รู้จัก "สตีฟ แม็คเคอร์รี่" ช่างภาพนักถ่ายทอดเรื่องราวความรุนแรงของสงคราม
อาชีพ "ช่างภาพ" อาจเป็นอาชีพที่หลายคนอาจมองว่าเป็นงานที่ไม่มีเกียรติ และ ไม่มั่นคง แต่หารู้ไม่ว่าเป็นเพราะอาชีพ "ช่างภาพ" ที่ทำให้เราได้รับรู้ถึงเรื่องราวความโหดร้ายต่าง ๆ ที่เราอาจไม่จะรู้ได้เลยหากไม่มี "ช่างภาพ"
สตีฟ เเม็คเคอร์รี่ (Steve McCurry)
สตีฟ เเม็คเคอร์รี่ (Steve McCurry) เป็นช่างภาพอิสระ และนักบันทึกภาพข่าวชาวอเมริกันที่ยึดอาชีพ ‘ช่างภาพ’ เป็นงานหลักเนื่องจากต้องการที่จะสื่อสารบางสิ่งบางอย่าง แบ่งปันประสบการณ์ และบอกเล่าเรื่องราวที่เขาพบเห็นให้ผู้คนได้รับรู้
สตีฟโด่งดังจากภาพถ่าย Afgan Girl หรือ หญิงสาวชาวอัฟกกัน
Afgan Girl เป็นภาพหญิงสาวชาวอัฟกานิสถานผู้มีดวงตาสีเขียวขจีในชุดพื้นเมืองสีแดง สตีฟถ่ายภาพนี้จากการออกไปทำงานเป็นช่างภาพในประเทศต่าง ๆ ที่มีสงคราม และเนื่องจากภาพนี้สะท้อนอารมณ์ความมรู้สึกของผู้ลี้ภัยสงครามได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้ภาพนี้ได้ขึ้นปกนิตยสาร National Geographic ซึ่งเป็นภาพที่เล่าให้คนทั้งโลกต้องได้รับรู้ถึงความโหดร้ายของสงครามที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในประเทศอัฟกาสินถาน แต่เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก
Afgan Girl ภาพที่เต็มไปด้วยความหมาย
ปัจจัยที่ทำให้ภาพนี้เป็นภาพที่คนจดจำได้มาก เป็นเพราะท่าทางแสดงออกอันทรงพลัง และรูปลักษณ์อันน่าทึ่งของ ชาร์เบท เกอล่า (Sharbat Gula) ซึ่งด้วยจังหวะและเวลากดชัตเตอร์ที่พอดี ทำให้แสงสมบูรณ์แบบ สีภาพออกมาสวย ห้วงเวลานั้นเป็นกลายห้วงเวลาอันแสนพิเศษที่ทุกอย่างเกิดขึ้นมาพร้อมกัน จนทำให้กลายเป็นภาพที่พิเศษตามมา
สงครามอันยืดเยื้อและยาวนานในอัฟกานิสถานเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มติดอาวุธตาลีบันที่สนับสนุนโดยโซเวียต (รัสเซีย) และ สหรัฐอเมริกา ซึ่งจากการสัมผัสเหตุการณ์ความรุนแรงโดยตรง สตีฟ เล่าว่า ภาพถ่ายของ ชาร์เบท เกอล่า (Sharbat Gula) ได้สะท้อนให้เห็นถึงความหวังของเด็กสาวอีกนับล้านที่ไม่สามารถหนีออกมาจากประเทศต้นทางได้ และ ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ หากตีเป็นมูลค่าทรัพย์สินจะสามารถเปลี่ยนเป็นการศึกษา และ การพัฒนา อนาคตที่ดีให้กับคนในประเทศได้อีกมาก แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้นเหยื่อจากกสงครามกลับต้องมาเสี่ยงชีวิตกับการโดนทำร้ายร่างกายสังหารจากกลุ่มติดอาวุธตาลีบัน
มุมมองการเล่าเรื่องของ สตีฟ เเม็คเคอร์รี่ (Steve McCurry)
ในช่วงชีวิตที่สตีฟจดจ่ออยู่กับเก็บภาพเกี่ยวกับการทำสงครามกับมนุษย์ เขาตั้งใจที่จะแสดงให้เห็นว่าสงครามไม่เพียงส่งผลกระทบแค่กับตึกรามบ้านช่องและภูมิทัศน์เท่านั้น แต่มันทำให้ชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนต้องเจ็บปวดอีกมาก
จากที่นิตยสารออนไลน์ QC ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ สตีฟในปี 2020 ครั้งที่เขามาเปิดตัวหนังสือภาพเล่มใหม่ของเขาที่ประเทศไทย โดยได้ถาม สตีฟว่า
ถาม : เวลาถ่ายภาพคุณรอจังหวะกดชัตเตอร์เพียงครั้งเดียวเลย หรือกดถ่ายไปหลาย ๆ ภาพ แล้วค่อยมาเลือกเอาทีหลัง?
ตอบ : มันก็เหมือนกับการถามนักแต่งเพลงว่า คุณเขียนเนื้อเพลงยาวกี่คำถึงจะได้เพลงที่ใช่น่ะ สิ่งที่สำคัญก็คือ คุณเอารูปวางบนโต๊ะแล้วมันใช้ได้หรือเปล่า เพราะถึงแม้คุณจะถ่ายภาพไปสองช็อต หรือสองพันช็อต มันก็ไม่มีอะไรต่างกัน ช่างภาพหลายคนถ่ายภาพหลายครั้ง ครั้งละหลายภาพ เพราะเวลาเขาทำงาน เขาอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่รู้ว่าเหตุการณ์นั้นจะถึงจุดพีกเมื่อไหร่ เขาก็ต้องทำงานไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอช่วงเวลานั้น แต่จำนวนของรูปไม่ได้การันตีว่าคุณจะได้รูปที่ดี ผมรู้จักช่างภาพที่ถ่ายรูปโดยใช้ฟิล์ม 900 ม้วนในหัวข้อเดียว แต่ไม่มีรูปที่ดีเลยสักรูป มันไม่ใช่เรื่องของจำนวน แต่เป็นการหาจังหวะและเวลาที่ใช่มากกว่า
เราจึงเห็นได้จากภาพ Afgan Girl ว่าถึงแม้ภาพนี้จะเป็นภาพที่โด่งดังและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก แต่การถ่ายภาพบุคคลอาจไม่ได้มีสูตรตายตัวว่าจะต้องถ่ายตอนไหน อย่างไร แต่คงเป็นช่วงเวลาที่ช่างภาพคนนั้นเห็นว่าเป็นจังหวะที่สะท้อนอารมร์ ความรู้สึก และความเป็นธรรมชาติของภาพถ่ายได้อย่างแท้จริง ดั่งภาพ Afgan Girl ที่ตรึงใจคนทั่วโลก ที่สะท้อนความเชื่อมโยงทางความรู้สึกของมนุษย์ทุกคน แม้ว่าจะความแตกต่างในด้านศาสนา ภาษา เชื้อชาติก็ตาม
ที่มารูปภาพและข้อมูล :
www.theguardian.com/global-development/2021/sep/20/its-heartbreaking-steve-mccurry-on-afghan-girl-a-portrait-of-past-and-present
hwww.gqthailand.com/views/article/life-through-a-lens