ไลฟ์สไตล์

รับมือ "ไฟดับ" อย่างไร ท่ามกลางคำพยากรณ์ กทม.-ปริมณฑล ช่วงฝนตกหนัก 2-8 ต.ค. 64

รับมือ "ไฟดับ" อย่างไร ท่ามกลางคำพยากรณ์ กทม.-ปริมณฑล ช่วงฝนตกหนัก 2-8 ต.ค. 64

02 ต.ค. 2564

หน้าฝนทีไรนอกจากสถานการณ์น้ำท่วมที่ทำให้ประชาชนเผชิญกับความยากลำบากแล้ว "ไฟดับ" ก็เป็นอีกเหตุการณ์ที่คนในหลายพื้นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมหากไฟดับขึ้นมาจริงๆ

        กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่าช่วงสัปดาห์ที่ 2-8 ตุลาคมนี้กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีฝนฟ้าคะนองปานกลาง ทำให้ฝนตกหนักในบางพื้นที่อย่างที่อ.ลำลูกกา ซึ่งฝนตกหนักอาจส่งผลให้ในหลายพื้นที่ต้องเผชิญกับภาวะไฟฟ้าดับหรือไฟฟ้าขัดข้อง เพราะในแต่ละครั้งเราไม่รู้เลยว่า ไฟฟ้าจะดับไปนานเท่าไหร่

      รับมือ \"ไฟดับ\" อย่างไร ท่ามกลางคำพยากรณ์ กทม.-ปริมณฑล ช่วงฝนตกหนัก 2-8 ต.ค. 64
 

การเตรียมตัวรับมือเมื่อไฟดับฉุกเฉิน 

1. เปิดประตู-หน้าต่างให้อากาศถ่ายเท โดยเปิดแง้มเล็กน้อย เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ฝนสาดเข้ามา

2. ใช้ไฟฉาย ไฟสำรอง หรือเทียน ช่วยเพิ่มความสว่าง

3. วางเทียนในที่ที่เหมาะสมและปริมาณที่พอดี เพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ

4. ปิดสวิตช์และดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออก "ทั้งหมด" เพื่อป้องกันไฟกระชาก

5. หลีกเลี่ยงการเปิดตู้เย็น เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในตัวเครื่องไว้ช่วยถนอมอาหารไว้ให้นานที่สุด

 

          ทั้งนี้หลังจากไฟกลับมาเป็นปกติแล้ว ควรเตรียมตัวและเตรียมข้าวของให้พร้อมรับมือไว้เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินซ้ำ โดยจัดหาอุปกรณ์ เช่น แบตเตอรี่สำรอง เครื่องสำรองไฟ หลอดไฟแบบมีแบตฯ ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ตะเกียง เทียนไข ไฟแช็ก ไม้ขีดไฟ พัดลมพกพา มาติดบ้านไว้ หรืออาจจะรวมไปถึงน้ำดื่ม อาหารแห้ง ยารักษาโรค และชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น เผื่อกรณีที่ไฟดับนานด้วย

        รับมือ \"ไฟดับ\" อย่างไร ท่ามกลางคำพยากรณ์ กทม.-ปริมณฑล ช่วงฝนตกหนัก 2-8 ต.ค. 64

 

       

             เพราะไฟดับตอนฝนตกเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ฉะนั้นแล้วการเตรียมพร้อมรับมือจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยให้เราจดเบอร์ติดต่อและข้อมูลเอาไว้ให้ดี แล้วก็อย่าลืมเตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆ เอาไว้ให้พร้อมด้วยนะคะ


รับมือ \"ไฟดับ\" อย่างไร ท่ามกลางคำพยากรณ์ กทม.-ปริมณฑล ช่วงฝนตกหนัก 2-8 ต.ค. 64


 

ข้อมูลน่ารู้ ... ทำไมเวลาฝนตก ไฟมักดับ ?

ที่จริงเวลาฝนตกไฟฟ้าไม่ดับเสมอไป แต่เหตุผลที่เวลาฝนตกแล้วมักมีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับนั้น ในระบบการจ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มักมีสาเหตุมาจาก

1. เวลาฝนตก มักมีพายุลมแรงทำให้กิ่งไม้ที่อยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงเอียงไปแตะหรือหักทับสายไฟฟ้าแรงสูง ในลักษณะที่ สายไฟแรงสูง ถูกเชื่อมต่อคือกราวด์ เพราะสายไม่มีฉนวนหุ้ม โดยมีความชื้นเป็นตัวนํา ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ส่งผลทำให้ไฟฟ้าดับ

 

2. เวลาที่มีฝนตก ทำให้สภาพอากาศมีความชื้น มีโอกาสทำให้เกิดการลัดวงจรในระบบไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากมลภาวะและการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง แลรวมถึงเสาไฟฟ้าที่เป็นเสาไม้ผุ ทําให้เสาหักเองได้เมื่อโดนลมพายุ

 

3. เวลาฝนตก มักเกิดอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้าแรงสูง ทำให้สายไฟฟ้าแรงสูงขาด ส่งผลทำให้ไฟฟ้าดับ

 

4.ในขณะที่อากาศร้อนมากๆ และเกิดฝนตก ลูกถ้วยที่รองรับสายไฟแรงสูง เมื่อโดนฝนหยดใส่ทำให้ลูกถ้วยร้าว หรือแตก ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวตัดไฟ หรือฟิวส์ไฟแรงสูงตก ทำให้กระแสไฟไม่สามารถไหลผ่านไปได้ จึงทำให้กระแสไฟไม่พอ และดับ

 

5. เวลาฝนตก และเกิดฟ้าผ่าลงที่หม้อแปลงนั้น ฟ้าอาจจะผ่าลงที่บริเวณอื่นของระบบไฟฟ้า ซึ่งจะส่งผลให้แรงดันในระบบไฟฟ้าสูงขึ้นมาก จนในบางครั้งส่งผลให้หม้อแปลงเกิดระเบิด

 

6. ขาดการบำรุงรักษาในระบบสายส่งกระแสไฟ คือมักจะเกิดออกไซด์ ตามขั้วต่อสาย เมื่อฝนตกมีลมแรง ก็จะเกิดการหลวมตรงจุดนั้น กระแสไฟก็จะไหลผ่านไม่ได้เมื่อเกิดความชื้นเปียก และเกิดการลัดวงจรในระบบขึ้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อย อำเภอหนองใหญ่
กฟผ. แม่เมาะ