ไลฟ์สไตล์

รู้จักโรค "ตุ่มน้ำพอง" หลังรุมเร้าพระเอกดัง "เมฆ" วินัย ไกรบุตร นานกว่า 3 ปี

รู้จักโรค "ตุ่มน้ำพอง" หลังรุมเร้าพระเอกดัง "เมฆ" วินัย ไกรบุตร นานกว่า 3 ปี

12 ก.ค. 2565

โรค “ตุ่มน้ำพอง” กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง หลังจากที่พระเอกดัง “เมฆ” วินัย ไกรบุตร เป็นโรคนี้มานานกว่า 3 ปี แต่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และล่าสุดกลับมากำเริบหนักอีกครั้ง

 วันนี้ คมชัดลึก ออนไลน์ จะพาไปทำความรู้จักกับโรคนี้กันค่ะ

 

สาเหตุการเกิดโรค “ตุ่มน้ำพอง”

 

โรคตุ่มน้ำพองเกิดจากภูมิคุ้มกัน เป็นหนึ่งในโรคผิวหนังที่มีลักษณะเป็นตุ่มพองน้ำ เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้ไม่บ่อยมาก สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่มาทำลายโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังหลุดออกจากกันกลายเป็นตุ่มน้ำและแผลถลอกรวมถึง พันธุกรรม การติดเชื้อ การแพ้ยาแพ้สารเคมี หรืออาจเรียกอีกแบบว่า “ภูมิเพี้ยน" คือภูมิต้านทานที่มีหน้าที่คอยต่อสู้กับเชื้อโรค สิ่งกลุ่มด้วยกัน ได้แก่ โรคเพมฟิกัส และโรคเพมฟิกอยด์

 

โรค “ตุ่มน้ำพอง” อาการเป็นอย่างไร

 

อาการโรคกลุ่มนี้บางชนิดพบเฉพาะในเด็ก บางชนิดพบได้ในผู้ใหญ่ พบได้ทั้งเพศหญิงและชาย โดยมีลักษณะเด่นคือ เป็นตุ่มพองที่ผิวหนังหรืออาจมีตุ่มพองที่บริเวณเยื่อบุต่างๆ ร่วมด้วย โดยตุ่มน้ำอาจมีขนาดต่างๆ กัน เมื่อตุ่มน้ำแตกจะเกิดแผลถลอกหรือเป็นสะเก็ด ทำให้มีอาการเจ็บมาก ผู้ป่วยในช่วงอายุ 50-60 ปีเกิดจากความผิดปกติที่ชั้นผิวหนังกำพร้าในผิวหนังชั้นตื้น แต่อาจกินบริเวณกว้าง ผู้ป่วยจะมีแผลเหมือนถูกน้ำร้อนลวก และส่วนใหญ่มักมีแผลถลอกในช่องปากร่วมด้วย รวมถึงอาจพบแผลถลอกที่เยื่อบุบริเวณอื่น เช่น ทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอดและอวัยวะเพศ บริเวณผิวหนังมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำ แตกได้ง่าย กลายเป็นแผลถลอก มีอาการปวดแสบ หรือคัน เมื่อแผลหายมักทิ้งรอยดำโดยไม่เป็นแผลเป็น

 

ตำแหน่งที่พบบ่อย คือ ศีรษะ หน้าอก หน้าท้อง และบริเวณที่ผิวหนังเสียดสีกัน ผู้ป่วยบางรายมีแผลที่เยื่อบุในปากเป็นอาการนำของโรค ทำให้กลืนอาหารลำบาก ทั้งอาจลามต่ำลงไปถึงคอหอย และกล่องเสียงทำให้เสียงแหบได้ แผลถลอกที่เกิดขึ้นทั้งที่ผิวหนังและเยื่อบุจะหายช้า เมื่อหายมักไม่เป็นแผลเป็นแต่จะทิ้งรอยดำบนผิวหนังในช่วงแรกและจะจางไป ในรายที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนัง แผลจะมีลักษณะเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็นหายได้ยาก มักกลายเป็นรอยแผลเป็น ถ้าเป็นรุนแรง เชื้อโรคอาจเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีไข้และอาการทางระบบอื่นๆ ร่วมด้วย และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

 

การดูแลโรค “ตุ่มน้ำพอง”

 

  1. ควรพบแพทย์สม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาหรือปรับลดยาเอง
  2. ควรทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ บริเวณที่เป็นแผลใช้น้ำเกลือ ทำความสะอาดแผล ไม่แกะเกาผื่นแผล ไม่ควรใช้ยาพ่นหรือพอกยาเพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
  3. ผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานต่ำ จากการได้รับยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ติดเชื้อง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อ ไม่ไปในสถานที่แออัด
  4. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ระคายเคืองต่อผิวหนังง่าย เช่น เสื้อผ้าที่รัด ความร้อน
  5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สุกสะอาด อาหารอ่อนย่อยง่ายรสไม่จัด ผลไม้ควรปอกเปลือกก่อนรับประทาน แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดคับ
  6. การได้รับยากดภูมิต้านทาน อาจมีผลกระทบต่อโรคประจำตัวได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรได้รับการรักษาควบคู่กันไป นอกจากนี้หากมีอาการปวดท้องอุจจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  7. ในช่วงที่โรคยังไม่สงบ ไม่ควรตั้งครรภ์ เนื่องจากยาที่ใช้ควบคุมโรคอาจมีผลต่อทารกในครรภ์
  8. ผู้ป่วยที่มีแผลในปากควรงดอาหารรสจัด และงดรับประทานอาหารแข็ง เช่น ถั่ว ปลาแห้ง ของขบเคี้ยว เนื่องจากอาจกระตุ้นการ หลุดลอกของเยื่อบุในช่องปาก
  9. หลีกเลี่ยงแสงแดด และความเครียดซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ

 

การรักษาโรค “ตุ่มน้ำพอง”

 

การรักษาโรคนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยที่มีอาการมากควรได้รับรักษาในโรงพยาบาลเพื่อทำแผลอย่างถูกวิธี และเฝ้าระวังแผลติดเชื้อ กรณีที่รับประทานอาหารไม่ได้ อาจจำเป็นต้องให้สารอาหารทางสายทดแทน และการใช้ยารักษามักต้องใช้ในขนาดสูงเพื่อควบคุมโรคในช่วงแรก และปรับลดขนาดยาลงให้ต่ำที่สุดที่จะควบคุมโรคได้ ผู้ป่วยต้องทานยาต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อควบคุมให้โรคสงบ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจได้รับยากดภูมิต้านทานอื่น

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่

Website -  www.komchadluek.net

Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek

LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057