ประวัติ "ชุดกี่เพ้า" ทำไมจึงต้องใส่ชุดนี้ใน "วันตรุษจีน"
"ชุดกี่เพ้า" ชุดกระโปรงยาวสีแดง ทรงเข้ารูป นอกจากจะเป็นชุดที่คนไทยเชื้อสายจีนใส่เป็นชุดเจ้าสาวแล้วยังเป็นสัญลักษณ์ที่บอกว่าถึงช่วงเทศกาลตรุษจีนแล้วด้วย
เนื่องจากชุดกี่เพ้าเป็นชุดประจำชาติจีน ดังนั้นในชวงเทศกาลตรุษจีน (ปีใหม่จีน)
ชุดกี่เพ้าเป็นทรงแบบนี้มาตั้งแต่แรกหรือเปล่า
กี่เพ้า ภาษาจีนเรียกว่า ฉีผาว แปลว่า ชุดเสื้อคลุมยาวชินเดียว
ชุดกี่เพ้าเกิดขึ้นในสมัยการปกครองของราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) หรือสมัยที่ชาวแมนจูเป็นใหญ่ในประเทศจีนทำให้ชาวแมนจูเป็นผู้มีอิทธฺพลในสมัยนั้น และพวกเขาได้ออกกฏหมายให้ผู้หญิงชาวแมนจูใส่ "ชุดกี่เพ้า" เป็นชุดใส่ทั่วไปในชีวิตประจำวันทำให้สมัยก่อน "ชุดกี่เพ้า" ได้ชื่อว่าเป็นชุดของคนชนชั้นสูง แต่เดิมทรงของชุดกี่เพ้าจะไม่ใช่อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ แต่จะเป็นชุดทรงกว้าง ใส่หลวม ๆ คลุมทั้งตั้วผู้หญิงเหลือไว้เพียงหัว มือ และ เท้า เท่านั้น แต่ก็ค่อย ๆ ถูกผสานเข้ากับทรงของชาวฮั่น (ชาวจีนท้องถิ่น) รวมถึงทรงของโลกตะวันตกทำให้ทรงชุดกี่เพ้าเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
สีของ"ชุดกี่เพ้า" นั้นมักเป็นสีแดงสด สีเขียวสด สีฟ้าสด โดยตัดกับสีแดงและดำ ซึ่งยังเป็นสีที่นิยมมาถึงปัจจุบัน ส่วนลวดลายบนชุดกี่เพ้ามาจากการปักลวดลาย ทั้งภาพดอกไม้ นก ลายมังกร หรือภาพอื่น ๆ มีความละเอียดละออและละเมียดละไมและได้สะท้อนถึงศิลปะวัฒนธรรมจีนหลายแขนงเอาไว้ด้วยกัน ชุดกี่เพ้าได้รับความนิยมจากคนเมืองมากขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1920 จนได้กลายเป็นชุดแฟชั่นแห่งยุคสมัย ภายหลังเมื่อชาวตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาททางการค้ากับประเทศจีนชุดกี่เพ้าได้ถูกดัดแปลงไปเพื่อให้เข้ากับลักษณะเด่นของชุดแบบตะวันตก ไม่ว่าจะเป็น ทรงโค้งเว้า ชุดกี่เพ้าทั้งแบบสั้นแบบยาว การปรับปรุงคอปกและเนื้อผ้าแบบต่าง ๆ ให้หลากหลาย ใส่สบาย ดูเป็นแฟชั่นมากขึ้น
สรุป
เทศกาลตรุษจีนปี 2656 นี้ถือว่าจัดยิ่งใหญ่กันอีกเช่นเคยด้วยปริมาณประชากรเชื้อสายจีนในไทยจำนวนมาก ทำให้ไม่ว่าเราจะอยู่ในโลกออนไลน์หรือออฟไลน์ก็จะเห็นคนใส่ "ชุดกี่เพ้า" ตลอด ผู้คนนิยมใส่ชุดกี่เพ้าเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศและเพิ่มความสวยงามให้กับเทศกาลมากยิ่งขึ้นเพราะการใส่ชุดกี่เพ้านั้นเป็นชุดประจำชาติ การใส่จึงแสดงถึงการ เชิดชู ให้เกียรติ เฉลิมฉลองวันปีใหม่จีนนั่นเอง