
สารท กับ ชิงเปรต
"การทำบุญวันสารท" มีวิธีปฏิบัติความแตกต่างกันออกไป แล้วแต่หมู่ชน และขนบธรรมเนียมประเพณีตามภูมิภาค ควรยอมรับว่า แต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน และปฏิบัติตามแต่ละท้องถิ่นจะนิยม การทำบุญวันสารท ควรถือเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ญาติสนิทมิตรสหาย ทั้งที่ล่วงลั
วันสารทจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ เทศกาลสารทจีนจะตรงกับวันที่ ๑๕ เดือน ๗ ตามปฏิทินจีน เทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้
การกำหนดทำบุญวันสารท มีความคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละท้องถิ่นของไทย เช่น ภาคกลาง กำหนดในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ภาคใต้ กำหนดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันรับตายาย และวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันส่งตายาย
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วๆ ไป สารทไทยจะตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เนื่องจากนับถัดจากวันสงกรานต์ ตามจันทรคติจนถึงวันสารทจะครบ ๖ เดือน พอดี
ในขณะที่ชาวไทยเชื้อสายมอญ กำหนดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือ วันออกพรรษาเป็นวันสารท โดยในเทศกาลดังกล่าว มีการกวนขนมกระยาสารท นอกจากเพื่อไปทำบุญถวายพระแล้ว ชาวไทยเชื้อสายมอญยังนำขนมกระยาสารทไปแจกแลกกันกินในชุมชนอีกด้วย
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "ชิงเปรต" ไว้ว่า เป็นคำเรียกงานพิธีวันสารทของชาวปักษ์ใต้ ซึ่งมีคำเต็มว่า พิธีชิงเปรต ซึ่งหมายถึง การแย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษ หรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า "เปรต" ในงานวันทำบุญวันสารท คือ วันสิ้นเดือนสิบ เมื่อเสร็จพิธีแล้วถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นมงคล
กิริยาที่นำเครื่องเซ่นสรวงที่เซ่นพบรรพบุรุษมารับประทาน และมาแจกจ่ายนั้นแล เรียกว่า ชิงเปรต คล้ายกับวิธีการลาข้าวพระพุทธนั่นเอง แต่การลาข้าวพระพุทธ ไม่นิยมเรียกว่า ชิงพระพุทธ
ชิงเปรต เป็นพิธีนิยมที่ปฏิบัติกันทั่วไปในภาคใต้ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษอย่างหนึ่ง