
"ตากุ้งยิง" ดูแลรักษาเองได้ ไม่ต้องพบหมอ
ปัจจุบันที่ความเสี่ยงต่อเชื้อไวรัสและแบคทีเรียมีมากกว่าที่เคยอย่างฝุ่นละออง PM 2.5 อาจทำให้การชีวิตประจำวันของเราเสี่ยงต่อการเป็น "ตากุ้งยิง" มากขึ้น
ทำความรู้จัก "โรคตากุ้งยิง" (Hordeolum)
"ตากุ้งยิง" เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณเปลือกตาด้านบนและเปลือกตาด้านล่าง ทำให้มีอาการเจ็บปวดตรงที่เป็นตุ่มหรือหนอง
ปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดตากุ้งยิง ได้แก่
- สัมผัสดวงตาด้วยมือที่ไม่สะอาด
- การใส่คอนแทคเลนส์
- โรคเปลือกตาอักเสบ
- ใช้เครื่องสำอางที่ไม่สะอาดหรือล้างเครื่องสำอางไม่หมด
- เคยมีประวัติเป็นตากุ้งยิงมาก่อน
- ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง เช่น เป็นโรคเบาหวาน
อาการของตากุ้งยิง
• เจ็บๆ คันๆ บริเวณเปลือกตา
• ปวด บวม แดง บริเวณเปลือกตา
• เป็นฝีหรือหัวหนอง 4 – 5 วัน
วิธีการรักษาตากุ้งยิง
ส่วนมากแล้ว ตากุ้งยิง จะสามารถหายได้เอง ภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา และไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ ในบางคน ตุ่มอาจจะแตก และมีหนองออกมาหลังจาก 3-4 วันแรก
สิ่งสำคัญ คือ การประคบอุ่น โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบไว้ที่ตาประมาณ 5-10 นาที 3-4 ครั้ง ต่อวัน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการระบายหนองออกไปได้เร็วขึ้น
เมื่อใดต้องพบแพทย์
- หากปวดมาก และแนวโน้มอาการไม่ดีขึ้น
- มีอาการบวมแดงเป็นบริเวณกว้าง
- มีอาการตาพร่า หรือ มองเห็นไม่ชัด
สิ่งที่ควรทำ
- ช่วงที่มีอาการ ให้ประคบอุ่น และหลีกเลี่ยงการแต่งหน้าบริเวณดวงตา หรือใส่คอนแทคเลนส์
- ล้างหน้าให้สะอาด และล้างเครื่องสำอางก่อนนอนทุกครั้ง
- เปลี่ยนเครื่องสำอางที่ใช้กับตา ทุกๆ 6 เดือน
สิ่งที่ไม่ควรทำ
- ห้ามพยายามบีบ หรือ เจาะตุ่มหนองออกเอง
- ไม่ควรใช้ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้ที่มีอาการ
- ไม่ควรขยี้ตาโดยไม่ได้ล้างมือ
- ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์โดยไม่ได้ล้างมือ
ที่มารูปภาพและข้อมูล
https://www.sikarin.com/health
http://medicalcenter.kmitl.ac.th
https://medthai.com