรียมไม่ทัน น้ำกำลังท่วมบ้านอยู่ แนะนำให้อ่านวิธีการรับมือและป้องกันภัยตามด้านล่างนี้ เพื่อนำไปปฏิบัติให้ครอบครัวปลอดภัยจากอันตรายกันค่ะ
กรณีบ้านพักอาศัยยังพออยู่ได้ สิ่งสำคัญคือระวัง 3 อันตรายที่สุดไว้ ได้แก่ 1) จมน้ำ ป้องกันได้ด้วยการไม่เดินลุยน้ำไปในที่ที่ไม่คุ้นเคย และห้ามไม่ให้เด็กเล่นน้ำ 2) ไฟฟ้าดูด เมื่อน้ำท่วมถึงปลั๊กให้รีบตัดไฟทันที 3) สัตว์มีพิษกัด เช่น งูกัด ดังนั้นควรมีไม้ยาวไว้กวาดไปรอบตัว หากต้องเดินในน้ำ รวมทั้งควรปฏิบัติตัวดังนี้
1. สำรวจน้ำประปา น้ำดื่ม ไฟฟ้า ห้องสุขา ว่ายังใช้ได้หรือไม่
2. เคลื่อนย้ายสิ่งของที่อยู่ต่ำขึ้นไว้ที่สูง หรือเก็บในภาชนะที่กันน้ำได้
3. ติดตามฟังข่าวทางวิทยุ โทรทัศน์ ถึงสถานการณ์น้ำท่วมอยู่เสมอ
ข่าวที่เกี่ยวข้องล่าสุด
- 12 วิธี เก็บของพร้อมรับมือ “น้ำท่วม” รีบทำแบบนี้เพื่อหนีน้ำก่อน
- "เตือน7จังหวัด" ภาคกลางระวังน้ำท่วม เขื่อนเจ้าพระยา ปล่อยน้ำแล้ว
- "กรมควบคุมโรค" ห่วงประชาชนหน้าฝน แนะ 6 วิธีเตรียมพร้อมก่อน "น้ำท่วม"
- "นิพนธ์" เชื่อเขื่อนป่าสักฯ ยังรองรับมวลน้ำ 2 ลูกใหญ่ได้
- "น้ำท่วม" 10 จังหวัดยังหนัก ปภ. รายงานสถานการณ์ล่าสุดวันนี้
4. ติดต่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ในสิ่งของที่ขาดแคลน
5. แจ้งที่ทำงาน หากออกไปทำงานไม่ได้
6. ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่เดิม ให้ขอความช่วยเหลือหากต้องออกไปพบแพทย์
7.จัดหาน้ำและอาหารให้เพียงพอต่อคนในบ้าน โดยน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกดีที่สุด (ประมาณ 2,000 ซีซี ต่อคน/วัน)
8. อาหารที่เก็บ ควรเป็นอาหารที่ไม่เน่าเสีย ไม่ต้องแช่ตู้เย็น ไม่ต้องปรุงสุกก่อน เป็นอาหารพร้อมกิน ผลไม้ ผัก นมกล่อง น้ำผลไม้กล่อง อาหารกระป๋องที่พร้อมบริโภค พร้อมที่เปิดกระป๋อง อย่าเลือกอาหารที่กินแล้วกระหายน้ำมาก เช่น อาหารขนมที่มีรสเค็มจัด ควรเลือกอาหารที่ให้พลังงานสูง ถ้ามีเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ให้เตรียมอาหารสำหรับเด็กและผู้สูงอายุด้วย
9. หากไม่มีไฟฟ้าใช้ เตรียมไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ตะเกียง ไม้ขีดไฟเทียน เพื่อให้แสงสว่างในยามค่ำคืน
10. สุขอนามัยเป็นสิ่งสำคัญ ป้องกันไม่ให้เราเจ็บป่วยอีก จึงควรล้างมือให้สะอาด หากไม่มีน้ำให้ใช้แอลกอฮอล์เช็ดมือก่อนกินอาหาร
11. หากห้องสุขาในบ้านใช้ไม่ได้ ทำสุขาเคลื่อนที่ชั่วคราวใช้นอกบ้านถ้าน้ำท่วมขังนาน หรือใช้ถุงพลาสติกดำถ้าติดอยู่นาน
12. หากมีอุบัติเหตุได้แผล ควรล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด แล้วใส่ยาทำแผลฆ่าเชื้อ เพราะน้ำท่วมมักปนเปื้อนขยะ สิ่งปฏิกูล อาจทำให้แผลติดเชื้อได้
13. น้ำท่วมบ้าน มักทำให้เครียด ให้หาเพื่อนคุย ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมภายในบ้าน
14. หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำท่วมขัง เพราะอาจปนเปื้อนสิ่งอันตรายเช่น ขยะ ไฟฟ้ารั่ว สารเคมี
15. ห้ามเข้าใกล้ อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย ห้ามอยู่ใกล้บริเวณเส้นทางที่น้ำไหล
ปลอดภัย...เมื่ออยู่นอกบ้าน ด้วยการปฏิบัติดังนี้
- ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล เพราะแม้แต่น้ำที่มีความสูงแค่ 15 ซม. ก็ทำให้เสียหลักล้มได้
- ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม เพราะเสี่ยงจมน้ำ เนื่องจากเรามองไม่เห็นพื้น และอาจโดนกระแสน้ำพัดรถยนต์ และจักรยานยนต์ให้ลอยได้
- ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟ ป้องกันไฟดูด และเมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหาย ให้รีบแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณข้อมูลจาก คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม หน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=927 ภาพจาก www.Pixabay.com, https://www.alldryus.com