ไลฟ์สไตล์

7 สิ่งต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ "โน๊ตบุ๊ค"

7 สิ่งต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ "โน๊ตบุ๊ค"

25 พ.ย. 2564

เวลาไปเดินดูตามร้านขาย โน๊ตบุ๊ค หรือ คอมพิวเตอร์ มือใหม่อาจสงสัยว่าข้อมูลอะไรที่ถูกนำมาแปะไว้หน้าตัวเครื่องมากมาย แล้วข้อมูลเหล่านั้นบอกถึงสเปกคอมอย่างไรบ้าง เรามาหาคำตอบไปพร้อมกัน

โลกวันนี้หลายคนบอกว่าอินเตอร์เน็ตกับวายฟาย ถือเป็นปัจจัยที่ 5 และ 6 ในการดำรงชีวิต แต่ช้าก่อน หากเราไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือ โน๊ตบุค การมีอินเตอร์เน็ตก็อาจไม่ได้ช่วยอะไร ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วใครกำลังหาซื้อ โน๊ตบุ๊ก แต่ไม่รู้จะเลืกซื้ออย่างไร เรามีเทคนิคดี ๆ มาฝาก กับ 7 สิ่งต้องรู้ เอาไว้พิจารณาเมื่อซื้อโน๊ตบุ๊ค

 

  1. ขนาดเเละน้ำหนักเครื่อง

สิ่งแรกที่เราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อน คือ เราต้องการซื้อโน้ตบุ๊คไปใช้งานอะไร ซึ่งจะช่วยตอบคำถามได้ว่าเราต้องการโน๊ตบุ๊คขนาดเท่าไหร่  

  • ใครที่สายทำงาน ต้องพรีเซนต์งานนอกสถานที่บ่อย ๆ อยากได้โน๊ตบุ๊กบางเบา ดีไซน์สวยงาม เเละ พกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก อาจเลือก โน๊ตบุ๊กบางเบาขนาดหน้าจอไม่เกิน 13 นิ้ว 
  • ส่วนใครที่เป็นสายเล่นเกม สายตัดต่องาน ทำกราฟฟิก รวมถึงยูทูบเบอร์ ที่ต้องการโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูง ๆ ก็อาจต้องการโน๊ตบุ๊คที่หน้าจอ 13 นิ้วขึ้นไป ซึ่งต้องเเลกมากับตัวเครื่องที่หนาและหนักขึ้น
     

 

  1. คุณภาพหน้าจอ

 

  • สิ่งที่ต้องดูต่อมาคือ คุณภาพจอ ซึ่งเราขอแนะนำให้มองหาหน้าจอที่ระบุว่าเป็น Full HD (FHD) หรือ สูงกว่าเท่านั้นซึ่งจะช่วยให้ดูคลิปยูทูป เน็ตฟลิกซ์ หรือรายการออนไลน์ต่าง ๆ ได้คมชัดเต็มตา 

  • ส่วนสายเกมมิ่ง หรือสายทำงานหนักต้องพิจารณา อัตรารีเฟรชหน้าจอ (Refresh Rate)ที่ควรเลือกรุ่น ที่รองรับ 144 Hz ซึ่งจะทำให้การเเสดงผลลื่นไหล เวลาเล่นเกมที่กราฟิกสวย ๆ จะช่วยให้เต็มอิ่มเต็มอารมณ์ยิ่งขึ้น

3. หน่วยประมลผลกลาง (CPU)

หน่วยประมลผลกลาง (CPU) เปรียบดั่งสมองของโน๊ตบุ๊ก ดังนั้นถ้าเลือกซีพียูที่ดี โน๊ตบุ๊กก็ทำงานได้ดี เต็มประสิทธิภาพ  เหมือนกับการมีสมองที่ดี คิดเร็ว ว่องไว 

ซึ่งซีพียูยอดนิยมจะมี 2 แบรนด์ Intel และ AMD ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกซื้อได้ตามควาชอบ และ เงื่อนไขประกันที่สะดวกเลย

  • Intel Core i3 / AMD Ryzen 3
    เป็นซีพียูระดับเริ่มต้น อยู่ในโน้ตบุ๊กราคา ไม่เกิน 15,000 บาท เน้นทำงานทั่วไป
  • Intel Core i5 / AMD Ryzen 5
    เป็นซีพียูระดับกลาง อยู่ในโน้ตบุ๊กราคา ไม่เกิน 25,000 บาท ทำงานได้ครบหมด รวมไปถึงเล่นเกมได้สบาย ๆ
  • Intel Core i7 / AMD Ryzen 7
    ซีพียูระดับสูง อยู่ในโน๊ตบุ๊กระดับสูง ตลอดจนโน้ตบุ๊กเกมมิ่ง มีประสิทธิภาพสูง เหมาะกับการทำงานที่ต้องการความเร็ว งานด้านกราฟิก ตัดต่อ เล่นเกมลื่นไหล
  • Intel Core i9 / AMD Ryzen 9
    ซีพียูระดับโคตรท็อป เร็วและเเรงเป็นพิเศษ เกินต้าน อยู่ในโน้ตบุ๊กระดับเทพ ราคาเกือบเเสน เหมาะกับคนที่มีงบเประมาณ

 

4. แรม (RAM)

แรม คือ หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อการทำงานและความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในอดีตมีแรม 4GB ก็ถือว่าเพียงพอ เเต่ปัจจุบันต้องเลือกอย่างน้อย 8GB เพราะโปรแกรมในยุคปัจจุบันต้องการแรมสำหรับการประมวลผลมากขึ้นเรื่อย ๆ และระบบปฏิบัติการในปัจจุบันก็ถูกออกแบบมาให้รองรับเเรมได้สูงเเล้วเช่นกัน ส่วนสายเล่นเกมควรเลือกเเรมอย่างน้อย 16GB  

 

5. การ์ดจอ (Graphic Card)

การ์ดจอเปรียบเสมือนตัวการสำคัญที่ใช้สำหรับการแสดงผลต่าง ๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นการนำผลการประมวลที่ได้จากซีพียูส่งต่อไปยังหน้าจอ หากต้องการจอที่มีความละเอียดจำเป็นต้องเลือกโน้ตบุ๊คที่มี การ์ดจอเเยก เพราะความสำคัญของการ์ดจอคือการช่วยแปลงภาพ 3D ให้ออกมาสวยงาม รวมไปถึงเวลาเรนเดองานกราฟิกหนัก ๆ ขึ้นรูป 3D การมีการ์ดจอมาช่วยเเบ่งเบาภาระของซีพียู ทำให้โน้ตบุ๊กของเรา สามารถทำได้ได้ลื่นไหลเเละเต็มประสิทธิภาพ

 

6. ฮาร์ดดิสก์ แบบ SSD

ฮาร์ดดิสก์ คือ ตัวที่เอาไว้บันทึกข้อมุลงานต่าง ๆ ของเรา ปัจจุบันอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิด SSD มีความเร็วในการทำงานที่สูงกว่า HDD หลายเท่า เเถมยังมีขนาดเล็กน้ำหนักเบาเเละประหยัดเนื้อที่ ทำให้ SSD ถือเป็นมาตรฐานใหม่ไปเเล้วสำหรับโน้ตบุ๊กยุคนี้ โดยความจุขั้นต่ำที่เราแนะนำอยู่ที่ 512GB ส่วนถ้าคนที่ทำงานด้านวิดีโอกราฟิก ความจุขั้นต่ำ เเนะนำอยู่ที่ 1TB


 

7. พอร์ตเชื่อมต่อ

การเลือกโน้ตบุ๊ค อีกสิ่งที่จำเป็นมากที่เราต้องรู้ คือ พอร์ตเชื่อมต่อ หรือ ช่องเสียบอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่ามีอะไรบ้าง โดยปัจจุบันพอร์ตพื้นฐานที่โน๊ตบุ๊กต้องมี ก็คือ USB 3.0 ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานใหม่ในการเชื่อมต่อข้อมูล โดย USB 3.0 ความเร็วมากกว่า 2.0 ถึง 10 เท่า เเละสำหรับบางรุ่นที่ใช้ซีพียู Intel ก็จะรองรับ Thunderbolt 3.0 อีกด้วย

 

หากเราได้ศึกษาและพิจารณาปัจจัยพื้นฐานทั้ง 7 อย่างก่อนไปซื้อโน๊ตบุ๊คอย่างครบถ้วนแล้ว เราก็จะได้โน๊ตบุคเครื่องที่ตรงตามความต้องการใช้งานของเรามากที่สุด