รวมความเชื่อ เรื่อง "งู" จากประเทศต่างๆ หลัง "งูเห่า" โผล่กลางงานศพ "แตงโม"
"งูเห่า" โผล่กลางงานศพ "แตงโม" ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ ทำเอาผู้ร่วงานวงแตกฮือ ทั้งยังนำไปเชื่อมโยงไปถึง "ความเชื่อ" ในเรื่องต่างๆ ด้วย
คนไทย “ความเชื่อ” เมื่อเจอ “งู” หรือ การที่มีงูเข้าบ้าน เชื่อกันว่าเป็นลางไม่ดีจะมีเรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นในชีวิต อาจจะมีคนในบ้านเจ็บป่วยหรือบางทีก็อาจจะเสียชีวิตเลยก็มี หรือบาง “ความเชื่อ” บอกไว้ว่า “งู” เป็นตัวแทนที่สื่อถึงเรื่องที่ผิดศีลธรรม และอาจจะสื่อถึงเรื่องเกี่ยวกับกามอารมณ์ด้วยก็ได้
และที่สำคัญไปกว่านั้นหาก “งู” เข้ามาในบ้าน โดยเฉพาะงูใหญ่อย่าง งูเหลือม งูหลาม มีความเชื่อว่าส่วนใหญ่จะเป็นงูเจ้าที่ ห้ามตีเด็ดขาด จะยิ่งส่งผลให้ชีวิตของคนในบ้านมีเคราะห์หนักกว่าเดิม เพราะงูที่เข้ามาในบ้าน มาเพื่อเตือนคนในบ้าน ในกรณีที่คนในบ้าน หรือเจ้าของบ้าน ไปลบหลู่หรือทำเรื่องที่ผิดต่อศีลธรรมนั่นเอง แค่ไล่ไปให้พ้นก็เพียงพอ และหลังจากนั้น ควรไปทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร
อินเดีย ภาพหมองูชาวคาลเบเลียได้กลายเป็นภาพติดตาของคนทั่วไป กับภาพผู้ชายอินเดีย มีผ้าโพกศีรษะนั่งเป่าปี่เรียกงูให้โผล่หัวขึ้นจากตะกร้า พร้อมเคลื่อนไหวไปตามจังหวะราวถูกมนต์สะกด
เมืองพุชกา รัฐราชสถาน ถือเป็นศูนย์กลางของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นิกายพรหม นับได้ว่าเป็นเมืองแห่งพระพรหม ชนเผ่านี้บูชางูและยึดอาชีพหมองูในการดำรงชีพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สมาชิกของเผ่าทุกคน ทุกเพศ และวัย มีชีวิตที่สัมพันธ์อยู่กับ "งู" แม้แต่เด็กเล็กก็สามารถจับงูได้ โดยเฉพาะ “งูเห่า”
จุดเริ่มต้นในการนับถืองูของชาวเผ่าคาลเบเลีย คือ กูรู โครัคนาถ (Guru Gorakhnath) อันเป็นเทพเจ้าสูงสุดของชาวคาลเบเลีย มีอวตาร 9 ภาคด้วยกัน และทุกคนในเผ่ามีนามสกุลเดียวกัน คือ “นาถ” 1 ใน 9 ภาคอวตารของโครัคนาถ
กรีก ชาวกรีกโบราณมีความเชื่อว่างูสามารถรักษาคนได้ ความเชื่อนี้ได้ถ่ายทอดมาถึงปัจจุบัน เป็นที่น่าสังเกตว่า รูป "งู" พันไม้เท้าซึ่งถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ทางการแพทย์กันโดยทั่วไปในแวดวงการแพทย์ทั่วโลกนั้น เดิมทีเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของเทพเอสคูลาปิอุส (Aesculapius) เหตุที่ "งู" เข้ามาเกี่ยวข้องกับเอสคูลาปิอุส มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อราว 1,200 ปีก่อนคริสตกาล ขณะที่เอสคูลาปิอุสกำลังรักษาคนไข้อยู่ มีงูตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาในโรงรักษาคนไข้ โดยขึ้นไปพันอยู่โดยรอบไม้คทาประจำตัวของเขา ผู้คนทั่วไปจึงพากันเชื่อว่า เหตุที่เอสคูลาปิอุสมีวิชารักษาโรคภัยล้ำเลิศกว่าผู้อื่นก็ด้วยฤทธิ์ที่งูตัวนั้นบันดาลให้นั่นเอง
เหตุนี้ วงการแพทย์ทั่วโลกในปัจจุบันซึ่งได้รับเอาแนวคิดมาจากตะวันตก จึงใช้รูป "งู" เป็นสัญลักษณ์ ตามตำราโบราณที่ระบุว่ามีการใช้พิษงูในการรักษาโรค รวมทั้งชาวกรีกยังมีความเชื่อว่า งูเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญของชีวิตและการเกิดใหม่ ด้วยถือว่าการลอกคราบของงูนั้นคือการฟื้นคืนจากความตาย
ขอบคุณข้อมูลบางส่วน : https://www.silpa-mag.com/culture/article_53972