ธปท. ชี้ อนาคตการใช้ "คริปโตเคอร์เรนซี" ช็อปปิ้งแทนเงินสด
ธปท. ชี้แนวทางการใช้ "คริปโตเคอร์เรนซี" จากกกระแสการลงทุนและครอบครอง "คริปโตเคอร์เรนซี" เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ สังเกตุได้จากข้อมูลความรู้ที่พบได้มากขึ้นบนโลกออนไลน์
ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการแจ้งเตือนเป็นระยะ และ ย้ำว่า ธปท. ไม่สนับสนุนการนำสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น คริปโตเคอร์เรนซี่ มาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ เนื่องจากราคาสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนสูง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ ความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน ที่จะส่งผลต่อร้านค้า ผู้ประกอบธุรกิจ รวมถึงประชาชนผู้ใช้บริการให้ได้รับความเสียหาย และอาจส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบการชำระเงิน เสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ และความเสียหายแก่สาธารณชนทั่วไปได้
อย่างไรก็ตาม ธปท. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังพิจารณารูปแบบการกำกับดูแลการให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วเพื่อจำกัดความเสี่ยงข้างต้น โดยจะยังให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบการชำระเงิน รวมถึงการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินโดยรวม
ล่าสุด ความเคลื่อนไหวจากภาคเอกชนที่ออกมา แถลงข่าวเปิดรับการนำ "สินทรัพย์ดิจิทัล" และเหรียญของไทยและต่างประเทศ สามารถมาชำระค่าสินค้าและบริการของตนเองได้ แม้จะรู้ดีว่าสินทรัพย์เหล่านี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ภาคเอกชนนี้รวมถึงผู้ประกอบการ โรงภาพยนตร์ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า และที่ชัดเจนที่สุดก็คือการประกาศของห้างใหญ่แห่งหนึ่งร่วมกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งเป็นเจ้าตลาดประกาศตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อจัดตั้ง "ชุมชนสินทรัพย์ดิจิทัล" และรับชำระสินค้าและบริการในห้างสรรพสินค้าในเครือ
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่น่าติดตามต่อไปว่า เมื่อธุรกิจที่เป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไปกำลังปรับตัวสู่การใช้ "สินทรัพย์ดิจิทัล" ในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการออกมาตรการการกำกับ ช่วยเหลือ และป้องกันประชาชนผู้ใช้บริการ "คริปโตเคอร์เรนซี" อย่างไรบ้าง เพราะต้องยอมรับว่าความนิยมและความเชื่อมันของ "คริปโตเคอร์เรนซี" ทุกวันนี้มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ที่มาข้อมูล :
ธนาคารแห่งประเทศไทย