เข้าใจ "โรคซึมเศร้า" ไม่ใช่โรคบ้า แต่เป็นอาการป่วยที่รักษาหายได้
เราได้ยินกันบ่อยว่าการเป็น "โรคซึมเศร้า" หมายความว่า คนๆ นั้นมีอาการคล้ายคน บ้า ใช่ไหม? แต่วันนี้คุณหมอได้ออกมายืนยันแล้วว่า "โรคซึมเศร้า" ไม่ได้แปลว่าบ้า แต่ก็เป็นโรคชนิดหนึ่งที่รักษาหายได้เหมือน โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไส้ติ่ง เป็นต้น
"โรคซึมเศร้า" เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง 'เซโรโทนิน' มีปริมาณลดลงทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขมีแต่ความวิตกกังวล และหากปล่อยไว้ ผู้ป่วยอาจคิดสั้นฆ่าตัวตายได้
สาเหตุ/ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น
- ความเครียดสะสม
- การสูญเสียครั้งใหญ่
- สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู
- ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ราบรื่น
- ความเสี่ยงทางพันธุกรรม
ความเครียด เป็นภาวะของความรู้สึก ความคิด หรืออารมณ์ที่เกิดจากการบีบคั้นกดดัน เมื่อมีภาวะความเครียดสะสมเป็นเวลานานนอกจากจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลงแล้ว ภาวะความเครียดอาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าหรือทำให้เราเป็นโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งปัจจุบันความเครียดเป็นอาการที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก ส่งผลให้มีอาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และความคิด และกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างมาก
ทุกคนต้องเจอกับภาวะความเครียดอยู่แล้ว
แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับมือและจัดการความเครียดนี้ได้อย่างไร?
5 อาการที่บ่งบอกว่าคุณเครียดมากเกินไปแล้ว
- น้ำหนัก ขึ้นลง อย่างรวดเร็ว
- ความเครียดมักไปกระตุ้นร่างกาย ให้หลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาในปริมาณมาก ทำให้เกิดความหิวตลอดเวลา และบางครั้งความเครียดก็ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน ทำให้กระบวนการเผาผลาญถูกเร่งให้ทำงานเร็วขึ้นกว่าปกติ
- ความเครียดมักไปกระตุ้นร่างกาย ให้หลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาในปริมาณมาก ทำให้เกิดความหิวตลอดเวลา และบางครั้งความเครียดก็ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน ทำให้กระบวนการเผาผลาญถูกเร่งให้ทำงานเร็วขึ้นกว่าปกติ
- ป่วยง่าย
- ความเครียดทำให้ร่างกาย หลั่งฮอร์โมน คอร์ติซอลในปริมาณมาก ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อคอร์ติซอลน้อยลง จึงทำให้เกิดการติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
- ความเครียดทำให้ร่างกาย หลั่งฮอร์โมน คอร์ติซอลในปริมาณมาก ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อคอร์ติซอลน้อยลง จึงทำให้เกิดการติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
- ปวดศีรษะ
- การปวดหัวศีรษะจากความเครียด อาจมีอาการปวดตื้อๆ รอบหน้าผากและหนังศีรษะ
- การปวดหัวศีรษะจากความเครียด อาจมีอาการปวดตื้อๆ รอบหน้าผากและหนังศีรษะ
- ท้องอืด ลำไส้แปรปรวน
- หากมีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน ร่างกายจะหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมามากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการท้องอืด ลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อนได้
- หากมีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน ร่างกายจะหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมามากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการท้องอืด ลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อนได้
- นอนไม่หลับ
- ความเครียดทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ ความวิตกในเรื่องที่เครียด ยิ่งทำให้นอนไม่หลับมาก หรือหลับก็หลับไม่สนิท ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิดและเจ็บป่วยง่าย
อาการแบบไหนเสี่ยงโรคซึมเศร้า
- มีอารมณ์ซึมเศร้า
- อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
- รู้สึกตนเองไร้ค่า สิ้นหวัง
- เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากกว่าปกติ
- นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
- คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย หรือทำร้ายตัวเอง
- ความสนใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก
- น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก
- สมาธิลดลง ใจลอย ลังเลใจไปหมด
- กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
หากเสี่ยงเป็นซึมเศร้าควรทำอย่างไร
หากมีอาการข้างต้น 5 อาการ หรือมากกว่า พบว่าตนเองมีอาการข้างต้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยมีอาการอยู่เกือบตลอดเวลาแทบทุกวัน ไม่ใช่เป็นๆ หายๆ อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ควรยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติและปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ปรึกษาและรักษาต่อไป
ที่มาข้อมูล:
https://www.sikarin.com/health/โรคซึมเศร้า-depression