"แพลนต์เบสด์" คืออะไร ทำไมถึงเป็นทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ?
วันนี้เรามีความรู้เรื่องอาหารการกินมากขึ้น เราเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เรารู้ว่าการกินเนื้อสัตว์ทำให้โลกร้อน เลยทำให้มีนวัตกรรมอาหารเกิดใหม่มากมาย หนึ่งในนั้นคืออาหาร "แพลนต์เบสด์"
บริษัทวีแกนเนอรี - บริษัท มอร์มีท จับมือสร้างตลาด แพลนต์เบส จัดเต็ม 4 เมนู เรดี้ ทู อีท เอาใจคนรักสุขภาพ คนไม่อยากกินเนื้อสัตว์ และคนอยากลดการกินเนื้อสัตว์ ที่จะหาได้จากอาหารแพลนต์เบสด์ได้ง่ายขึ้นจากทั้งหน้าร้านออนไลน์ หน้าร้านอาหาร และห้างสรรพสินค้า
4 เมนู เรดี้ ทู อีท (Ready to Eat)
- สปาเก็ตตี้โบโลเนส
- เกี๊ยวเนื้อจากพืชสไตล์เกาหลี
- ลาซานญ่าชีสถั่วหิมพานต์
- สปาเก็ตตี้ซอสแกงเขียวหวาน
อาหารแพลนต์ เบสด์ (Plant-Based) คืออะไร
การกินอาหารแพลนต์เบสด์ เป็นการกินที่โฟกัสหลัก ๆ ไปที่พืช ซึ่งไม่ใช่แค่ผลไม้ หรือผักเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงถั่วทุกชนิด เมล็ดพันธ์ุ น้ำมัน ธัญพืช โดยการกินลักษณะนี้ไม่ใช่การกินมังสวิรัติ ที่ไม่กินอาหารจำพวกเนื้อหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมเลย แต่เป็น การกินอาหารที่สัดส่วนเป็นพืชมากกว่าอาหารประเภทอื่น
การพัฒนา อาหารแพลนต์ เบสด์ ดีอย่างไร
ที่วีแกนเนอรีได้ร่วมมือกับบริษัท มอร์ฟู้ดส์อินโนเทค ผู้พัฒนาแพลนต์เบสสัญชาติไทยภายใต้แบรนด์ "มอร์มีท" ออก 4 เมนูแพลนต์เบส Ready to eat โดยความร่วมมือในครั้งนี้ สองบริษัทจะส่งเสริมกันในการทำให้อาหาร แพลนต์เบสด์ เข้าถึงกลุ่มคนได้มากขึ้น เพราะที่ผ่านมาคนมักมองว่าการทาน ผัก หรือทาน แพลนต์เบสด์ นั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่งทั้ง 4 เมนูจะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกและรับประทานแพลนต์เบสได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน
กระแสอาหาร อาหารแพลนต์ เบสด์ มาจากไหน
นางสาวณปภัสสร ต่อเทียนชัย CEO และรองประธานกรรมการ บริษัท วีแกนเนอรี จำกัด ผู้นำด้านธุรกิจร้านอาหารวีแกนของกรุงเทพฯ และประเทศไทย เปิดเผยว่า
"ขณะนี้กระแสการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในประเทศไทยกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมีปัจจัยจากการระบาดของเชื้อโควิด – 19 ที่ทำให้คนไทยในหลาย ๆ พื้นที่หันมาใส่ใจและเลือกรับประทานอาหารที่ให้คุณประโยชน์กับร่างกาย รวมทั้งตอบรับกับกระแสการดูแลสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเทรนด์การลดการบริโภคอาหารที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อ นม ไข่ ชีส ฯลฯ ทำให้ผู้คนหันมานิยมอาหารประเภท วีแกน และ แพลนต์เบสด์ ในประเทศไทยเติบโตมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนในปีที่ผ่านมา"
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าทั้งกลุ่มร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ และซูเปอร์สโตร์ได้มีการพัฒนาเมนูต่าง ๆ ที่ใช้วัตถุดิบ แพลนต์เบสด์ รวมถึงเพิ่มพื้นที่ในการวางจำหน่ายเทียบเท่ากับการจำหน่ายเนื้อสัตว์จริง และคาดว่ารูปแบบการบริโภคนี้จะยังคงเติบโตเรื่อย ๆ และมีแนวโน้มขยายตัว 8 – 10% ต่อปี ซึ่งในปีนี้มีการประเมินว่าตลาดโปรตีนทางเลือกในไทยที่มีมูลค่ากว่า 3.62 หมื่นล้านบาท (ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย)