ไลฟ์สไตล์

เพราะ "แก้ปัญหาจราจร" ที่ปลายเหตุ ไทยจึงไม่ปลอดภัยแบบ นอร์เวย์ และ ญี่ปุ่น

เพราะ "แก้ปัญหาจราจร" ที่ปลายเหตุ ไทยจึงไม่ปลอดภัยแบบ นอร์เวย์ และ ญี่ปุ่น

28 ม.ค. 2565

กว่า 30 ปีที่ "ปัญหาจราจร" และอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในไทยยังคาราคาซัง และแก้ปัญหาได้ไม่ขาดสักที

กรณี "หมอกระต่าย" ได้ทำให้สังคมเราได้เห็นปัญหาการข้ามทางม้าลายและปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนภาพรวมในประเทศชัดมากยิ่งขึ้น  คือ เราไม่สามารถ "แก้ปัญหาจราจร" ได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ 30 กว่าปีผ่านไป ในขณะที่ประเทศนอร์เวย์ และ ประเทศญี่ปุ่นสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้กว่า 60% ในระยะเวลา19 ปี บทความนี้จึงจะมาไปถอดสูตรความสำเร็จว่าสองประเทศนี้มีวิธีการอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศไทยควรจะทำตามเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตลง


                  

ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2530 ไทยได้รับการจัดอันดับว่าเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในโลก และมาถึงวันนี้ พ.ศ. 2565  ผ่านไปกว่า 30 ปี อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในไทยก็ยังคงอยู่ในอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งสะท้อนความพยายามการ "แก้ปัญหาจราจร" ของไทยเป็นอย่างดี ในขณะเดียวกัน นอร์เวย์ และญี่ปุ่น ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ถนนและการจราจรปลอดภัยที่สุดเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลกตามลำดับ ภายในระยะเวลาประมาณ 19 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2543- พ.ศ. 2562 สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ 68% และ 62% 

 

ประเทศนอร์เวย์
จากการรายงานของงานวิจัย 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้นอร์เวย์สามารถ "แก้ปัญหาจราจร" และลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุลงได้ 1. จากเทคโนโลยีความปลอดภัยบนรถยนต์ถูกพัฒนาและเข้าหาตลาดนอร์เวย์มากขึ้น 2. อัตราความเร็วเฉลี่ยในการขับรถลดลง ส่วนปัจจัยอื่น ๆ  เช่น อายุของประชากรที่มากขึ้นซึ่งส่งผลต่อวุฒิภาวะในการขับรถที่มากขึ้น ทางกั้นบนทางด่วนที่สูงขึ้น และกล้องดักจับความเร็วที่ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

 

นอกจากนี้ นโยบายพิเศษในการลดอุบัติเหตุทำโดยการ การบริหารเงิน ซึ่งงบประมาณการ "แก้ปัญหาจราจร" จะถูกจัดเงินไปให้กลุ่มที่เป็นปัญหาหลัก คือ กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ เพื่อให้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

 

 

ประเทศญี่ปุ่น
แม้วันนี้ญี่ปุ่นจะขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีอุบัติเหตุท้องถนนน้อยสุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ช่วงปี พ.ศ. 2493 - 2513 ญี่ปุ่นเองต้องเผชิญกับตัวเลขการเพิ่มขึ้นของอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นอย่างมาก ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องปรับระบบการบริหารการอย่างจริงจัง นำไปสู่การ "แก้ปัญหาจราจร" โดยออก พ.ร.บ.ความปลอดภัยการจราจรปี 2513 

 

ภายใต้ พ.ร.บ.ความปลอดภัยการจราจรปี 2513  รัฐบาลญี่ปุ่นได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น และ หน่วยงานเอกชนอย่างจริงจัง จนการดำเนินงานผลิดอกออกผลใน พ.ศ. 2543 ที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผลมาจากฎหมายบังคับการคาดเข็มขัดนิรภัยภายในประเทศที่มากขึ้น ระบบความปลอดภัยของรถยนต์ ที่มีประสิทธิภาพขึ้น และ การพัฒนาสภาพแวดล้อมการจราจร เช่น การทาสีถนนใหม่ การเพิ่มกล้องดักจับความเร็วและฝ่าไฟแดง และการปลูกฝังจิตสำนึกในเด็กนักเรียน เป็นต้น

 

บทสรุปประเทศไทย

ความพยายามที่เห็นได้ชัดใน"แก้ปัญหาจราจร" และลดการเสียชีวิตบนท้องถนนจากสองประเทศ คือ ความตระหนักถึงปัญหา และการมุ่งแก้ปัญหาอย่างอย่างจริงจังและตรงจุดผ่านการออกนโบบายที่สอดคล้องกับปัญหา นอร์เวย์ได้จัดงบประมาณไปแก้ที่สาเหตุหลักของปัญหา คือกลุ่มเด็ก และ ผู้สูงอายุ ส่วนญีปุ่นมีการออกการจราจร พ.ร.บ.และนำไปบังคับใช้อย่างจริงจังจนตัวเลขการเสียชีวิตลดลง แต่ในประเทศไทย กลับมีรายงานว่า เราเน้นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เมื่อมีอุบัติเหตุก็แก้ปัญหาที จึงเป็นแนวทางที่ไม่ยั่งยืนซึ่งสะท้อนผ่าน 30 ปี ที่เรายังครองอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศที่การจราจรอันตรายที่สุดในโลก 

 

เพราะ \"แก้ปัญหาจราจร\" ที่ปลายเหตุ ไทยจึงไม่ปลอดภัยแบบ นอร์เวย์ และ ญี่ปุ่น

 

ที่มาข้อมูล : 
https://www.oecd.org/countries/thailand/36053654.pdf
https://www.itf-oecd.org/sites/default/files/japan-road-safety.pdf
https://www.itf-oecd.org/sites/default/files/norway-road-safety.pdf