ไลฟ์สไตล์

อันตรายจากการเสริมความงาม ที่เกิดจากการใช้ "ยาปลอม"

อันตรายจากการเสริมความงาม ที่เกิดจากการใช้ "ยาปลอม"

01 ม.ค. 2565

ปัญหาสำคัญในวงการความงามประเทศไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ “การใช้ของปลอม” รวมไปถึง ผลิตภัณฑ์ปลอม ยาปลอม เครื่องมือเครื่อง เลเซอร์ปลอม ไปจนถึง หมอปลอม

ปัจจุบันเรายังคงเห็นข่าวการเสริมความงามที่มีความผิดพลาดก่อให้เกิดผลเสียหลายอย่างทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทั้งเบาและรุนแรง บางรายอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น บางคนเสียโฉมถาวร บางคนเสียเงินแก้ไขได้แต่ก็ไม่เหมือนเดิม ยังไม่รวมเรื่องเสียเวลา และเสียสุขภาพจิต

 

อันตรายจากการเสริมความงาม ที่เกิดจากการใช้ \"ยาปลอม\"

 

ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาสำคัญในวงการความงามประเทศไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ “การใช้ของปลอม” หมายรวมไปถึงตั้งแต่ ผลิตภัณฑ์ปลอม ยาปลอม เครื่องมือเครื่อง เลเซอร์ปลอม ไปจนถึง หมอปลอม

 

โบทูลินั่มท็อกซิน, เสริมความงาม, โบท็อกซ์, ฟิลเลอร์, แพทย์หญิง ภคมน เดชส่งจรัส, Merz Aesthetics, Napassaree Clinic

 

แพทย์หญิง ภคมน เดชส่งจรัส แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความงามและเวชศาสตร์ชะลอวัย อาจารย์พิเศษประจำบริษัท Merz Aesthetics และ CEO Napassaree Clinic กล่าวถึงอันตรายจากการใช้ยาปลอมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โบทูลินั่มท็อกซินปลอมว่า จริงๆ แล้วโบทูลินั่มท็อกซิน เป็นยาที่มีมานาน เริ่มใช้ในมนุษย์มาตั้งแต่ปี1980 เพื่อรักษาอาการตาเหล่ (blepharospasm) และตาบิดเกร็ง (Strabismus) โดยโบทูลินั่มท็อกซินมีหน้าที่ยับยั้งการหลั่งของสารสื่อประสาททำให้กล้ามเนื้อที่หดตัวมากเกินไปเกิดการคลายตัว จนเมื่อปี 1987 ได้เริ่มมีการนำมาฉีดเพื่อความงามเป็นครั้งแรก ใช้ฉีดลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ทำให้ริ้วรอยลดลง จึงมีการใช้กันในด้านความงามอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน

 

อันตรายจากการเสริมความงาม ที่เกิดจากการใช้ \"ยาปลอม\"

 

เหมือนที่หมอกล่าวไปในย่อหน้าข้างบน ว่าโบทูลินั่มท็อกซินยับยั้ง การทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวินิจฉัยมัดกล้ามเนื้อที่เราต้องการฉีดให้ถูกต้อง รู้ลักษณะกายวิภาค (Anatomy)ของกล้ามเนื้อ และประเมินจำนวนยูนิตของยาที่จะใช้ให้เหมาะสม เฉกเช่นเดียวกับยาทุกตัวที่ต้องรู้ข้อบ่งชี้ รู้วิธีการใช้และโดสยาที่เหมาะสม หากมีการใช้โดสสูงเกินไปย่อมก่อให้เกิดอันตรายได้

 

เหมือนที่หมอกล่าวไปในย่อหน้าข้างบน ว่าโบทูลินั่มท็อกซินยับยั้ง การทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวินิจฉัยมัดกล้ามเนื้อที่เราต้องการฉีดให้ถูกต้อง รู้ลักษณะกายวิภาค (Anatomy) ของกล้ามเนื้อ และประเมินจำนวนยูนิตของยาที่จะใช้ให้เหมาะสม เช่นเดียวกับยาทุกตัวที่ต้องรู้ข้อบ่งชี้ รู้วิธีการใช้และโดสยาที่เหมาะสม หากมีการใช้โดสสูงเกินไปย่อมก่อให้เกิดอันตรายได้

 

อันตรายจากการเสริมความงาม ที่เกิดจากการใช้ \"ยาปลอม\"

 

ในส่วนของโบทูนั่มท็อกซินปลอม หรือที่เรียกกันว่าโบท็อกซ์ปลอม ปัญหานั้นมีอยู่หลายเรื่อง เรื่องแรกคือ

  1. ตัวยาที่บรรจุในขวดอาจไม่ใช่โบทูลินั่มท็อกซิน แต่เป็นอย่างอื่นทำให้ฉีดแล้วอาจไม่เห็นผล
  2. ก่อให้เกิดอาการแพ้หรือกระตุ้นให้เกิดการดื้อยาได้ง่าย 
  3. อาจมีจำนวนของยาที่ไม่ตรงตามที่ฉลากระบุ โดยมีทั้งจำนวนยาไม่ถึงทำให้ไม่เห็นผล หรืออาจมีจำนวนยาเกินไปมากจนทำให้overdose ส่งผลให้ตาตก มุมปากตก หรือหน้าดูแข็ง(look Frozen)ได้
  4. ตัวยาปลอมเมื่อฉีดเข้าไปแล้วกระจายไปยังจุดอื่นได้ง่ายส่งทำให้ส่งผลไปยังกล้ามเนื้อมัดอื่นๆที่เราไม่ได้ต้องการจะฉีดไปโดน อาจะทำให้ตาตก มุมปากตกได้อีกเช่นกัน

 

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอันไหนยาแท้ - อันไหนยาปลอม

 

ก่อนอื่นเราต้องรู้ข้อนึงก่อนว่าโบทูลินั่มท็อกซิน หรือ ฟิลเลอร์นั้นไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านที่ซื้อขายกันได้โดยง่าย ต้องถูกใช้โดยแพทย์เท่านั้น ดังนั้นบริษัทยาผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการจะจำหน่ายให้กับโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องเท่านั้น คนทั่วไป ร้านค้า หรือ ร้านขายยา ไม่สามารถซื้อหรือจำหน่ายได้ และเราไม่สามารถหาซื้อจากประเทศต้นทาง และหิ้วข้ามประเทศมาได้

 

อันตรายจากการเสริมความงาม ที่เกิดจากการใช้ \"ยาปลอม\"

 

ดังนั้นหากพบเห็นมีโบท็อกซ์หรือฟิลเลอร์ขายอยู่ตามช่องทางต่างๆ ที่ไม่ใช่คลินิก หรือ รพ. เช่น ขายในเวบไซด์ หรือตามแอพพลิเคชั่นขายสินค้าออนไลน์ ให้ตีไว้ก่อนเลยว่าเป็นยาปลอม ต่อมาให้ดูที่บรรจุภัณฑ์ ตัวกล่องเดี๋ยวนี้มักมี QR code ให้สแกนว่าเป็นยาแท้หรือปลอม

 

นอกจากนี้เรายังสามารถติดต่อทางบริษัทจัดจำหน่ายเพื่อสอบถามได้ว่า ยาล็อตนี้ที่มีเลขล็อตอยู่บนกล่องเลขนี้หรือคลินิกนี้ใช้ยาจากบริษัทจริงหรือไม่ นอกจากนี้ควรตรวจสอบรายละเอียดว่าคลินิกที่เราใช้บริการมีเลขที่ใบอนุญาตถูกต้อง มีแพทย์ตัวจริงเป็นคนให้การรักษาซึ่งสามารถเช็คได้ทางเวบแพทยสภาโดยตรง นอกจากนี้ราคาค่ารักษาหรือค่าบริการก็ยังเป็นอีกตัวชี้วัดคร่าวๆ ได้เช่นกัน หากบริการใดตั้งราคาต่ำจนไม่น่าเป็นไปได้ ให้พิจารณาไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นยาปลอม ปริมาณยาที่ได้ไม่ครบถ้วน เครื่องปลอม หรืออาจเป็นหมอปลอมก็เป็นได้ ซึ่งถ้าเราเสียเงินในราคาถูก แต่ต้องเจอกับสิ่งเหล่านี้ ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะไม่คุ้มเสีย และอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงเกินกว่าที่เราจะคาดคิดได้อีกด้วย