ไลฟ์สไตล์

รู้ทัน...ห่างโรค อย่างไรให้ไกลจาก "กระดูกพรุน"

รู้ทัน...ห่างโรค อย่างไรให้ไกลจาก "กระดูกพรุน"

04 ต.ค. 2564

โรคที่อยู่ในภาวะของ "มวลเนื้อกระดูกลดลง" และ เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างภายในกระดูก เป็นผลทำให้กระดูกแตกหักได้ง่าย โรคกระดูกพรุนสามารถป้องกันได้ เพียงลดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรค ด้วยวิธีการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง และออกกำลังกายเป็นประจำ

โดยทั่วไปกระดูกจะมีการสร้าง และสลายอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะอยู่ในสภาวะที่สมดุลกัน เมื่อมีอายุมากขึ้น ทำให้เกิดการสลายมากกว่าการสร้าง จึงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

รู้ทัน...ห่างโรค อย่างไรให้ไกลจาก \"กระดูกพรุน\"

 

อันตรายของโรคและอาการ ผู้ป่วยที่มีอาการของโรค จะปวดหลัง กระดูกสันหลังยุบ  กระดูกหักง่าย แม้เกิดอุบัติเหตุไม่รุนแรง พบมากบริเวณกระดูกข้อมือ สันหลัง สะโพก ทำให้เจ็บปวด เคลื่อนไหวลำบาก เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นปอดบวม แผลกดทับ ติดเชื้อซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ระยะแรกไม่ปรากฏอาการ เป็นภัยเงียบ จะรู้ก็ต่อเมื่อกระดูกหักแล้ว ส่วนสูงลดลงทุกปี

รู้ทัน...ห่างโรค อย่างไรให้ไกลจาก \"กระดูกพรุน\"

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
1 กรรมพันธุ์ คนผิวขาว คนผอม ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
2 ผู้สูงอายุ โดยมากพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
3 สตรีวัยหมดประจำเดือน ได้รับการผ่าตัดรังไข่ทั้งสองข้าง
4 ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ประจำ
5 ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
6 ผู้ที่รับประทานอาหารแคลเซียมต่ำ
7 ผู้ป่วยเรื้อรัง เช่นเบาหวาน โรคลำไส้ โรคต่อมไทรอยด์ เป็นต้น

 

รู้ทัน...ห่างโรค อย่างไรให้ไกลจาก \"กระดูกพรุน\"

รู้ทัน...ห่างโรค อย่างไรให้ไกลจาก \"กระดูกพรุน\"

การดูแลตนเองของผู้ป่วยกระดูกพรุน
1 รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมสด เต้าหู้ ปลาตัวเล็กตัวน้อย ผักใบเขียวต่าง ๆ 
2 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3 บริหารเสริมความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อหลังและช่องท้อง
4 หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่นบุหรี่ แอลกอฮอล์ ยาสเตียรอยด์
5 ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุภายในบ้าน
6 พบแพทย์ตามนัดหมาย และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

รู้ทัน...ห่างโรค อย่างไรให้ไกลจาก \"กระดูกพรุน\"

ขอบคุณข้อมูลเอกสารประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลธนบุรี 2 
ภาพประกอบ https://unsplash.com/

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"เซิร์ฟสเก็ต" เล่นแบบไหนให้ปลอดภัย ไม่มีอาการบาดเจ็บ

รายการคมชัดกับหมอ EP.4 เทคนิคจัดการทุกข์ อย่างไรไม่ให้เป็นโรคซึมเศร้า

"ปวดหลัง" ไม่ควรมองข้าม

"นมถั่วเหลือง" คุณค่าที่ไม่ควรมองข้าม