ที่มา "พญานาค" ตามความเชื่อในศาสนาพุทธ และ ศาสนาพราหมณ์
โดยทั่วไปผู้คนเชื่อว่า "พญานาค" เป็นสัตว์กึ่งเทพ มีอิทธิฤทธิ์ สามารถเนรมิตเป็นมนุษย์ชายและหญิงได้ ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งสายน้ำ เป็นผู้พิทักษ์รักษาและเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์
ความเชื่อแบบพุทธ เมื่อดีตหลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับบ้าเพ็ญเพียร ณ ร่มไม้จิกทางตะวันออกของของพระมหาโพธิพฤกษ์เป็น เวลา 7 วัน ในช่วงเวลานั้นได้มีฝนตกลงมาไม่ขาดสาย พญามุจลินทร์นาคราช จึงได้ออกจากใต้พิภพมาท้าขนด ล้อมรอบพระวรกายของพระพุทธเจ้า 7 ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เนื่องจากไม่ประสงค์จะให้ฝน ลมหนาวและสัตว์ร้ายต้องพระวรกาย เมื่อฝนหยุด พญามุจลินทร์นาคราชจึงคลายขนดออกและปลงร่างเป็นชายหนุ่ม ยืนพนมมือนมัสการพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้เองเป็นที่มาของการสร้าง พระพุทธรูปปางนาคปรก
ความเชื่อแบบพราหมณ์ เชื่อเรื่องพญานาคว่า พญานาคเป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ ซึ่งมีชื่อว่า "พญาอนันตนาคราช" เป็นต้นกำเนิดของนารายณ์บรรทมสินธุ์
แต่ยังอีกตำนานหนึ่งที่กล่าวถึงกษัตริย์ นาคาอันยิ่งใหญ่อีกองค์หนึ่งที่มีชื่อว่า "วาสุกรี" เป็นบุตรของพระกัศยปมุนีและนางกัทรุ และเป็นพี่น้องกับ พญา อนันตนาคราช (พญานาคราชคู่บารมีของพระวิษณุ) พญาวาสุกรีเป็นนาคราชที่พระศิวะใช้เป็นสายธนูในการทำลาย ล้างเมืองตรีปุระ ในตำนานที่พระศิวะปราบตรีปุราสูร มีบางตำนานกล่าวว่างูที่พันรอบพระศอขององค์พระศิวะก็คือ วาสุกรีนาคราช ในอินเดียตอนเหนือมีการนับถือพญาวาสุกรีเป็นอย่างมากในฐานะเทพเจ้าองค์หนึ่ง ในพิธีนาค "ปัญจมี" ซึ่งเป็นพิธีบูชางูของอินเดีย ก็จะมีการบูชา พญาวาสุกรี ร่วมด้วยแต่ต้านานที่ท้าให้พญาวาสุกรีเป็นที่รู้จักอย่าง แพร่หลาย ได้แก่ ตำนานกวนเกษียรสมุทร ซึ่งเป็นตำนานยิ่งใหญ่ที่อยู่ในมหากาพย์มหาภารตะของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
การเก็บข้อมูลความเชื่อนี้ได้มาจาก จ.มุกดาหาร ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนที่มีอาณาเขตติดกับ "แม่น้ำโขง"
ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่นำ้โขงเชื่อและนับถือพญานาค เห็นได้จากการของพญานาคได้ปรากฏในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ผ่านสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น บนงานสถาปัตยกรรมวัดวาอาราม ในแหล่งท่องเที่ยวหรือสถานที่สำคัญในจังหวัด เป็นโดยแต่ละสถานที่จะเริ่มต้นจากการนำเสนอเรื่องราวอย่างน่าสนใจ ผ่านการจัดวางสถานที่ บรรยากาศ ภาพที่จำลองผูกโยงเรื่องราวต่าง ๆ รวมถึงการแสดงที่เชื่อมโยงความเชื่อพญานาคระหว่างพุทธและพราหมณ์อีกด้วย บทความนี้จึงมุ่งอธิบายถึงความเหมือนและความแตกต่างของความเชื่อเรื่องพญานาค ระหว่างความเชื่อแบบพุทธและพราหมณ์ที่โดยใช้ข้อมูลจาก จ. มุกดาหาร
แม้ว่าพุทธและพราหมณ์จะมีต้านานความเชื่อที่มีความเป็นมาแตกต่างกัน แต่พบว่าในลักษณะการบูชา หรือพิธีบวงสรวงพญานาคของพุทธและพราหมณ์ มีเชื่อมโยงความเชื่อคล้ายคลึงกัน มีพิธีกรรมทั้งพุทธ และ พราหมณ์ปะปนกันอยู่
ที่มาข้อมูล : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น