ไลฟ์สไตล์

"บริษัทปิดตัว" ปิดกิจการ ลูกจ้าง ได้ เงินชดเชย เท่าไร มีสิทธิได้อะไรอีกบ้าง

"บริษัทปิดตัว" ปิดกิจการ ลูกจ้าง ได้ เงินชดเชย เท่าไร มีสิทธิได้อะไรอีกบ้าง

30 มิ.ย. 2565

"บริษัทปิดตัว" ปิดกิจการ ลูกจ้าง ได้ "เงินชดเชย" เท่าไร มีสิทธิได้อะไรอีกบ้าง เลิกจ้าง แบบไหน ถึงได้รับเงินชดเชยรายได้

จากกรณีข่าวช็อก บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการบันเทิง JSL ประกาศ ปิดกิจการ ปิดตำนาน 43 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2565 เป็นต้นไป หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมสื่อ รวมทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้รับผลกระทบอย่างมาก จนประสบปัญหาขาดทุน คมชัดลึกออนไลน์ ได้รวบรวมสิทธิที่พึงได้ สำหรับพนักงาน หรือลูกจ้าง สามารถเรียกร้องสิทธิอะไรได้บ้าง และบริษัทต้องจ่ายเงินชดเชยรายได้เท่าไหร่ หาก บริษัทปิดตัว

ถูกเลิกจ้างแบบไหน ถึงได้รับเงินชดเชย

 

สำหรับผู้ประกันตน ม.33 ที่ถูกเลิกจ้างหรือให้ออกจากงาน โดยไม่ได้มาจากความผิดของตน ผู้เป็นนายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยรายได้ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินไว้ใช้จ่ายในระหว่างที่ว่างงาน หรือเป็นเงินทุนในการหางานใหม่ แต่หากลูกจ้างที่ออกจากงานด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

 

  • ลาออกเองโดยสมัครใจ
  • ทุจริตต่อนายจ้างหรือทำความผิดอาญา
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ประมาทเลินเล่อจนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ฝ่าฝืนระเบียบการทำงาน โดยที่นายจ้างได้ออกหนังสือเตือนไปแล้ว
  • ละทิ้งการทำงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 
  • สัญญาจ้างงานมีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน
     

ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

นายจ้างปิดกิจการได้เงินชดเชยเท่าไร

 

กรณีถูกเลิกจ้างกะทันหัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้าง 2 ส่วน คือ ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังนี้

 

(1) ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง

สำหรับค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างนั้น จะได้รับเมื่อลูกจ้างถูกให้ออกจากงานโดยไม่สมัครใจ และไม่มีความผิดใด ๆ สำหรับเงินชดเชยที่ได้จะขึ้นอยู่กับเงินเดือนและอายุงาน โดยมีเงื่อนไขดังนี้

 

  • ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่น้อยกว่า 1 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน 
  • ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน 
  • ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน

 

(2) ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า

ในส่วนของค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือที่เรียกกันว่า "ค่าตกใจ" เป็นเงินชดเชยรายได้ที่นายจ้างมอบให้ลูกจ้าง เมื่อถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้สมัครใจและไม่มีการบอกล่วงหน้า

 

กรณีเลิกจ้างทั่วไป

สำหรับกรณีนี้ให้อ้างอิงตามระยะเวลาที่มีการจ่ายเงินเดือน เช่น ให้เงินเดือนรอบละ 30 วัน นายจ้างต้องทำหนังสือแจ้งการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบอย่างน้อย 30 วัน ไม่เช่นนั้นต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน  หรือกรณีให้ค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน หากไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับ 7 วัน เป็นต้น

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057