ทำความเข้าใจกับ "ขยะอวกาศ" อีกปัญหาใหญ่ของมนุษยชาติ
ในวันที่คำว่าเทคโนโลยีอวกาศยังไม่ได้รับความสนใจมากในเมืองไทย บทความนี้เลยจะพาไปรู้จักเทคโนโลยีอวกาศผ่าน "ขยะอวกาศ" จากต่างประเทศกัน
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศทำให้หน่วยงานด้านอวกาศต่างๆ ทดลองปล่องยานบินขึ้นสู่อวกาศมากขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็น ดาวเทียม รถแลนด์โรเวอร์ หรือกระสวยอวกาศ แต่สิ่งที่เราไม่รู้คือ เมื่อยานพาหนะพวกนี้ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า อะไหล่บางส่วนจะหลุดออกมาและกลายเป็น "ขยะอวกาศ" และกำลังสร้างปัญหาให้เราอย่างมหาศาลแต่ก่อนจะเข้าเรื่องปัญหา เรามาทำความรู้จักขยะอวกาศกัน
ขยะอวกาศคืออะไร?
"ขยะอวกาศ" เป็นได้ทั้งเศษซากจากยานอวกาศที่หลุดออกเมื่อกำลังทะยานขึ้นสู่ฟากฟ้า หรือดาวเทียมที่ถูกปล่อยทิ้งไว้นอกโลกหลังไม่ได้ใช้งานแล้ว
"ขยะอวกาศ" จะมีต่างไซส์ต่างขนาด ขยะบางชิ้นมีขนาดเล็กเท่ากับเม็ดทรายหรือเม็ดวิตามินซี ในขณะเดียวกันก็มีดาวเทียมขนาดใหญ่อย่างดาวเทียมที่เสียหรือพังหรือเลิกใช้งานแล้วแต่ถูกปล่อยไว้นอกโลกอย่างนั้นขยะอวกาศในวงโคจรโลกมีการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 500,000 ชิ้นที่โคจรอยู่รอบโลก และอีกกว่า 100,000 ชิ้นมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถติดตามด้วยระบบใดได้เลย
ปัญหาของ "ขยะอวกาศ"
ขยะอวกาศก่อให้เกิดปัญหามากมายแต่สิ่งที่กระทบกับเราโดยตรงคือขยะอวกาศที่ลอยอยู่ในวงโคจรที่ใกล้กับพื้นผิวโลกมาก และฏคจรที่ความเร็วประมาณ 11,000 กม./ชม. เมื่อขยะเหล่านี้ชนเข้ากับดาวเทียม อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เรียกว่าปฏิกิริยาเคสเลอร์ได้ (หรือการระเบิดของดาวเทียม)
ดังนั้น หากมีขยะอวกาศแม้จะขนาดเล็กประมาณลูกปิงปอง แต่โคจรด้วยความเร็วและอยู่ในวงโคจรที่ต่ำไปชนเข้ากับดาวเทียมเข้า จะทำให้ดาวเทียมระเบิดได้ในที่สุด เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นปีละหลายครั้ง ทำให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรดาวเทียม ต้องสูญสิ้นเงินอย่างมหาศาล เป็นจำนวนหลายสิบล้านดอลลาร์ หรือมากกว่าหากดาวเทียมชนเข้ากับเศษขยะอวกาศเพียงเล็กน้อย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "ปฏิวัติผังเมือง" แก้น้ำท่วม เพื่อไม่ให้เมืองไทยกลายเป็น เมืองบาดาล
-
อเมริกาคิดวัคซีนโควิดชนิด "แผ่นแปะ" ทำให้ภูมิเพิ่มถึง 50 เท่า
-
Elon Musk กล่าวถึงรัฐบาล Joe Biden กลางเวทีว่า "ไม่มีความเป็นมิตร"
-
อียูถึงกับประกาศ จะมีแผนบังคับให้สมาร์ทโฟนใช้ "หัวชาร์จ" แบบเดียวกันหมด
-
เปิดตัวแล้ว “แว่นตาอัจฉริยะ” จากเฟซบุ๊กมาในชื่อ Ray-Ban Stories
ที่มาข้อมูลและรูปภาพ
https://www.makeuseof.com/what-is-space-junk-and-its-problems/
https://news.mit.edu/2017/space-junk-shards-teflon-0619