ไลฟ์สไตล์

ราชบัณฑิตยสภา เคาะ Metaverse = "จักรวาลนฤมิต"

ราชบัณฑิตยสภา เคาะ Metaverse = "จักรวาลนฤมิต"

03 ธ.ค. 2564

ถือว่าน่าสนใจ และ คงต้องติดตามกันต่อไปว่า เมตาเวิร์ส หรือ "จักรวาลนฤมิต" จะเป็นคำพูดที่คนไทยติดปากพูดมากกว่ากัน เพราะแต่ละคำนั้นต่างมีความไพเราะเป็นของตัวเอง

หลังจากที่ มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก ประธานบริษัทเมทา (ชื่อใหม่ของบริษัทคอนเน็คท์คอนเฟอร์เรนซ์ บริษัทเจ้าของเฟสบุ๊ก) ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มเสมือนจริง  "เมตาเวิร์ส"  -  "Metaverse" หรือ โลกเสมือนจริงที่ผู้ใช้งานจะสามารถหลุดเข้าไปอยู่ในนั้นได้เลยจริง ๆ และจะสามารถพบปะสังสรรค์เพื่อนฝูง สามารถซื้อของ และบางคนอาจมีงานทำเป็นเจ้าของร้านค้าของตัวเองในโลกนั้นเลย

 

ล่าสุด เพื่อให้ทันต่อกระแสความเคลื่อนไหวของโลก ในการประชุมวันที่ 2 ธ.ค. คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย ราชบัณฑิตยสภาได้กำหนดคำแปล "เมตาเวิร์ส"  เป็น "จักรวาลนฤมิต" ซึ่งมีความหมายตรงตัว คือ จักรวาลที่ถูกเปลี่ยนแปลง หรือ สร้างขึ้นมาใหม่ และ ยังได้มีการกำหนดคำทับศัพท์ภาษาไทยไว้โดยสามารถเขียนได้ว่า เมตาเวิร์ส

อย่างไรก็ตาม คำศัพท์หลายคำที่ทางราชบัณฑิตยสภาบัญญัติขึ้นมาใหม่อาจจะไม่เป็นที่นิยมใช้ เนื่องจากผู้ใช้คิดว่า คำที่บัญญัติขึ้นมานั้นไม่สามารถสื่อความหมายทำความเข้าใจได้ดีเท่ารูปศัพท์เดิม จึงนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่าคำที่บัญญัติขึ้นมา จึงเป็นเรื่องปกติที่ศัพท์บัญญัติที่ไม่เป็นที่นิยมก็จะหายไปเอง

 

ซึ่งในกรณีของ เมตาเวิร์ส หรือ จักรวาลนฤมิต นั้นเรายังคงต้องติดตามกันต่อไปว่าคำใดจะเป็นที่นิยมมากกว่ากัน แต่ถ้าถามความเห็นผู้เขียน เราคิดว่าด้วยอิทธิพลและกลยุทธการตลาดจากประเทศตะวันตก น่าจะทำให้ คำว่า เมตาเวิร์ส เป็นที่ได้ยินบ่อยกว่า จน เมตาเวิร์ส กลายเป็นคำพูดติดปากของคนไทย 

 

ราชบัณฑิตยสภา เคาะ Metaverse = \"จักรวาลนฤมิต\"

 

ที่มา : การประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย ราชบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564