ไลฟ์สไตล์

ตำนานสวนธรรม แหล่งต้นไม้ "แม่ชีศันสนีย์" ที่ไม่มีใครรู้กว่าจะมาถึงวันนี้

ตำนานสวนธรรม แหล่งต้นไม้ "แม่ชีศันสนีย์" ที่ไม่มีใครรู้กว่าจะมาถึงวันนี้

08 ธ.ค. 2564

ต้นไม้มีชีวิต อะไรที่เกี่ยวกับชีวิตต้องใช้ใจ "สวนธรรม" จึงเป็นป่าที่ปลูกด้วยมือในวันวาน ปัจจุบันเป็นป่าที่ปลูกใจคน

เสถียรธรรมสถาน, แม่ชีศันสนีย์, สวนธรรม, ต้นไกร

 

เสถียรธรรมสถาน, แม่ชีศันสนีย์, สวนธรรม, ต้นไกร

รู้จัก “สวนธรรม”.........จากผืนผืนป่านารกร้างย่านรามอินทราเมื่อกว่า 30 ปีก่อน ปัจจุบันพลิกฟื้นเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมท่ามกลางธรรมชาติอันร่มรื่น ปกคลุมด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่นับร้อยปี ที่เรียกกันว่า “สวนธรรม” ตั้งอยู่ภายใน “เสถียรธรรมสถาน” ซึ่ง "แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต" ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2530

 

เสถียรธรรมสถาน, แม่ชีศันสนีย์, สวนธรรม, ต้นไกร

 

"เสถียรธรรมสถาน" เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมะและธรรมชาติ เป็นแหล่งฝึกจิตฝึกใจของมนุษย์ไม่ให้อ่อนไหวตามกระแส ทุกๆ คนที่ได้เข้ามายัง “สวนธรรม” แห่งนี้จะสัมผัสได้ถึงความร่มเย็น เงียบ และสงบ คนที่รุ่มร้อนมากลับบ้านไปก็จะเย็นขึ้น คนที่ทุกข์มาก็เอาทุกข์มาทิ้งไว้ที่นี่กลับบ้านไปก็จะมีแต่สุข

 

เสถียรธรรมสถาน, แม่ชีศันสนีย์, สวนธรรม, ต้นไกร

 

แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต เคยเล่าให้ฟังว่า สวนธรรมแห่งนี้เป็นสวนที่รวมต้นไม้ใหญ่ที่โดนทิ้งและถูกปฏิเสธจากมนุษย์ แม่ชีศันสนีย์ จึงรับมารวบรวมดูแลรักษาไว้ จนเป็นที่มาของ “สวนธรรม” แห่งนี้

 

เสถียรธรรมสถาน, แม่ชีศันสนีย์, สวนธรรม, ต้นไกร

 

เสถียรธรรมสถาน, แม่ชีศันสนีย์, สวนธรรม, ต้นไกร

 

“วันที่เราเห็นต้นไม้ถูกปฏิเสธจากที่หนี่งเราก็ได้เรียนรู้จากสิ่งที่ถูกปฏิเสธ เราไม่ได้คิดว่าเราช่วยได้หรือไม่ได้ เก่งหรือไม่เก่ง เพียงแต่อยากจะบอกว่า การที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดในโลกใบนี้ถูกปฏิเสธ จะเกิดการเรียนรู้และเติบโตซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติ อย่างเช่น เมื่อต้นไม้ต้นหนึ่งไปอยู่ตรงที่ที่ถนนจะต้องตัดถนน ต้นไม้จึงถูกปฏิเสธ เราจึงอยากเข้าไปช่วย อย่างต้นไม้ที่เห็นในสวนธรรมแห่งนี้มาจากปราจีนบุรี ที่ถูกปฏิเสธจากการตัดถนน ตอนนั้นเรายังไม่รู้เลยว่าการที่เราจะช่วยต้นไม้สักต้นหนึ่ง จะต้องทำอย่างไรบ้าง เรารู้แค่อย่างเดียวคือมีใจที่อยากจะช่วยต้นไม้เหล่านั้นเท่านั้น พอมาถึงตอนนี้ต้นไม้ใหญ่ต้นแรกที่นำมาในวันนั้นกลายเป็นแลนด์มาร์คตั้งตระหง่านแผ่กิ่งก้านสาขาตรงทางเข้าของเสถียรธรรมสถานไปแล้ว

เสถียรธรรมสถาน, แม่ชีศันสนีย์, สวนธรรม, ต้นไกร

ต้นไม้ใหญ่ต้นแรก คือ “ต้นไกร” เป็นต้นที่ถูกเคลื่อนย้ายเข้ามาไว้ที่นี่โดยไม่รู้วิธี แต่มีใจที่อยากช่วยสิ่งหนึ่งที่ถูกปฏิเสธ และสิ่งนั้นไม่ยอมยืนตาย เราจะทำอย่างไรให้สิ่งนั้นเติบโตในสถานที่เหมาะสม เราใช้ต้นไกรต้นนี้เป็นครูในการเรียนรู้การเคลื่อนย้ายต้นไม้ใหญ่ เราเพียงแค่อยากช่วยและยอมรับกับการเรียนรู้ครั้งนี้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ต้องยอมรับกับสิ่งที่เกิดไป ไม่ได้คิดว่าเราเก่ง ไม่ได้คิดจ้างใคร ไม่ได้คิดเรื่องเงินที่ลงทุนไป แต่ใจที่คิดจะช่วย ซึ่งทำให้แม่ได้เรียนรู้ว่าต้นไม้ไม่ยอมยืนตาย ต้นไม้เมื่อเรานำมาตั้งมันจะพยายามแตกรากต่อยอดให้ออกซิเจนเป็นอะไรที่งดงามมาก ทำให้เรารู้ว่าไม่ว่าใครจะรดน้ำหรือไม่ ใครจะไม่สนใจ ปฏิเสธหรืออะไรก็ตาม ต้นไม้ก็ยังคงทำหน้าที่ให้ออกซิเจนต่อโลกต่อมนุษย์ต่อไปโดยไม่มีเงื่อนไข แม่เป็นคนรักต้นไม้ จากต้นแรกคือต้นไกร เรื่อยมาจนถึงต้นไทร ต้นลั่นทม จากการที่ต้องเช่ารถในการขนย้าย ปัจจุบันซื้อรถไว้ขนย้ายเองเลย แม่เชื่อว่าต้นไม้เป็นครูของเรา อย่างที่บอกว่า ต้นไม้ไม่ยอมยืนตายแต่คนนี่อะไรนิดอะไรหน่อยฆ่าตัวตายเลย ถูกปฏิเสธหน่อยก็เป๋เลยรากไม่แข็งแรง มนุษย์นี่แปลกมีธรรมชาติบางอย่างที่อ่อนแอคือถูกปฏิเสธไม่ได้ ทำอะไรที่ไม่เป็นที่ยอมรับก็จะไม่ทำ อายต้นไม้นะ” แม่ชีศันสนีย์เคยบอกไว้อย่างนั้น

เสถียรธรรมสถาน, แม่ชีศันสนีย์, สวนธรรม, ต้นไกร

 

แม่ชีศันสนีย์ เล่าต่อว่า สวนธรรมแห่งนี้ไม่มีการออกแบบบนกระดาษ แต่ใช้วิธีปลูกจากการสังเกต เรียนรู้จากต้นสู่ต้น โดยมีลูกศิษย์ที่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการปลูกและเรียนรู้ไปด้วยกัน

 

“ที่นี่เราจะไม่ปลูกต้นไม้ด้วยความอยากเพราะถ้าเราปลูกต้นไม้ด้วยความอยากปลูกต้นไม้จะเป็นภาระ ต้นไม้ที่ปลูกที่นี่จะไม่มีการขุดหลุม เราจะใช้วิธีนำไปวางยังที่ที่เราอยากให้ต้นไม้นั้นอยู่ จากนั้นเราจะขุดดินมาถมๆ จนเป็นเนินเล็กบ้างใหญ่บ้าง ที่สำคัญคือการค้ำยันต้นไม้ทุกต้นต้องค้ำยันเพื่อความปลอดภัย เหตุผลที่ไม่ขุดหลุมเพื่อปลูกต้นไม้นั้นเพราะว่าเราได้จากการสังเกตว่าทุกครั้งที่ขุดหลุมปลูก ต้นไม้ที่ปลูกมักจะไม่รอด เราจึงต้องเปลี่ยนวิธีมาใช้การวางเพื่อปลูกแทนนี่จึงเป็นที่มาของการค้ำยันและเนินดิน

 

เสถียรธรรมสถาน, แม่ชีศันสนีย์, สวนธรรม, ต้นไกร

 

สิ่งที่เรียนรู้จากต้นไม้อีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าคนที่ปลูกต้นไม้ไม่รักต้นไม้ ไม่เฝ้าสังเกต ไม่คอยดูแล และฟื้นฟูต้นไม้อย่างเหมาะสมต้นไม้ก็ไม่เติบโตสวยงาม การปลูกต้นไม้ไม่ใช่เรื่องของความสามารถ แต่มันเป็นเรื่องของการเอาใจใส่มากกว่า ลมหายใจเข้าของฉันคือความรักของต้นไม้ ลมหายใจออกของต้นไม้คือความรักของฉัน ฉันกับต้นไม้มีลมหายใจเดียวกัน จึงเป็นที่มาของบทเพลง “ดั่งดอกไม้บาน” ต้นไม้มีชีวิต อะไรที่เกี่ยวกับชีวิตต้องใช้ใจ ที่นี่จึงเป็นป่าที่ปลูกด้วยมือในวันวาน ปัจจุบันเป็นป่าที่ปลูกใจคน ในแต่ละวันแต่ละอาทิตย์ที่ผู้คนแวะเวียนผ่านเข้ามาที่นี่ มาเดินจงกลม ทำสมาธิ เป็นสวนธรรมที่ทุกคนเข้ามาเพื่อละการเป็นตัวตน เป็นสวนธรรมที่ทำให้ทุกคนที่ได้เข้ามาสัมผัสนั้นพ้นทุกข์ได้ ใช้เวลาในการนั่งไตร่ตรองสวนธรรมแห่งนี้ช่วยให้คนไม่ทำร้ายตัวเอง วันหนึ่งมีโยมมานั่งในสวนกำลังคิดจะทำร้ายตัวเองแล้วดอกลั่นทมตกมาจากต้นทำให้เขาเห็นว่าในโลกใบนี้ไม่มีอะไรที่ไม่ร่วง จึงทำให้เขาคิดได้ไม่ทำร้ายตัวเอง” แม่ชีศันสนีย์ให้ข้อคิด

 

ตำนานสวนธรรม แหล่งต้นไม้ \"แม่ชีศันสนีย์\" ที่ไม่มีใครรู้กว่าจะมาถึงวันนี้

 

นั่งฟังคุณแม่เล่าอย่างออกรสทุกแง่มุมที่ได้ยินมีคำสอนดึงสติ จริงอย่างที่แม่ว่า ทุกสิ่งอย่างที่เสถียรธรรมสถานมีที่มา มีเรื่องราวนอกจากสวนแล้วยังมีสิ่งก่อสร้างที่ทุกคนมองข้าม เห็นว่าเป็นแค่สะพานไม้เล็กๆ ในส่วนนี้ แม่ชีศันสนีย์ เล่าว่า สะพานไม้เล็กๆ นี้เป็นสิ่งก่อสร้างชิ้นแรกในสวนธรรม เป็นสะพานแห่งสติ สะพานที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อความสวยงามแต่เป็นสะพานที่สร้างมาเพื่อให้คนที่ก้าวข้ามนั้นมีสติ พิจารณาในทุกย่างก้าว เพราะในแต่ละช่วงที่ก้าวจะมีช่วงห่าง สูง ต่ำ ที่ไม่เท่ากัน ถ้าคุณไม่มีสติคุณก็จะก้าวพลาด

                 

แม้วันนี้ แม่ชีจะจากไปแล้ว แต่ต้นไม้และคำสอนของแม่ชี ยังคงอยู่ตลอดกาล...