ไลฟ์สไตล์

ภาวะ "เสื่อม" สมรรถภาพทางเพศ

ภาวะ "เสื่อม" สมรรถภาพทางเพศ

26 พ.ค. 2553

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพ หรือ หย่อนสมรรถภาพทางเพศ พบมากตามอายุที่เพิ่มขึ้น และปัจจัยร่วมหลายอย่าง เกิดจากกลไกการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ระบบประสาทส่วนปลาย และระบบประสาทอัตโนมัติ ภาวะจิตใจ สิ่งเร้าต่างๆ

เมื่อมีสิ่งเร้าที่เหมาะสมมากระตุ้นผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ จะมีการสารสื่อประสาท และสารเคมี โดยเฉพาะ ไนตริกออกไซด์ ออกมา ส่งผลให้หลอดเลือดแดงมีการขยายตัว และมีเลือดแดงสะสมในเนื่อเยื่อที่มีลักษณะเหมือนฟองน้ำภายในลำอวัยวะเพศ ส่งผลให้มีการขยายขนาดของเจ้ามังกรตาเดียว
 สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพ มักเกิดจากหลายๆ สาเหตุรวมกัน ได้แก่
 - อายุ จากสถิติตัวเลข พบว่า ยิ่งอายุมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มาก โดยพบว่า ผู้ที่มีอายุ 40-49 ปี พบ 20% อายุ 50-59 ปี พบ 45% และอายุ 60-70 ปี พบ 72%
 - สังคมและเศรษฐกิจ พบว่า ผู้ที่มีรายได้สูง มีความรู้ มีอาชีพที่ดี จะมีปัญหาในเรื่องนี้น้อยกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย
 - โรคที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท และหลอดเลือด ได้แก่ เบาหวาน ไต ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่
 - การผ่าตัด หรืออาการบาดเจ็บบริเวณเชิงกราน และระบบประสาท เช่น การผ่าตัดต่อมลูกหมากโต การบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง ภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง
 - ภาวะจิตใจ โดยปกติแล้วปัญหาทางด้านจิตใจส่วนใหญ่จะเป็นผลสืบเนื่องจากที่มีปัญหาทางกายก่อน พบผู้ที่มีปัญหาด้านจิตใจจนเกิดภาวะนกเขาไม่ขันค่อนข้างน้อย
 - ยาที่รับประทาน ยาบางตัวจะส่งผลต่อภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ เช่น ยาลดความดัน ยาปลูกผม (Finesterile) ฯลฯ เมื่อหยุดการใช้ยาเหล่านี้สักระยะ ปัญหาเรื่องสมรรถภาพทางเพศก็จะดีขึ้น
 - เป้าหมายในการรักษาผู้ป่วย ไม่ใช่เพียงต้องการให้อวัยวะเพศแข็งตัวดีขึ้นเท่านั้น แต่ต้องเพิ่มความพึงพอใจ และความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก เพิ่มระดับคุณภาพชีวิต รวมไปถึงการสร้างความมั่นใจในการมีเพศสัมพันธ์ และลดภาวะจิตใจที่ตึงเครียดด้วย
 วิธีการรักษา การรักษาเบื้องต้นต้องกำจัด หรือลดปัจจัยเสี่ยงให้น้อยที่สุด คือ ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีกากอาหาร งดอาหารที่มีไขมันสูง ลดเกลือ งดดื่มสุรา งดบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ปรึกษาจิตแพทย์ และนักจิตวิทยา เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมร่วมกัน
 กรณีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น ผลต่อภาวะทางจิตใจและความเครียด และจะเป็นการดีที่คู่รักของท่านมีส่วนร่วมในการดูแลกันและกัน
 สำหรับการใช้ยา ยาที่นิยมได้แก่ กลุ่มยากิน (Phosphodiesterase, PDE) ได้แก่ ยา Viagra, Levitra, Cialis หลังจากที่รับประทานไปแล้ว จะทำให้มีการไหลเวียนที่บริเวณอวัยวะเพศมากขึ้น ทำให้การแข็งตัวดีขึ้น แต่ยากลุ่มนี้มีข้อห้ามในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจที่ได้รับการรักษา โดยยากลุ่มไนตริกออกไซด์ และนวัตกรรมใหม่ในการดูแลภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โดยเครื่องมือเหล่านี้สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย แม้กระทั่งผู้ป่วยโรคหัวใจที่รับประทานยากลุ่มไนตริกออกไซด์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
นพ.วรวัฒน์ เอี่ยวสินพานิช
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลปิยะเวท