ไลฟ์สไตล์

รู้หรือไม่ 2 ธันวาคม นี้ ทุกอาคารสูงต้องมีจุดติดตั้ง "เครื่องAED"

รู้หรือไม่ 2 ธันวาคม นี้ ทุกอาคารสูงต้องมีจุดติดตั้ง "เครื่องAED"

03 ต.ค. 2564

เมื่อพบผู้ป่วย SCA ในอาคารสูง 23 เมตรขึ้นไป ควรเรียก 1669 และถามหา "เครื่องAED" เพื่อช่วยชีวิตภายใน 10 นาทีแรก ที่ทุกอาคารสูง ต้องมี ตามมาตรการสำคัญเพิ่มความปลอดภัยภาคประชาชน ยิ่งสูงยิ่งต้องปลอดภัย

แน่นอนว่าอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอาคารสาธารณะ เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม คอนโดมีเนียม อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่โรงภาพยนตร์นั้น ย่อมจะมีผู้เข้าออกผลัดกันใช้บริการเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งอาจมีอุบัติภัยหรืออาการเจ็บป่วยเฉียบพลันเกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่ภายในอาคาร

 

 

 การให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีจึงสำคัญมาก แต่ปัจจุบันพบว่าอาคารสาธารณะบางแห่งเข้าถึงยาก โดยเฉพาะการจราจรในบ้านเราที่อาจจะทำให้เจ้าหน้าที่ด้านการดูแลฉุกเฉินไปถึงจุดเกิดเหตุได้ล่าช้า

 

 

อาคารไม่มีจุดจอดรถฉุกเฉิน หรือที่มีอยู่ยังไม่เหมาะสม ทำให้ปฏิบัติการเพื่อช่วยชีวิตผู้ประสบภัยเป็นไปได้ยาก การอำนวยความสะดวกหรือจัดการให้มีความพร้อมต่อการเข้าไปช่วยเหลือจึงเป็นเรื่องที่เจ้าของหรือผู้ดูแลอาคารพึงให้ความสำคัญ

ล่าสุดกระทรวงมหาดไทย จึงได้ออกกระทรวง ฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีใจความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะหลายด้าน อาทิ ให้อาคารสูงและและอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารสาธารณะต้องจัดให้มีช่องทางเฉพาะสำหรับบุคคลภายนอก เข้าไปบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดในอาคารได้ 

 

รู้หรือไม่ 2 ธันวาคม นี้ ทุกอาคารสูงต้องมีจุดติดตั้ง \"เครื่องAED\"

 

 

ทุกชั้นต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับยานพาหนะ ในการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยหรือภัยพิบัติ ได้แก่ รถดับเพลิง รถพยาบาลหรือรถพยาบาลฉุกเฉิน

 

 

โดยเจ้าของอาคารต้องดูแลให้เข้าถึงได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง จัดให้มีลิฟต์สำหรับเคลื่อนย้าย ผู้ประสบภัยหรือผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมถึงจัดให้มีพื้นที่หรือตำแหน่งเพื่อติดตั้งเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator) หรือ "เครื่องAED" ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2564 นี้ เป็นต้นไป

ทำไมต้องมี "เครื่องAED" ในอาคารสูง

AED คือ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator) ที่สามารถวิเคราะห์อัตราการเต้นของหัวใจ และใช้ไฟฟ้ากระตุกหัวใจในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะ “SCA (Sudden Cardiac Arrest)” หรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันให้กลับมาเต้นเป็นปกติอีกครั้ง

 

 

"เครื่องAED" และการทำCPR ที่ดีจึงมีความสำคัญต่อการช่วยเหลือผู้ป่วยในระหว่างรอให้รถพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่กู้ชีพเดินทางมาถึง ซึ่งที่ผ่านมา สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงการเรียนรู้ขั้นตอนของห่วงโซ่การรอดชีวิต ด้วยการใช้ "เครื่องAED" เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการกู้ชีพให้ผู้ป่วยฉุกเฉินจากภาวะSCA ซึ่งประเทศไทยยังมีการติดตั้งในปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาหรือญี่ปุ่น

 

 

SCA ภาวะความเป็น-ตาย ที่รอไม่ได้

วินาทีความเป็นความตายอย่างภาวะหยุดหายใจกระทันหันหรือ SCA อันเกิดจากระบบไฟฟ้าของหัวใจทำงานผิดปกติ ที่ทำให้เราสามารถล้มทั้งยืนได้เลยโดยที่ไม่มีสัญญาณเตือนแบบโรคหัวใจวายมาก่อนเลย ซึ่งอาการแบบนี้เป็นอะไรที่ “รอไม่ได้” จากสถิติปัจจุบันมีกลุ่มผู้มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตกว่า 54,000 คนต่อปี (เฉลี่ย 6 คนต่อชั่วโมง)

 

 

ความน่ากลัวของอาการ SCA นั้น นอกจากจะเป็นได้โดยไม่มีสัญญาณเตือนแล้ว ทุกคนยังสามารถเป็นได้ไม่ว่าอายุมากหรือน้อย และไม่จำเป็นต้องมีโรคประจำตัวมาก่อน

 

 

อย่างกรณีช็อคโลกที่ “Christian Eriksen (คริสเตียน อีริคเซ่น)” ดาวเตะจอมทัพทีมชาติเดนมาร์กหมดสติฟุบลงดื้อๆ คาสนาม ในศึก EURO 2020 เกมระหว่าง “Denmark 0-1 Finland” เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทั้งที่มีอายุเพียง 29 ปีเท่านั้น ทำเอาทีมแพทย์สนามต้องรีบกรูกันมาชุดใหญ่ ท่ามกลางบรรยากาศแห่งวินาทีชีวิตที่ทุกอย่างเป็นตายได้เท่ากัน

 

 

 จังหวะนั้นทีมแพทย์ต้องทำการ CPR (ปั๊มหัวใจ) ด้วย "เครื่องAED" เป็นเวลา 13 นาที จนกระทั่งเจ้าตัวได้สติ ก่อนจะถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล

 

 

ลองนึกภาพหากตอนนั้นไม่ได้รับการทำ CPR ที่ดี และไม่มี "เครื่องAED" มาช่วยกระตุกหัวใจให้กลับมาปกติป่านนี้จะเป็นอย่างไร

 

 

 และลองนึกภาพต่อไปว่าหากเกิดเหตุมีผู้ป่วย SCA ในอาคารสูงที่กว่าความช่วยเหลือหรือรถพยาบาลฉุกเฉินจะเดินทางมาถึง เราจะมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตที่พุ่งขึ้นไปอีกเท่าไร

 

 

2 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อพบผู้ป่วย SCA ในอาคารสูง: เรียก 1669 และถามหา "เครื่องAED"

 

 

เมื่อเกิดภาวะ SCA ผู้ป่วยควรได้รับการช่วยเหลือให้หัวใจกลับมาเต้นด้วยการทำ CPR ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงสมองและอวัยวะต่างๆ เพราะหากขาดนานถึง 4 นาที ก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อสมอง และอาจเสียชีวิตภายใน 10 นาที

 

 

ดังนั้น 10 นาทีแรกของการช่วยชีวิตจึงสำคัญมาก ยิ่งใช้เวลานานเท่าไร โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยก็น้อยลงเท่านั้น

 

รู้หรือไม่ 2 ธันวาคม นี้ ทุกอาคารสูงต้องมีจุดติดตั้ง \"เครื่องAED\"

 

ดังนั้น เมื่อพบเห็นผู้มีอาการ SCA ในอาคารสูงหรืออาคารสาธารณะต่างๆ สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือเรียก 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ และถามหา "เครื่อง AED" ที่ใกล้ที่สุดจากผู้ดูแลอาคาร หรือ รปภ.​ เพื่อช่วยทำ CPR และใช้เครื่องกระตุกหัวใจ ระหว่างที่รอความช่วยเหลือมาถึง โดยระหว่างการช่วยเหลือห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด เพราะจะเป็นการรบกวนการช่วยเหลือต่างๆ

 

 

การทำ CPR ที่มีคุณภาพและถูกต้องเป็นเรื่องกังวลที่ทำให้หลายคนเกิดความลังเลเมื่อต้องทำการช่วยเหลือ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้แน่ชัดว่ากำลังปั๊มถูกหรือผิด น้ำหนักการกดลงไปเพียงพอไหมด้วยความต่างของน้ำหนักผู้ประสบเหตุและผู้ช่วยชีวิต

 

 

หรือแม้จะทำได้ในเวลา 10 นาที ถ้ากระตุ้นไม่ถูกวิธีก็อาจจะไม่สามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยได้เลย หรือแม้จะช่วยชีวิตได้แต่หากออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอก็จะเกิดภาวะนอนเป็นผักแทน การมี "เครื่องAED" ที่มีคุณภาพ พร้อมใช้งานตลอดเวลา สามารถแนะเราให้มีความมั่นใจในการทำ CPR ที่ดี จึงมีความสำคัญมากในภาวะฉุกเฉินแบบนี้

 

 

การใช้ "เครื่องAED" โดยทั่วไปจะมีวิธีเหมือนๆ กันคือ ติดแผ่นนำไฟฟ้าบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และชายโครงด้านซ้าย หลังจากนั้นไม่สัมผัสตัวผู้ป่วย แล้วปฏิบัติตามคำแนะนำของ "เครื่องAED" 

 

 

แต่ปัจจุบันนี้มี "เครื่องAED" รุ่นใหม่ๆ ที่มีฟังก์ชั่นทันสมัย ใช้งานได้ง่ายแม้คนที่ CPR ไม่เป็นอย่าง Real CPR Help® เช่น ถ้าเราทำ CPR เบาไป เครื่องก็จะบอกให้กดแรงขึ้นอีก หรือหากน้ำหนักการกดนั้นดีแล้ว เครื่องก็จะบอกว่ากดดีแล้วทำต่อไป พร้อมยังบอกถึงความลึกของการกดได้ด้วย มาพร้อมภาพและเสียงคอยซัพพอร์ตการช่วยชีวิต หมดกังวลว่าจะทำ CPR ได้ไม่ดีพอ

 

 

เลือก "เครื่องAED" อย่างไร ติดตั้งตรงไหนให้ชัวร์ต่อการช่วยชีวิต

เครื่องAED ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยชีวิต ดังนั้นการเลือกเครื่องAED เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยจึงต้องพิจารณาให้ดี ควรเลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ด้านผลิตภัณฑ์ด้านการช่วยชีวิตฉุกเฉิน ได้รับความไว้วางใจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้รับมาตรฐานในระดับโลก อาทิ จากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration: FDA) ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน พร้อมสำหรับการใช้ช่วยชีวิตได้ตลอดเวลา มีการรับประกันสินค้า

 

 

สำหรับจุดติดตั้ง "เครื่องAED" ในอาคารสูงและอาคารสาธารณะนั้น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้กำหนดว่า สถานที่ที่ควรติดตั้งเครื่อง AED คือที่ที่มีคนพลุกพล่านและมีความเสี่ยงสูง จะต้องพิจารณาตำแหน่งของการติดตั้งเครื่องให้เหมาะสม

 

 

โดยควรตั้งอยู่ในที่ที่สามารถนำมาช่วยฟื้นคืนชีพได้ทันทีที่เห็นว่าผู้ป่วยหมดสติ อย่างจุดใกล้ลิฟต์หรือบันไดในอาคารสูง ควรมีการจัดทำแผนผังของอาคารที่เข้าใจง่าย พร้อมกับมีป้ายชี้ทางบอกให้เห็นบริเวณที่มีการติดตั้งเครื่องเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา และตัวเครื่องจะต้องอยู่ในที่ที่สามารถเอาออกมาใช้งานได้ภายในเวลา 1 นาที

 

 

แต่ขณะเดียวกันไม่ควรติดตั้ง "เครื่องAED" ในจุดที่แสงแดดหรือน้ำฝนเข้าถึง เพราะอาจจะทำให้เสื่อมสภาพเร็วกว่าอายุการใช้งาน และไม่ติดตั้งในห้องที่ล็อคกุญแจที่ทำให้ยากต่อการเข้าถึงเพื่อนำมาใช้ 

 

 

ทั้งนี้ เจ้าของหรือผู้ดูแลอาคารควรจัดให้มีบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบดูแลสถานที่ อาทิ รปภ. มีการตรวจตรา "เครื่องAED" ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมถึงควรจัดให้มีการอบรมให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ ที่มาใช้บริการอาคารให้รู้จักวิธีใช้เครื่องอย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

 

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมและดูรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่อง AED ที่เหมาะสำหรับอาคารสาธารณะ ได้ที่ https://www.zoll.com/products/%20aeds/aeds-for-public-access หรือสอบถามรายละเอียดโทร 02-275-5501

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง