
"ต้อลม" ถ้าปล่อยไว้ อาการอาจทวีความรุนแรง
"ต้อลม" เป็น อาการชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้จากการใช้ดวงตาที่หนักเกินไปจนเกิดเป็นก้อนเนื้อภายในตา อาการนี้ในระยะแรกอาจรักษาเองได้ แต่ถ้าปล่อยไว้ก็จะทำให้เราต้องไปผ่าตัดได้เช่นกัน
ต้อลม (Pinguecula) เป็นโรคที่เกี่ยวกับดวงตาชนิดหนึ่งโดยจะมีก้อนเม็ดเล็ก ๆ สีเหลืองใส นูนอยู่บริเวณตาขาว ซึ่งสามารถขึ้นได้ทั้งหัวตาหรือหางตา หลายคนมักเข้าใจผิดว่าการเป็นต้อลมคือเนื้องอกในตา ซึ่งในความจริงแล้วตุ่มที่นูนขึ้นมานั้นไม่สามารถกลายเป็นเนื้อร้ายได้ โดยส่วนมากจะพบโรคต้อลมในคนที่มีอายุค่อนข้างเยอะ แต่ในยุคปัจจุบันนี้ผู้ที่อายุน้อย หรือ อยู่ในวัยกลางคน เช่น วัยทำงาน ก็มีโอกาสเป็นโรคชนิดนี้ได้เช่นกันเพราะผลจากการทำงานในสภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นควัน ลม หรือ รับรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสีUV) เป็นเวลานาน
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต้อลม
- ดวงตาสัมผัสแสง UV เป็นประจำ โดยไม่ได้ป้องกัน จากการสวมแว่นกันแดด
- ดวงตาที่สัมผัสกับฝุ่นควัน ลม สารเคมี มลภาวะ รวมไปถึงความร้อน ก็สามารถสร้างความระคายเคืองให้กับเยื่อบุตาขาวได้
- ผู้ที่มีปัญหาตาแห้งบ่อย ๆ จากการใช้สายตาหนัก
อาการของต้อลม
ผู้ป่วยโรคต้อลมที่ยังเป็นไม่มาก ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการใด ๆ มากแต่หากมีการอักเสบหรือเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บตา เคืองตา แสบตา น้ำตาไหล ตาแดงขึ้น รู้สึกเหมือนมีเศษผงอยู่ในตาได้เป็นครั้งคราว ผู้ป่วยจะมีอาการตามัวและอาจเกิดสายตาเอียงได้ เนื่องจากต้อเนื้อดึงกระจกตา ทำให้ความโค้งของกระจกตาเปลี่ยนไป ถ้าต้อเนื้อเป็นมากจนลุกลามเข้าไปใกล้กลางกระจกตาจะบดบังการมองเห็นและเกิดกับดวงตาเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ เป็นอาการที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ในเด็กพบน้อยกว่าเพราะเด็กยังเจอ UV ไม่มากและไม่นานเท่าผู้ใหญ่
รักษาต้อลม
การรักษาต้อลมและต้อเนื้อขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
- ในกรณีที่เป็นต้อไม่รุนแรง
อาการไม่รุนแรงคือ ต้อมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยไม่รู้สึกระคายเคืองและการมองเห็นยังเป็นปกติ การรักษาโรคในระยะนี้ แนะนำให้ป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น โดยปกป้องดวงตาจากรังสีอัลตราไวโอเลตอย่างเคร่งครัด ด้วยการสวมแว่นกันแดดอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้ต้อเติบโตลุกลามมากยิ่งขึ้นสำหรับคนที่ตาแห้งบ่อย ๆ ควรหยอดน้ำตาเทียมช่วย เพื่อลดอาการตาแห้งและสำหรับพนักงานออฟฟิศที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ควรพักสายตาจากคอมพิวเตอร์เพื่อป้องการอาการตาแห้ง
- ในกรณีที่ต้อมีการอักเสปจนถึงขั้นติดเชื้อ
หากเกิดการอักเสบ แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการระคายเคือง และอาการอื่น ๆ จากการอักเสบในกรณีของต้อเนื้อที่มีการลุกลามเข้าไปบน กระจก ตามาก มีขนาดใหญ่และอักเสบเรื้อรังจักษุแพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ เพื่อลอกเอาเนื้อเยื่อต้อเนื้อออกจากเยื่อตาและผิวกระจกตา
ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:
www.bangkokhospital.com
www.sikarin.com/doctor-articles