เกิดอะไรขึ้นในใจ ทำไมคนหนึ่งจึงก่อเหตุ “กราดยิง” ฆ่าคนอื่นได้ลง
ชวนมาทำความเข้าในแง่จิตวิทยาว่าการ“กราดยิง” มาจากการเลียนแบบจริงหรือ? แล้วในใจ"ฆาตกร"คิดอะไร? ทำไมกล้าก่อเหตุ
จากเหตุการณ์ล่าสุดที่มีนักศึกษาชาวรัสเซียคนหนึ่ง ใช้อาวุธปืนกราดยิงที่มหาวิทยาลัย ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้น ทำให้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจกันว่าเหตุการณ์กราดยิงมาจากการเลียนแบบจากข่าว เพราะมีข่าวแบบนี้ให้เห็นหลายครั้งบ้างก็ในโรงเรียน สถานศึกษาหรือที่สาธารณะ ซึ่งความจริงแล้วในแง่ของจิตวิทยาคนที่จะก่อเหตุแบบนี้ได้ไม่ได้มาจากการเลียนแบบทั้งหมด
ข้อมูลจาก คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้เชี่ยวชาญทั้งนักจิตวิทยาปรับพฤติกรรม นักจิตวิทยาสังคม และนักจิตวิทยาการศึกษา ที่ได้เคยจัดเสวนาถอดบทเรียนทางจิตวิทยาในเรื่องเหตุกราดยิงไว้ โดยได้วิเคราะห์สถานการณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแง่มุมทางจิตวิทยาไว้ว่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- 5 วิธี"เลี้ยงลูก"จิตใจแข็งแรงวันนี้ ดีกว่าซ่อมตอนเป็นผู้ใหญ่
- 7 ทริก "สอนลูก" ให้พี่น้องรักกัน ไม่ต้องเสียเวลาสั่งหรือห้ามทัพ
- 10 วิธีช่วยลูกผ่านพ้นได้ เมื่อเผชิญความ "ผิดหวัง"
- "5 ทริคง่ายๆ" จัดการความเครียดด้วยตัวเอง
- "สอนลูก"แบบไหนไม่ให้ฆ่าใคร เพราะการฆ่าคนได้ส่วนหนึ่งมาจากการเลี้ยงดู
สาเหตุของพฤติกรรมก่อความรุนแรง
สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลปกติหรือบุคคลทั่วไป ทั้งในเชิงคำพูดและการกระทำเพราะพฤติกรรมรุนแรง เป็นสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์ ยิ่งในสังคมปัจจุบันที่เทคโนโลยีรวดเร็ว คนยิ่งมีความหุนหันพลันแล่นมากขึ้น รออะไรไม่ได้ ยิ่งหากเป็นคนที่เติบโตมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่ได้ควบคุมระเบียบวินัยก็จะยิ่งง่ายต่อการไม่ควบคุมตัวเอง ซึ่งคนที่มีแนวโน้มก่อความรุนแรงมักมีพฤติกรรมมองโลกในแง่ร้าย รู้สึกว่าตนเองถูกกระทำ หรือรู้สึกว่าตนเองไม่มีตัวตนในสายตาผู้อื่น
และการก่อความรุนแรงจะเกิดขึ้นได้หากมีมูลเหตุจูงใจและโอกาสที่ประจวบเหมาะกัน เช่น การตัดสินใจและพฤติกรรมที่จะลงมือกระทำ ได้โอกาสพอดีพอเหมาะกับช่วงเวลา สถานที่ การเข้าถึงอาวุธ เข้าถึงสถานที่ก่อเหตุ ดังนั้นในการป้องกันและแก้ไข คือต้องสร้างโอกาสในการป้องกัน และสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเกิดความรุนแรงในสังคมได้
กราดยิงไม่ได้มาจากการเลียนแบบทั้งหมด
เพราะการกระทำความรุนแรงในเชิงกราดยิงต้องมีแรงจูงใจ เพียงแต่การนำเสนอเรื่องกราดยิง จะเป็นการให้คนเรียนรู้วิธีที่จะทำ รวมถึงคุณลักษณะของอาชญากรที่ก่อเหตุกราดยิงในที่สาธารณะ มักมีพฤติกรรมเก็บตัวโดดเดี่ยว ไม่สุงสิงกับผู้อื่น หรือมีลักษณะถูกกระทำในวัยเด็ก เผชิญภาวะบีบคั้นในโรงเรียนหรือที่ทำงาน นิยมความรุนแรง คลุกคลีกับความรุนแรงมาตลอด เช่น มีนิสัยชอบฆ่าสัตว์ นิยมปืน ชอบศึกษาเรื่องปืน หรือชอบศึกษาเรื่องเหตุการณ์กราดยิงที่เกิดขึ้นมาในอดีต
ควบคุมเหตุจูงใจ ช่วยคนมีช่องทางระบายลดความรุนแรง
วิธีการแก้ไขอย่างหนึ่งคือ ต้องควบคุมโอกาสและควบคุมเหตุจูงใจ สร้างช่องทางระบาย ให้คนที่มีปัญหาในใจได้มีช่องทางคลายความเครียด คลายความกดดันได้ การใช้ความรุนแรงแก้ไขความรุนแรง อาจจะสร้างความรุนแรงขึ้นไปอีก
ฉะนั้นหากเห็นใครที่เก็บตัว กำลังมีความทุกข์หรือมีความเครียด ต้องพยายามเข้าไปรับฟัง เพราะหากมีคนที่คอยรับฟังคนที่มีปัญหา มีคนข้างเคียงสามารถรับรู้คนที่เป็นทุกข์ และแสดงความรู้สึกเป็นห่วงเป็นใยได้ ก็จะช่วยให้เขาคนนั้นคลายความทุกข์ รู้สึกตัวเองมีค่า ไม่คิดจะระบายความแค้นด้วยการทำร้ายคนอื่นต่อไปได้นั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก https://www.chula.ac.th, www.Unsplash.com