ไลฟ์สไตล์

สัมผัสพิธีกินเหนียวดำ
ในงาน... ฉลองเจดีย์ "วัดบ้านสวน” จ.ชุมพร

สัมผัสพิธีกินเหนียวดำ ในงาน... ฉลองเจดีย์ "วัดบ้านสวน” จ.ชุมพร

07 พ.ค. 2553

“วัดเขาอ้อ” อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นแหล่งวิทยาคมทางไสยศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ถึงกับถูกขนานนามว่า “ตักศิลาแห่งไสยเวทย์” พระเกจิอาจารย์ผู้สืบต่อวิชาทางไสยศาสตร์ ต่างก็เป็นที่พึ่งที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป แม้ปัจ

 นอกจากนี้แล้วที่แห่งนี้ยังเปรียบเสมือน “ สรรพยาบรรพต ” แห่งภาคใต้ เพราะที่นี่ยังมีพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ด้วยการนำ “ สมุนไพร ” มาประกอบพิธีด้านเวชศาสตร์ “ตำรับสำนักเข้าอ้อ”มาหลายชั่วอายุคน อาทิ “พิธีกรรมกินข้าวเหนียวดำ” หรือ “พิธีหุงข้าวเหนียวดำ” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นดุจยาอายุวัฒนะ มีสรรพคุณแก้คุณไสย เป็นยาล้างสารพิษที่สะสมในร่างกาย ล้างอาถรรพ์ชั่วร้ายจากการถูกกระทำย่ำยีของผู้ไม่ประสงค์ดี 

 โดยปกติพิธีกรรมกินข้าวเหนียวดำ จะประกอบขึ้นปีละ  ๒ ครั้งคือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ หรือ วันอื่นๆ ที่พระอาจารย์จากสำนักเขาอ้อผู้ประกอบพิธีพิจารณาแล้วตรงกับวันดี ฤกษ์ดี ก็สามารถประกอบพิธีได้  เช่นเดียวกับปีนี้ที่ “วัดบ้านสวน”  ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ซึ่งมี“ พระครูขันตยาภรณ์ ” หรือ "หลวงพ่อพรหม" เป็นเจ้าอาวาส โดยท่านได้เรียนและสืบสายมาจากสำนักเขาอ้อ

 หลวงพ่อพรหม  บอกว่า พิธีกินข้าวเหนียวดำเป็นพิธีการนำเครื่องยา ว่านสมุนไพรไม่ต่ำกว่า ๑๐๘ ชนิดมาผสมกัน แล้วต้มเอาน้ำยานำมาใช้หุงข้าวเหนียวดำ โดยอาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะบริกรรมคาถาภายในอุโบสถ หรือภายในถ้ำฉัททันต์ วัดเข้าอ้อ โดยจะนำดินสอพองที่จัดทำขึ้นมาเอง ทำพิธีลบผงตามฤกษ์ยามที่กำหนด โดยใช้ดินสอพองจารอักขระเลขยันต์ลงบนแผ่นกระดานชนวน เสร็จแล้วลบเอาผง ทำจนได้ผงมาปลุกเสกเพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ใน “ พิธีหุงข้าวเหนียวดำ ”
 
 ส่วนพิธีกินข้าวเหนียวดำ ศิษย์หรือผู้เข้าร่วมพิธี จะต้องนุ่งขาว ห่มขาว โดยพระอาจารย์จะให้ลูกศิษย์นั่งชันเขาบนหลังเสือ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดตบะ อำนาจ เท้าทั้งสองเหยียบบนเหล็กกล้า เพราะเชื่อว่าจะทำให้กล้าแข็ง ปิดศรีษะด้วยหนังหมี เพราะเชื่อกันว่าจะทำให้อดทนและมีพละกำลังวังชาดี  ทั้งนี้ในระหว่างพิธี พระอาจารย์จะป้อนข้าวเหนียวดำให้ศิษย์กิน ๓ ครั้ง โดยตามความเชื่อเกี่ยวกับพิธีดังกล่าว ศิษญ์สำนักเขาอ้อ และประชาชนที่เข้าร่วมพิธีมีความเชื่อกันว่าหากผ่านการกินเหนียวดำ ๓ ครั้ง หรือ ๓ พิธี จะช่วยให้มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัย และมีอำนาจ โชคลาภ และเมตตามหานิยม

 "พิธีกรรมครั้งนี้ประกอบขึ้นเพื่อให้ประชาชน และผู้เข้าร่วมงานทุกคนได้ศึกษาและเรียนรู้พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีมานานหลายชั่วอายุคน และได้มีส่วนร่วมในพิธีอันเป็นสิริมงคล ที่สำคัญผู้เดินทางมาร่วมงานพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเฉลิมฉลองพระบรมธาตุเจดีย์เฉลิมพระเกียรติ จะได้รับวัตถุมงคล พระพุทธสิหิงส์ หลังพระพรหม  ซึ่งปลุกเสกตามสูตรเขาอ้อท่านละ ๑องค์"  หลวงพ่อพรหม กล่าว

 สำหรับข้าราชการตำรวจ ทหาร ที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ไม่สามารถเดินทางเข้าร่วมงานได้ ขอรับวัตถุมงคลได้ฟรีด้วยการส่งจดหมายมายัง พระอาจารย์พรหม ขันติโก เจ้าอาวาสวัดบ้านสวน ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ทั้งนี้ขอให้กรุณาค่าจัดส่งจำนวน ๘๐  บาท ด้วยการสั่งจ่าย ปณ.ปากคลอง ๙๓๑๕๐  หรือโทรศัพท์สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่วัดบ้านสวนหมายเลข ๐๗๔-๖๘๑-๕๐๗

สร้างปี ๓๕ เสร็จปี ๕๓
 ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๘ พฤษภาคม ศก นี้  วัดบ้านสวนได้ร่วมกับพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าในจังหวัดพัทลุงจัดให้มีการเฉลิมฉลองพระบรมธาตุเจดีย์เฉลิมพระเกียรติขึ้น และเพื่อเป็นสิริมงคลจึงได้จัด “ พิธีกรรมกินข้าวเหนียวดำ ” ขึ้นเพื่อร่วมฉลองความพยายามของชาวบ้านที่ได้ร่วมแรงร่วมใจสร้างเจดีย์   โดยการประกอบพิธีบริเวณลานหน้าพระบรมธาตุเจดีย์เฉลิมพระเกียรติ

 ปฐมบทแห่งการเริ่มต้นก่อสร้าง “ พระบรมธาตุเจดีย์เฉลิมพระเกียรติ ” เริ่มต้นขึ้น หลังจากพระครูพิพัฒน์สิริธร(หลวงพ่อคงสิริมโต)เจ้าอาวาสวัดบ้านสวนมรณะภาพ พระครูขันตยาภรณ์ (หลวงพ่อพรหม) จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เ มื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงได้พัฒนาวัดแห่งนี้เรื่อยมา

 กระทั่งวันหนึ่งได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และขอบุญบารมีของหลวงพ่อคงสิริมโตช่วยดลบัลดาลให้ได้สร้างพระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุให้สำเร็จเพื่อทดแทนคุณและสนองเจตนารมณ์ของพ่อคงสิริมโตเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ให้สำเร็จ จนเวลาล่วงเลยมาถึง พ.ศ.๒๕๓๕ มิสเตอร์เจา กาไฟ ชาวสิงคโปร์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อคงสิริมโต เดินทางมาที่วัดบ้านสวนและมีโอกาสสนทนาธรรม กระทั่งรับรู้ว่าวัดแห่งนี้มีเจตนารมณ์ที่จะสร้างพระสถูปเจดีย์ขึ้น จึงให้การสนับสนุนด้วยเงินบริจาคเป็นทุนเริ่มต้น ๒๐๐,๐๐๐ บาท

  จากนั้นการดำเนินการจึงเริ่มต้นอย่างเป็นรูปเป็นร่าง และได้รับการสนับสนุนเงินทุนในการก่อสร้างจากสาธุชนอย่างต่อเนื่องคนละเล็ก คนละน้อย  ขณะเดียวกันยังได้รับแรงศรัทธาจาก พล.ต.ท.ณรงค์วิช ไทยทอง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๒  (ยศขณะนั้น) และนพ.สิปกร โสภิตสกล ร่วมกันบริจาคเงินสร้างยอดพระธาตุหุ้มทองคำด้วยเงินจำนวน ๕๐๐,๐๐๐บาท อีกด้วย พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ประกอบพิธียกฉัตร ๙ ชั้น และอัญเชิญพระพุทธรูปมงคลกาญจนาภิเษกขึ้นประดิษฐานบนชั้นที่ ๓ ของพระสถูปเจดีย์

  ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๕  ได้ประกอบพิธีบรรจุพระบรมธาตุในวัน แรม๘ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งตรงกับวันอัฏฐมีบูชา  จวบจนกระทั่งการดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๕๓ วัดบ้านสวนจึงได้มีฉลองพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อเป็นพุทธบูชาในวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวัน “ วิสาขบูชา ” ของปีนี้

 "พิธีกรรมครั้งนี้ประกอบขึ้นเพื่อให้ประชาชน และผู้เข้าร่วมงานทุกคนได้ศึกษาและเรียนรู้พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีมานานหลายชั่วอายุคน และได้มีส่วนร่วมในพิธีอันเป็นสิริมงคล”

เรื่อง - ภาพ... "สุพิชฌาย์ รัตนะ" สำนักช่าวเนชั่น