"โรคหัวใจ" ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
สถานการณ์ของโรคหัวใจในปัจจุบัน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากสถิติพบว่า โรคหัวใจคร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง แถมผู้ป่วยยังมีอายุเฉลี่ยน้อยลงด้วย
อันที่จริง "โรคหัวใจ" ไม่ใช่ชื่อโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมๆ หมายถึง โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ อาทิ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นต้น ซึ่งในบรรดาโรคหัวใจทั้งหมด "โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ" เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกคน ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการผิดปกติเลยก็ได้ ถ้าโรคหัวใจนั้นยังไม่รุนแรงหรือเพิ่งเป็นในระยะแรก ดังนั้นควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจหากมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้
- เป็นโรคเบาหวาน
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง
- มีระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
- สูบบุหรี่จัด
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
- หากมีอาการเตือนของโรคหัวใจ อาทิ เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย ใจสั่น หอบเหนื่อยผิดปกติเวลาออกแรง นอนราบแล้วหายใจไม่สะดวก ฯลฯ
การรักษาโรคหัวใจ
มีหลายวิธีขึ้นกับปัญหาของผู้ป่วย แพทย์จะพิจารณาวิธีที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อาทิ
- การรักษาทางยา
- การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและขดลวด กรณีเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร (Pacemaker)
- การผ่าตัดฝังเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติ
- การผ่าตัดหัวใจ (Cardiac Surgery)
การดูแลอย่างต่อเนื่อง
ป่วยโรคหัวใจจำเป็นต้องได้รับการดูแลภายหลังรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แพทย์จะนัดพบผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามผลการรักษา ดูแลเรื่องการให้ยา หรือให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวต่างๆ เช่น การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี แนะนำโภชนาการที่ถูกต้อง เป็นต้น
หรับโรคหัวใจ...พรุ่งนี้อาจสายเกิน หากท่านสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ ปัจจุบันมีสถานพยาบาลหลายแห่งที่มีความพร้อมในด้านทีมแพทย์และบุคลากร ตลอดจนอุปกรณ์-เครื่องมือที่จะช่วยในการตรวจวินิจฉัยและรักษา
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลยันฮี