"ดอกแค" สรรพคุณเป็นยาโบราณ ช่วยต้านสารพัดโรค
ชวนกิน “ดอกแค” ต้นไม้บ้านๆ ที่มีสรรพคุณมากคุณค่าแบบยาไทยโบราณ แถมยังช่วยต้านสารพัดอาการของโรคต่างๆ ได้ด้วย
ใครจะคิดว่า “ดอกแค” พืชริมรั้วที่หลายๆ คนมองข้าม หรืออาจจะไม่เคยกินเลยนั้น มีสรรพคุณครอบจักรวาลเลยทีเดียว แล้วไม่ใช่แค่ดอกเท่านั้นที่มีคุณค่า เพราะทั้งต้น ใบ เปลือก ราก ก็ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายเราด้วย แต่คราวนี้ที่เราชวนมากินดอกแค เพราะแค่ดอกก็จัดเป็นพืชสมุนไพร ที่เรานำมาทำอาหารได้ง่ายนั่นเอง
“ดอกแค” เป็นพืชสมุนไพรที่มีเฉพาะในแถบเอเชียบางประเทศเท่านั้น ไม่ได้มีกันทั่วโลก ถือเป็นสมุนไพรหายากที่ชาวต่างชาติตามหา และมีราคาสูง แต่ในบ้านเราโชคดีที่หาง่ายแถมยังราคาสุดถูก แต่หลายคนไม่รู้คุณค่าด้วยความที่อาจรู้สึกว่ามีความขมของเกสรนิดๆ ซึ่งน่าเสียดายมาก เพราะส่วนนี้กลับเป็นส่วนที่มีตัวยาสำคัญดีๆ อยู่มากนั่นเอง
“ดอกแค” ไม่ใช่ผัก แต่จัดเป็นพืชสมุนไพร เพราะสมัยโบราณดอกแคเป็นยาแผนโบราณที่อุดมไปด้วยคุณค่า มีทั้งวิตามิน เบต้าแคโรทีน ธาตุเหล็ก และให้โปรตีนแก่ร่างกายได้
สรรพคุณของดอกแค
- มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ลดความร้อนในร่างกาย ช่วยฆ่าเชื้อ ยังช่วยขับพยาธิได้ด้วย
- ถอนพิษไข้ที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูหรือที่เรียกว่า “ไข้หัวลม” และแก้ปวดหัว แก้หวัด เป็นยาขับเสมหะ ลดน้ำมูก
- ช่วยลดความร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน ลดอาการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก รักษาโรคไซนัสอักเสบ
- แก้อาการคัน และแผลอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค
- เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- แก้อาการใจสั่น ช่วยให้นอนหลับสบาย ทำให้ร่างกายเย็น
- ช่วยบำรุงผิวพรรณให้อิ่มน้ำ เนียนนุ่ม ลดริ้วรอย
- บำรุงสายตา เนื่องจากมีเบต้าแคโรทีน
- นอกจากนี้ดอกแคที่นำไปสกัดเป็นส่วนผสมของแชมพูสระผม สามารถช่วยลดอาการคันหนังศีรษะ ลดรังแค ป้องกันผมร่วงได้อีกด้วย
แนะนำเมนูดอกแค (อาจเอาเกสรของดอกแคออกก่อน สำหรับคนที่ไม่ชอบรสขมนิดๆ และนำไปลวก )
- ดอกแคต้ม/ลวก – เป็นเครื่องเคียงกินกับน้ำพริก
- แกงส้มดอกแค – หรือจะใส่รวมกับผักอื่นๆ เป็นแกงส้มผักรวมก็ได้
- ราดหน้าดอกแค- ใส่ดอกแคแทนคะน้า รับรองได้คุณค่าต่อร่างกาย
- ยำดอกแคใส่กุ้ง – เมนูแซ่บที่หลายคนถูกใจ
- ดอกแคผัดน้ำปลา/ผัดน้ำมันหอย – เมนูที่ทำสุดง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องเยอะ
- ดอกแคชุบแป้งทอด/ ชุบไข่ทอด – กินกับน้ำพริกหรือเป็นอาหารว่างก็อร่อย
ข้อควรระวัง!! ควรกินปริมาณพอเหมาะ เพราะหากกินดอกแคมากๆ อาจอาเจียนออกมาได้ เพราะเป็นพืชเย็นที่ดูดน้ำในท้องเยอะ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก https://prayod.com,https://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net, https://arit.kpru.ac.th, http://oknation.nationtv.tv, https://sukkaphap-d.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รู้จัก เจตมูลเพลิงแดง ต้านเนื้องอกลดเสี่ยง "มะเร็ง"
- สูตรบรรเทาเจ็บป่วยด้วย “กระเจี๊ยบแดง” สมุนไพรสรรพคุณเลิศ
- รู้จัก 7 "สมุนไพรไทย" ใช้กำจัดแมลงร้ายที่ทำลายพืชผลเกษตร
- สังเกต "ลิ้น" บ้าง เพราะเป็นสัญญาณบอกโรค
- ระวัง “พิษ” ของมันฝรั่งที่มีรากและเป็นสีเขียว