ไลฟ์สไตล์

คำวัด - พุทธบัญญัติเรื่อง..."บาตร"

คำวัด - พุทธบัญญัติเรื่อง..."บาตร"

15 ต.ค. 2553

พระพุทธเจ้ายังทรงบัญญัติว่า ห้ามพระภิกษุใช้บาตรที่มีขนาดเกิน ๑๑ นิ้ว เนื่องจากในสมัยพุทธกาลมีภิกษุรูปหนึ่งโลภมาก จึงใช้บาตรลูกใหญ่ในการบิณฑบาต หากบิณฑบาตได้อาหารดีๆ ก็จะนำไปซ่อนไว้ใต้บาตร เพื่อที่จะได้ฉันคนเดียว เมื่อบิณฑบาตได้อาหารจำนวนมากก็ฉันไม่หมด เน

  อย่างไรก็ดี พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติพระธรรมวินัย เกี่ยวกับการใช้บาตรของพระภิกษุสงฆ์ไว้หลายประการ เช่น ในการบิณฑบาตให้พระภิกษุรับบาตรได้ไม่เกิน ๓ บาตร ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อบิณฑบาตจนเต็มแล้ว สามารถถ่ายของออกจากบาตร และรับบาตรได้อีกไม่เกิน ๓ ครั้ง,

 เวลาบิณฑบาต ห้ามสะพายบาตรไว้ด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้บาตรไปชนอะไรแตกหักเสียหาย, ห้ามเปิดประตูขณะที่มือถือบาตรอยู่ เพราะอาจทำให้บาตรหล่นและแตกหักได้ ต้องวางบาตรให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยเปิดประตู,

 ขณะที่ถือบาตรอยู่ ห้ามห่มจีวร ต้องวางบาตรให้เรียบร้อยก่อนจึงจะทำการขยับหรือนุ่งห่มจีวร, ห้ามวางบาตรชิดขอบโต๊ะ โดยต้องวางให้ห่างจากขอบโต๊ะอย่างน้อย ๑ ศอก เพื่อป้องกันบาตรตกแตกเสียหาย

 พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "บาตร" ไว้ว่า คือภาชนะชนิดหนึ่งที่พระภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต เป็นบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งใน ๘ อย่าง และเป็นบริขารสำคัญที่ขาดไม่ได้ เช่นเดียวกับไตรจีวร

 บาตร ที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้มี ๒ ชนิด คือ บาตรดินเผา กับ บาตรเหล็ก
 บาตร ที่ทรงห้ามใช้ คือ บาตรทอง บาตรเงิน บาตรแก้วมณี บาตรแก้วไพฑูรย์ บาตรแก้วผลึก บาตรทองแดง  บาตรทองเหลือง บาตรดีบุก บาตรสังกะสี และบาตรไม้ และทรงห้ามมิให้ใช้ของอื่น เช่น กระทะดิน กะโหลก น้ำเต้า และ กะโหลกผีแทนบาตร

 นอกจากกำหนดชนิดของบาตรแล้ว ยังกำหนดขนาดไว้ด้วย คือ บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกกินได้ ๒ คน อิ่ม  บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกกินได้ ๕ คน อิ่ม และ บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกกินได้ ๑๐ คน อิ่ม

0 พระธรรมกิตติวงศ์ 0