ไลฟ์สไตล์

รู้ลึกถึงสาเหตุ อาการ และต้องรับมืออย่างไร เมื่อ "โรคเกาต์" ถามหา

รู้ลึกถึงสาเหตุ อาการ และต้องรับมืออย่างไร เมื่อ "โรคเกาต์" ถามหา

12 เม.ย. 2565

หลายคนคงได้ยินชื่อโรคนี้กันมาจนคุ้นหู แต่บางท่านอาจยังไม่รู้ว่า “โรคเกาต์” เกิดจากสาเหตุอะไร อาการเป็นอย่างไร และต้องรักษาด้วยวิธีใดบ้าง วันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ มีคำตอบมาฝากกันค่ะ

จากอาการป่วยของ “เควิน โปงลางสะออน” ที่เผชิญ “โรคเกาต์” แต่ดื้อไม่ยอมไปรักษา ปล่อยให้อาการเรื้อรัง จนร่างกายซูบผอม เป็นแผลตามตัว ถึงขนาดนอนติดเตียงลุกไม่ได้ ก่อนที่จะยอมรับความช่วยเหลือ เข้ารักษาทางการแพทย์ในเวลาต่อมา

รู้ลึกถึงสาเหตุ อาการ และต้องรับมืออย่างไร เมื่อ \"โรคเกาต์\" ถามหา

 

หลายคนคงได้ยินชื่อโรคนี้กันมาจนคุ้นหู แต่บางท่านอาจยังไม่รู้ว่า “โรคเกาต์” เกิดจากสาเหตุอะไร อาการเป็นอย่างไร และต้องรักษาด้วยวิธีใดบ้าง วันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ มีคำตอบมาฝากกันค่ะ

 

“โรคเกาต์” เกิดจากอะไร

 

“โรคเกาต์” เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ร่วมกับมีอาการที่เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริก ในรูปแบบผลึกยูเรตในข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของข้อหรือเนื้อเยื่อรอบข้อ หรือเกิดปุ่มก้อนของผลึกยูเรตภายในข้อและใต้ชั้นผิวหนังรอบๆ ข้อ ถ้าเป็นมากทำให้เกิดนิ่วในไตร่วมด้วย

 

อาการของ“โรคเกาต์”

 

  • ปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ซึ่งเป็นข้อที่พบบ่อยสุด โดยมากปวดข้อเดียวแต่ก็ปวดหลายข้อได้
  • อาการของเกาต์ปวดเป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรัง
  • ข้อที่ปวดเกาต์พบได้ทุกข้อ แต่พบมากข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้ว และข้อศอก
  • พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  • ในรายที่เป็นเกาต์มานานอาจพบนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • มักปวดตอนกลางคืน อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ มักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่ การรับประทานอาหารที่มียูริกสูง ดื่มสุรา หรือความเครียด

 

** ข้อที่พบการอักเสบของเกาต์ได้บ่อย ได้แก่ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ และข้อศอกเรียงตามลำดับ พบว่าข้อที่เป็นจะบวม แดง กดเจ็บ ในรายที่เป็นเรื้อรังจะมีการรวมตัวของกรดยูริกเกิดเป็นก้อนที่ข้อ

 

อาหารสำหรับผู้ป่วย“โรคเกาต์”

 

กรดยูริกที่เป็นตัวการทำให้ข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ เกิดมาจาก “สารพิวรีน” ทั้งที่มีอยู่ในร่างกายและที่มีในอาหารที่รับประทานเข้าไป การกำจัดอาหารจะช่วยควบคุมได้ แต่กรดยูริกที่เกิดจากสารพิวรีนที่ได้มาจากอาหารที่รับประทานเท่านั้น อาหารที่รับประทานสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามปริมาณของสารพิวรีนในอาหาร

 

1.อาหารที่มีสารพิวรีนมาก ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรงดเว้นหรือหลีกเลี่ยง

 

ตับ น้ำต้มเนื้อ น้ำเกาเหลา ไต น้ำสกัดจากเนื้อเข้มข้น ปลาไส้ตัน น้ำปลาและกะปิจากปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ยีสต์และอาหารหมักจากยีสต์ เช่น เบียร์     หอยเซลล์ ปลาทู ปลารัง เนื้อไก่ เป็ด นก ไข่ปลา

 

2.อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง ผู้ป่วยโรคเกาต์ทานได้ในปริมาณจำกัด

 

เนื้อวัว กระเพาะ ผ้าขี้ริ้ว เอ็น เนื้อหมู เนื้อปลา ปู กุ้ง หอย ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ผัก หน่อไม้ฝรั่ง ผักขม เห็ด ดอกกะหล่ำ ชะอม กระถิน

 

3.อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย หรือเกือบไม่มีเลย ผู้ป่วยโรคเกาต์ทานได้โดยไม่แสลง

 

ข้าว ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยวทุกชนิด วุ้นเส้น บะหมี่ เส้นหมี่ ขนมปังปอนด์ มักกะโรนี ข้าวโพด แคร็กเกอร์สีขาว ไข่ นมและผลิตผลจากนม (เนยแข็ง ไอศกรีม) น้ำมันพืช กะทิ เนย น้ำมันหมู ผัก ผลไม้ทุกชนิด เกาลัด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ขนมหวานต่างๆ ทองหยิบ ทองหยอด ฝองทอง เค้ก คุกกี้ เครื่องดื่ม กาแฟ ชา โกโก้  ช็อกโกแลต

 

การรักษา “โรคเกาต์” ช่วงที่มีข้ออักเสบ

 

  • ในช่วงที่มีอาการปวดอาจจะรับประทานยาแก้ปวด Paracetamol หรือยาแก้ปวดอื่นๆ
  • ช่วงที่มีการอักเสบของข้อให้ใช้ยา Colchicine 0.6 mg. จน อาการปวดดีขึ้น และต้องหยุดยาทันทีที่ผู้ป่วยมีอาการท้องเสีย
  • ให้ยาลดอาการอักเสบ
  • ช่วงที่ปวดให้พักและดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการตกตะกอนของกรดยุริก
  • ให้นอนพัก ยกเท้าสูง
  • หลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดิน
  • ห้ามบีบนวดข้อที่อักเสบ

 

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย“โรคเกาต์”

 

  1. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ซี่งรับประทานติดต่อกันเป็นปีๆ จนกว่าจะไม่มีการตกตะกอนของกรดยูริก หากมีอาการท้องเดินปวดท้องหรือถ่ายยา ควรรีบปรึกษาแพทย์
  2. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และลดความเข้มข้นของปัสสาวะ
  3. ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้ “กรดยูริก” ถูกขับออกจากร่างกายไม่ได้ดี และทำให้ตับสร้าง “กรดยูริก” มากขึ้น ทำให้มีการสะสมของ “กรดยูริก” มากขึ้น
  4. งดอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ เพราะ “กรดยูริก” เป็นส่วนหนึ่งของสารพิวรีน ที่พบมากใน ตับ ไต สมอง หัวใจ และกระเพาะอาหารของสัตว์
  5. มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ
  6. รักษาหรือลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

 

 ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี