ไลฟ์สไตล์

"ขนุน"ผลไม้ที่ไม่ได้มีดีแค่ความอร่อย กับ สรรพคุณที่ซ่อนอยู่

"ขนุน"ผลไม้ที่ไม่ได้มีดีแค่ความอร่อย กับ สรรพคุณที่ซ่อนอยู่

25 ต.ค. 2565

"ขนุน" เป็นผลไม้จากต่างประเทศที่ได้ฉายาว่าเจ้าแห่งผลไม้ แต่ละส่วนมีประโยชน์และสรรพคุณอย่างไรบ้าง วันนี้มีคำตอบให้แล้ว

"ขนุน" เป็นผลไม้จากต่างประเทศที่ได้ฉายาว่าเจ้าแห่งผลไม้ ที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ กินได้ทั้งผลดิบนำมาแกง และผลสุกที่กินเนื้อ รวมถึงเม็ดขนุนก็นำมาต้ม-เผากินได้ เนื้อขนุนเมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม เนื้อหวานกรอบ กินอร่อย 

 

สรรพคุณของ "ขนุน" ในแต่ละส่วนมีดังนี้

1. ยวงและเมล็ด - รับประทานเป็นอาหาร

2. แก่นของขนุน - ต้มย้อมผ้าให้สีน้ำตาลแก่

3. ส่าแห้งของขนุน - ใช้ทำชุดจุดไฟได้

4. แก่นขนุนหนังหรือขนุนละมุด - มีรสหวานชุ่มขม บำรุงกำลังและโลหิต ทำให้เลือดเย็น สมาน

5. ใบขนุนละมุด - เผาให้เป็นถ่านผสมกับน้ำปูนใสหยอดหู แก้ปวดหู และหูเป็นน้ำหนวก

6. ไส้ในของขนุนละมุด - รับประทานแก้ตกเลือดทางทวารเบาของสตรีที่มากไปให้หยุดได้

7. แก่นและเนื้อไม้ - รับประทานแก้กามโรค

ซึ่งการศึกษาวิจัยพบว่าส่วนของผล ใบ และเปลือกต้น "ขนุน" มีการใช้ในยาแผนโบราณ เนื่องจากมีสารต้านมะเร็ง ต้านจุลชีพ ต้านเชื้อรา ต้านการอักเสบ การสมานแผล และฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ส่วนเมล็ดและเนื้อผลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่ากรดแอสคอร์บิกอย่างมาก และมีปริมาณฟีนอลิกเทียบเท่ากรดแกลลิก 27.7 และ 0.9 มีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระประมาณ 70% สารสกัดจากเนื้อไม้ช่วยในการยับยั้งการสังเคราะห์เมลานิน สารโพลีฟีนอลจากเนื้อไม้ สามารถยับยั้งการสังเคราะห์เมลานินในร่างกายใน B16 melanoma cells โดยมีความเป็นพิษต่อเซลล์เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

 

 

นอกจากนี้ การศึกษาระดับพรีคลินิกพบว่า "ขนุน" มี สารอาหาร คาร์โบไฮเดรต เส้นใย ไขมัน โปรตีน ไขมันอิ่มตัวแต่ไม่มีคอเลสเตอรอลนอกจากกินเพื่อความอร่อยแล้ว ขนุน ยังมีประโยชน์ทั้งบำรุงร่างกาย และป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ,u สารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อรา ต้านมะเร็งผิวหนัง ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด รักษาบาดแผล และมีผลทำให้กิจกรรมทางเพศลดลงชั่วคราว