ไลฟ์สไตล์

"ความดันต่ำ" ภัยเงียบต่อร่างกาย รู้ทันป้องกันไว้ก่อน

"ความดันต่ำ" ภัยเงียบต่อร่างกาย รู้ทันป้องกันไว้ก่อน

18 ก.ย. 2564

หลายคนมักรู้จักอันตรายของ “ความดันสูง” และคิดว่า”ความดันต่ำ”ไม่มีผลอะไรมากต่อสุขภาพร่างกาย เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะความดันต่ำก็ทำให้มีโรคร้ายได้

          รีบเปลี่ยนความคิดใหม่ทันทีหากคุณกำลังมี ความดันต่ำ และคิดว่าสุขภาพดีไม่มีปัญหา เพราะความจริงแล้วคนที่มีความดันต่ำ ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ มากมาย ที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ด้วย

          ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) ทางการแพทย์ถือว่า ความดันโลหิตของผู้ใหญ่ที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) และความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่ต่ำกว่า 100/70 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) จะถูกจัดว่าเข้าข่ายมีความดันโลหิตต่ำ  หากมีค่าความดันโลหิตต่ำอย่างสม่ำเสมอ แต่รู้สึกสบายดี หมออาจตรวจติดตามผลในระหว่างการตรวจประจำปีเท่านั้น

          แต่อย่างไรก็ตามหลายคนที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ มักทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลมได้ และกรณีมีความดันโลหิตต่ำรวมทั้งอาการรุนแรงอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต

 

 

\"ความดันต่ำ\" ภัยเงียบต่อร่างกาย รู้ทันป้องกันไว้ก่อน

 

 

ความดันโลหิตต่ำ เกิดจาก

  • ความดันโลหิตลดลงเมื่อยืนหรือหลังรับประทานอาหาร
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตขยายตัวอย่างรวดเร็วในระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ 
  • เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น  โรคทางลิ้นหัวใจ หัวใจวาย และภาวะหัวใจล้มเหลว
  • ผลกระทบจากโรคอื่นๆ เช่น ปัญหาต่อมไร้ท่อ โรคพาราไทรอยด์ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากโรคเบาหวาน
  • ภาวะขาดน้ำ อาจทำให้มีอาการอ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ และเหนื่อยล้า

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้องล่าสุด

 

 

  • เสียเลือดมาก  จากการบาดเจ็บสาหัส หรือเลือดออกภายในร่างกาย 
  • การติดเชื้อรุนแรงและการขาดสารอาหาร เช่น  วิตามิน B-12 โฟเลต และธาตุเหล็ก
  • การกินยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาสำหรับโรคพาร์กินสัน  และยากล่อมประสาทบางชนิด
  • เพราะสาเหตุของความดันโลหิตต่ำมีมากมาย จึงควรต้องรีบให้แพทย์วินิจฉัยว่าเกิดจากอะไร จะได้รีบรักษาอย่างถูกต้อง
  • อาการความดันต่ำ ได้แก่ วิงเวียนศีรษะหรือหน้ามืดเป็นลม  ตาพร่ามัว  คลื่นไส้  อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ
  • ช็อก

 

 

\"ความดันต่ำ\" ภัยเงียบต่อร่างกาย รู้ทันป้องกันไว้ก่อน

 

เป็นความดันต่ำ ต้องทำอย่างไร

  • เพิ่มสารอาหารให้ร่างกาย และรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ไม่นอนดึก และเวลานอนไม่ควรนอนหนุนหมอนที่ต่ำเกินไป
  • ไม่ควรยืนนานๆ หรือเปลี่ยนอิริยาบทอย่างรวดเร็วเกินไป
  • ใช้ยาอย่างระมัดระวัง  ควรแจ้งให้แพทย์รู้ว่ามีปัญหาความดันโลหิตต่ำ  เพื่อป้องกันการใช้ยาที่อาจส่งผลมากขึ้น

 

 

เป็นแบบนี้รีบไปพบแพทย์

  • เกิดความสับสนโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • ตัวซีด เย็น  
  • หายใจเร็วและตื้น
  • ชีพจรเต้นอ่อน หรือเต้นเร็วผิดปกติ
  • มีอาการช็อก 

          นอกจากนี้หากมีอาการเวียนศีรษะและเป็นลมเวลาเปลี่ยนท่าทาง (Orthostatic Hypotension)  ล้วนบอกถึงปัญหาและอาการที่ร้ายแรงถึงชีวิตตามมาได้  ดังนั้นจึงต้องรีบไปพบแพทย์

          สุดท้ายแนะนำว่าโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตเป็นภาวะที่สามารถเป็นได้กับทุกเพศทุกวัย   ดังนั้น จึงควรหมั่นวัดระดับความดันโลหิตของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตในร่างกาย แต่หากเกิดอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.samitivejhospitals.com,ภาพจาก www.Pixabay.com