รู้จัก "ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย" ภาวะที่เด็กอาจหยุดสูงเร็วกว่าปกติ
14 ม.ค. 2565
ในปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่มักจะได้ยินเรื่อง "ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย" กันมากขึ้น แต่จะมีวิธีสังเกตุภาวะหนุ่มสาวก่อนวัยได้อย่างไร
เด็กผู้หญิง จะเรียกว่าสาวก่อนวัยก็ต่อเมื่อ
- สูงเร็วกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน
- มีตกขาวหรือประจำเดือนมาก่อนอายุ 9 ปีครึ่ง
- เริ่มคลำเต้านมได้เป็นไตเล็ก ๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร
- ถ้าเห็นเป็นเต้าชัดเจนเป็นไปได้ว่าอาจเริ่มมานานก่อนหน้านั้นแล้ว
- การมีประจำเดือนก็เป็นสิ่งบ่งบอกว่าเด็กเข้าวัยสาวมานานแล้วเช่นกัน
- มีสิว หน้ามัน กลิ่นตัว ขนรักแร้ ขนที่อวัยวะเพศเกิดขึ้นก่อนอายุ 8 ปี
เด็กผู้ชาย จะเรียกว่าสาวก่อนวัยก็ต่อเมื่อ
- เมื่อเด็กชายมีการเพิ่มขนาดของลูกอัณฑะก่อนอายุ 9 ขวบ ซึ่งอาจสังเกตเองได้ยาก ส่วนที่สังเกตได้ง่ายกว่า แต่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น
- การเพิ่มขนาดขององคชาติ
- การมีกลิ่นตัว
- เสียงแตก
- สิว หน้ามัน
- ขนหัวหน่าวขึ้น
- สูงเร็วกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน
(อย่างไรก็ตามสัญญาณเหล่านี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นภายหลังหรือบ่งบอกว่าเข้าเป็นหนุ่มมาระยะหนึ่งแล้ว)
ผลเสียของภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย
- เกิดการเชื่อมปิดของกระดูกเร็วไป ทำให้หยุดสูงเร็ว ความสูงสุดท้ายเตี้ยกว่าศักยภาพทางพันธุกรรม
(ไม่ได้แปลว่าลูกจะมีความสูงต่ำกว่ามาตรฐาน แต่หากพบสัญญาณเตือนการเข้าสู่ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย ควรไปให้แพทย์ช่วยประเมินให้แน่ใจก่อนว่าเข้าข่ายที่จะไม่กระทบความสูงสุดท้าย เพราะการรักษาล่าช้าอาจทำให้เด็กเสียโอกาสที่จะสูงต่อได้)
- ส่งผลกระทบต่อจิตใจ จิตตกก เกิดภาวะซึมเศร้า ถูกเพื่อนล้อ เพราะนอกจากฮอร์โมนเพศจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสรีระแล้ว ยังมีผลต่อสภาพจิตใจอีกด้วย
- วุฒิภาวะที่ยังไม่พร้อมอาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตัวเองได้ทั้งเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย
ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยสามารถจำแนกตามสาเหตุได้เป็น 2 ชนิด
- การเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยชนิดพึ่งโกนาโดโทรปินส์ หมายถึง ภาวะที่ต่อมใต้สมองมีการทำงานก่อนวัยอันควร สร้างฮอร์โมนโกนาโดโทรปินส์มากขึ้น ซึ่งในเด็กหญิงจะไปกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนเพศหญิง และในเด็กชายจะไปกระตุ้นให้อัณฑะสร้างฮอร์โมนเพศชาย ทำให้เกิดภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย โดยภาวะนี้อาจเกิดพยาธิสภาพในสมอง เช่น เนื้องอกหรือซิสต์ในสมอง ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ เป็นต้น
- การเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยชนิดไม่พึ่ง gonadotropin หมายถึงภาวะที่อวัยวะส่วนปลาย เช่น รังไข่ในเด็กหญิง อัณฑะในเด็กชาย หรือต่อมหมวกไต ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศ และหมายรวมถึงผู้ป่วยที่เกิดการพัฒนาของลักษณะทางเพศทุติยภูมิจากการสัมผัสถูกฮอร์โมนเพศจากภายนอก