ไลฟ์สไตล์

เด็กเก็บกด ลูกเราเป็นไหมนะ เช็กพฤติกรรมได้ด้วยการสังเกต

เด็กเก็บกด ลูกเราเป็นไหมนะ เช็กพฤติกรรมได้ด้วยการสังเกต

25 มิ.ย. 2565

เชื่อว่าสิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่ยุคนี้กังวลเรื่องลูกๆ มากที่สุด หนีไม่พ้นเรื่องอารมณ์ เพราะอารมณ์ของเด็กจะส่งผลต่อการเติบโต ไปจนถึงนิสัยในภายภาคหน้า เราลองมาสังเกตพฤติกรรมลูก ๆ กันดู ว่าลูกเราเข้าข่ายเด็กเก็บกดหรือไม่

“ตั้งแต่เข้าวัยรุ่นก็ ไม่ค่อยได้คุยกับลูกเท่าไหร่”

“ ถามอะไรก็ไม่ค่อยอยากตอบ ”

“บอกนิดบอกหน่อยก็ระเบิดอารมณ์”

“อยู่กับหน้าจอทั้งวันไม่ยุ่งกับใคร”

“ลูกเราเก็บกดไหมนะ”

 

นี่เป็นคำพูดที่มักจะได้ยินบ่อย ๆจากคุณพ่อคุณแม่ เมื่อลูกเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น พ่อแม่เริ่มคุยกับลูกได้ยาก  ไม่เข้าใจกันเหมือนเดิม ลูกมองเราเหมือนเป็นคนอื่น  ความห่างเหินที่เกิดขึ้นทำให้พ่อแม่ต้องหันกลับมามองลูกมากขึ้น ว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูก  และ ความสัมพันธ์ของเราเป็นอย่างไร

เด็กเก็บกด ลูกเราเป็นไหมนะ เช็กพฤติกรรมได้ด้วยการสังเกต

พ่อแม่ทุกคนอยากที่จะเข้าใจลูก ไม่มีใครอยากเห็นลูกเป็นเด็กเก็บกด  เป็นเด็กเครียด  ไม่พูดกับใคร  ไม่ยุ่ง  ไม่สนใจใคร หรือ วันดีคืนดีก็ได้ข่าวว่าลูกระเบิดอารมณ์ออกมาทำร้ายตนเอง คนอื่น  ราวกับว่าลูกกลายเป็นคนละคน

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ก็คือ เมื่อเด็กเปลี่ยนวัยเข้าสู่วัยรุ่น จะเกิดความตึงเครียดขึ้นอย่างมหาศาล  ไม่ว่าจะเป็น  ความอยากมีอิสระ   ควาอยากมี  อยากไป อยากทำตามเพื่อน  แฟน  ความรับผิดชอบต่อการเรียน  อนาคต ความสับสนทางเพศ ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวที่อีรุงตุงนัง  ปัญหาพ่อแม่แยกทาง สภาวะการเงิน ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้วัยรุ่นเกิดความเครียดสะสมได้มาก  นอกจากลูกจะเปลี่ยนแล้ว  พ่อแม่เองก็ต้องเตรียมใจกับการเปลี่ยนวิธีการดูแลลูกด้วยเช่นกัน

พญ. สุนิดา  โสภณนรินทร์

เด็กเก็บกด ลูกเราเป็นไหมนะ เช็กพฤติกรรมได้ด้วยการสังเกต

ดังนั้นพ่อแม่ควรเรียนรู้ที่จะรับมือเพื่อป้องกัน  และ ลดความเก็บกดทางใจ ของลูก และทำให้ลูกได้มีโอกาสระบายมากขึ้นดังนี้ค่ะ

 

เมื่อลูกเข้าวัยรุ่น  ให้ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นนักฟังที่ดี  เพราะไม่มี เด็กที่รู้สึกเก็บกดคนไหนอยากเล่าเรื่องตนเอง      ให้พ่อแม่ที่เก็บกดกว่าฟัง

 

สังเกต พฤติกรรมของลูก  รู้จักสังเกตสีหน้า  ท่าทาง แล้วหมั่นถามไถ่ ความรู้สึก “วันนี้ลูกเหนื่อยไหม” “ เล่าให้แม่ฟังได้นะ แม่อยากฟัง”

 

ไม่นำอาการชักสีหน้า  หน้ายู่  ท่าทางกวนยั่วโมโห  หรือ จับเอาเสียงตะคอกมาเป็นประเด็นพูดคุย เพราะ มันเป็นเพียงคำบอกว่า “ฉันไม่โอเค ๆๆๆๆ”ซ้ำๆเท่านั้น  การเอาเรื่องนี้มาตักเตือนกัน ก็ยิ่งทำให้เด็กไม่กล้าที่จะพูดอะไรมากขึ้น  จำไว้ว่า งานที่พ่อแม่ต้องทำก็คือ ช่วยลูกให้พ้นจากความรู้สึก”ไม่โอเค”เท่านั้น

 

ลองเดาใจลูก  ว่าสิ่งที่ทำให้ลูกไม่สบายใจคืออะไร  อาจจะเป็นเรื่องคำพูดของพ่อแม่เอง  การเรียน  เพื่อน ฯลฯ

 

พร้อมที่จะอยู่เป็นเพื่อนความรู้สึกด้านลบของลูก  ไม่ว่าจะเป็น  ความโกรธ ความเกลียด ความอิจฉา ความน้อยเนื้อต่ำใจ ความแค้น  ความผิดหวัง  ความรำคาญ  ความหงุดหงิดใจ  ความผิดหวัง

 

พ่อแม่ควรเข้าใจว่า การเปิดโอกาสให้ลูกได้พูด และฟังลูก ไม่ใช่การเข้าไปแก้ปัญหา แต่เป็นการพยุงใจของลูกให้แข็งแรงพอ เพื่อไปแก้ปัญหานั้นๆต่อด้วยตัวลูกเอง

 

เมื่อลูกเข้าวัยรุ่น ลองที่จะไม่ให้คำแนะนำลูก ในช่วงที่ลูกมีอารมณ์เยอะ  แต่ให้คำแนะนำเมื่อลูกเย็นลงแล้วหรือในวันถัดไป

เด็กเก็บกด ลูกเราเป็นไหมนะ เช็กพฤติกรรมได้ด้วยการสังเกต

ในส่วนของคุณครูที่อยากจะมีส่วนช่วยพ่อแม่ ที่โรงเรียน  การสังเกตอุปนิสัยของเด็กวัยรุ่น  สีหน้าท่าทาง  การเข้ากับเพื่อน  การทราบภูมิหลังของครอบครัว  จะช่วยให้คุณครูสามารถมองเห็นเด็กที่ควรได้รับการช่วยเหลือได้ไวขึ้น  คุณครูสามารถที่จะใช้วิธีดังกล่าวข้างต้นในการช่วยเหลือเด็กให้ได้ระบายความคิด ความรู้สึกได้ด้วยเช่นกัน

 

เมื่อใดที่พ่อแม่และคุณครูเห็นว่า เด็กมีบุคลิกภาพเปลี่ยนไป สื่อสารกับพ่อแม่ ครู เพื่อน น้อยลง  เข้าใจกันน้อยลง  แยกตัว เข้ากับคนอื่นได้ยาก หรือ มีอารมณ์รุนแรง ยากที่จะควบคุม ควรพาเด็กมาพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไป

 

พญ. สุนิดา  โสภณนรินทร์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2 โทร 02 617-2444 ต่อ 3219-3220

ภาพประกอบ : https://unsplash.com/