ไลฟ์สไตล์

ไขข้อข้องใจ "ฝังยาคุมกำเนิด" แล้วไม่มีประจำเดือนจริงหรือ?

ไขข้อข้องใจ "ฝังยาคุมกำเนิด" แล้วไม่มีประจำเดือนจริงหรือ?

01 มี.ค. 2565

"การฝังยาคุมกำเนิด" คืออะไร มีวิธีการอย่างไร และเมื่อฝังยาคุมแล้วไม่มีประจำเดือนจริงหรือ อ่านตรงนี้มีคำตอบ

จากกรณีการเสียชีวิตของนักแสดงสาว "แตงโม นิดา" เนื่องจากอุบัติเหตุพลัดตกเรือสปีดโบ๊ทกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงใต้สะพานพระราม 7 ใกล้ท่าเรือพิบูลสงคราม หลายคนได้ออกมาตั้งข้อสงสัยมากมาย โดยมองว่าเรื่องราวค่อนข้างจะไม่ชอบมาพากล

 

โดยล่าสุดในรายการ คุยแซ่บShow ได้มีการเชิญเพื่อนๆ ของแตงโมมาร่วมในรายการ โดย “โม อมีนา” น้องสาวคนสนิทในวงการได้ให้สัมภาษณ์ว่า ส่วนตัวพวกเพื่อนๆ ตัดเรื่องการปัสสาวะหลังเรือออกไปเลย เพราะท้ายเรือที่ใบพัด พี่เราต้องโดนปั่นทั้งร่างไปแล้ว ส่วนประเด็นที่ 2 พี่แตงโม ฝังยาคุมที่แขน มีประจำเดือนอะไรก่อน ? ซึ่งพิธีกร (หนิง ปณิตา และพีเค ) ก็ถามย้ำว่า งั้นก็มีประจำเดือนไม่ได้สิ “โม อ มีนา” ก็พยักหน้าตอบ…จากตรงนี้จึงเกิดเป็นความสงสัยของหลายคนว่า “การฝังยาคุมกำเนิด” คืออะไร มีวิธีการอย่างไร และเมื่อฝังยาคุมแล้วไม่มีประจำเดือนจริงหรือ?

 

การฝังยาคุมกำเนิดคืออะไร

 

การฝังยาคุม คือการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยใช้ฮอร์โมนเดี่ยวบรรจุไว้ภายในแท่งพลาสติก แล้วนำไปฝังที่ใต้ท้องแขน เมื่อตัวฮอร์โมนทำปฏิริยากับร่างกาย ก็จะทำให้ไม่มีการตกไข่ ซึ่งจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้

 

ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด

 

  • ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงมาก ประมาณ 1/200 คน ที่เกิดอัตราล้มเหลว
  • เป็นวิธีที่มีความสะดวก ฝังครั้งเดียวสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี
  • มีอาการข้างเคียงน้อย
  • สามารถเลิกใช้เมื่อใดก็ได้ เมื่อต้องการจะมีบุตรหรือเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น
  • หลังจากถอดออกจะสามารถมีลูกได้เร็วกว่าการฉีดยาคุมกำเนิด 90% ตกไข่ใน 1 เดือน
  • ยาฝังคุมกำเนิดยังช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ลดภาวะประจำเดือนมามาก

 

 

 

ข้อเสียของการฝังยาคุมกำเนิด

 

  • การฝัง หรือการถอดยาคุมจะต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถใส่หรือถอดเองได้
  • ประจำเดือนจะมาแบบกะปริดกะปรอย ซึ่งอาจทำให้เป็นปัญหาของหลาย ๆ คน แต่เมื่อผ่านระยะ 1 ปีไปแล้ว ปัญหาแบบนี้ก็จะลดลง
  • อาจพบภาวะแทรกซ้อนจากการฝังยาคมได้ เช่น มีก้อนเลือดคลั่งบริเวณที่กรีด
  • อาจพบตำแหน่งแท่งยาที่แตกต่างไปจากเดิม แต่กรณีแบบนี้พบได้น้อย

 

ผลข้างเคียงของการฝั่งยาคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง

 

  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มาแบบกะปริดกะปรอย หรือมีตกขาวมาก บางรายอาจมีประจำเดือนติดต่อกันหลายวัน หรือในบางรายอาจจะไม่มีประจำเดือนเลย
  • ในบางรายมีอาการปวดท้องประจำเดือน ในช่วง 2 - 3 เดือนแรก
  • มีอาการปวดแขนบริเวณที่ฝังยาคุม
  • แผลที่ฝั่งยาคุมอาจเกิดรอยแผลเป็นหรือเกิดอาการอักเสบได้
  • มีอารมณ์แปรปรวน เจ็บเต้านม
  • มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
  • เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดต่ำ

 

ผู้ที่เหมาะจะใช้ยาฝังคุมกำเนิด

 

  • ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและคุมกำเนิดได้ในระยะยาว
  • ผู้ที่ต้องการเว้นช่วงการมีบุตรอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน

 

ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาฝังคุมกำเนิด

 

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือ สงสัยว่าตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด หรือ กำลังได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน
  • ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือตามอวัยวะเพศต่างๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของตับ หรือ กำลังเป็นโรคตับอักเสบ

 

ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลนครธน /  https://th.theasianparent.com