จับทางธุรกิจปี 66 สินค้า 'เทรนด์สุขภาพ'ยืนหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ด้านเส้นผมมาแรง
การดูแลสุขภาพยังคงเป็นเทรนด์ที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปี 2566 นี้ วันนี้คมชัดลึก พาไปส่องธุรกิจที่กำลังมาแรง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ด้านเส้นผม และจากผลการศึกษาแล้ว จะเติมโตต่อเนื่อง ใครที่มีกำลังธุรกิจนี้ก็น่าสนใจ
กระแสความนิยมในการดูแลสุขภาพยังคงเป็นเทรนด์ที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งแม้ปัจจุบันสถานการณ์ดังกล่าวจะคลี่คลายลง แต่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าว ก็ยังคงเป็นแรงกระตุ้นต่อเนื่องทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง ทั้งในด้านสุขภาพ รวมไปถึงภาพลักษณ์ รูปร่างหน้าตา และส่งผลให้ตลาดของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากการศึกษาของ Nielsen CMV พบว่าใน ปีพ.ศ. 2565 คนไทยมีการซื้อผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสุขภาพและความงามถึง 84% โดยกลุ่มสุขภาพ เช่น วิตามิน อาหารเสริม มีการเติบโตขึ้น 229% จากปีพ.ศ. 2562 โดยจากผลสำรวจยังพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ประมาณ 60% ต้องการรับประทานอาหารเสริมเพื่อให้ดูอ่อนกว่าวัย รองลงมาคือต้องการมีผิวที่ดีขึ้น ดังนั้น คาดว่า
ในปี 2566 จะยังเป็นปีที่ผู้คนมีแนวโน้ม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารให้มีความสมดุลมากขึ้น โดยมีการรับประทานอาหารเป็นยา วิตามินเพื่อสุขภาพ และยาสมุนไพร
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดออนไลน์ในบ้านเรานับว่ามีการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยมีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้น ทำให้ประชาชนเกิดการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์กันเพิ่มมากขึ้น จนสินค้าหลายประเภทสามารถแจ้งเกิด และทำยอดขายหลักแสนหลักล้านบาทต่อเดือนได้ง่าย ๆ
สุชาดา เกษมี ผู้บริหารแบรนด์ SHADA ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามินเส้นผม ที่เติบโตมาจากการทำธุรกิจออนไลน์ เล่าถึงการแข่งขันของตลาดออนไลน์ในบ้านเราว่า ก่อนหน้านี้เธอกับสามีทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ นำเข้าสินค้าจากจีนมาขายเป็นพวกอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน
ซึ่งในช่วงโควิดสินค้าขายดีมาก แต่มีจุดอ่อนคือ กระแสของสินค้าออนไลน์จะเปลี่ยนค่อนข้างเร็ว ทุกสองเดือนจะมีสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดเสมอ และการแข่งขันก็ค่อนข้างสูง เนื่องจากเริ่มมีผู้ขายในตลาดเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการแข่งขันกันด้านราคาสูงมาก
"ตอนนั้นเราจับสินค้าตามกระแส เรานำเข้ามาแล้วทำคอนเทนท์โพสต์ขาย มีรายได้ต่อเดือนหลักแสนแต่เราพบว่าการทำตลาดแบบนี้มันไม่ยั่งยืน เพราะต้องสู้กันด้วยราคา บางครั้งก็ต้องยอมขายขาดทุนเพื่อรักษาชื่อ
เราจึงสนใจทำแบรนดิ้ง และคิดสร้างผลิตภัณฑ์ของตัวเองที่เป็นสินค้าใหม่ขึ้นมา ซึ่งเรามองกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิช มาร์เก็ต คือสินค้าสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องของเส้นผม ที่เราพบว่าปัจจุบันคนกำลังมีปัญหาเรื่องเส้นผมค่อนข้างเยอะ ทั้งผมหงอก ผมร่วง ผมบาง เราจึงศึกษาข้อมูลและร่วมกับทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เอกชน พัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาในจุดนี้ และเป็นที่มาของวิตามินบำรุงผม ที่จะช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม กระตุ้นการงอกใหม่ และแก้ปัญหาผมหงอก ซึ่งเรื่องของเส้นผมก็ถือเป็นเรื่องสำคัญของผู้หญิงด้วย"
สุชาดา เผยต่อว่าสำหรับจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ SHADA คือเป็นวิตามินรับประทานที่ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ ที่ผ่านการวิจัยโดยทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เอกชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยมีส่วนผสมหลัก ได้แก่ ไบโอติน และสารสกัดจากทับทิมสเปน ซึ่งมีคุณสมบัติที่จะช่วยลดการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว ลดไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด มีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในผิว ส่งเสริมการซ่อมแซม และสร้างเซลล์ใหม่ในชั้นหนังแท้ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้จะมีส่วนช่วยในการลดไขมันบนหนังศีรษะ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งต่อการหลุดร่วงของเส้นผม และช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผมด้วยนั่นเอง
เพราะเป็นสินค้าใหม่ในกลุ่มเส้นผมซึ่งเป็นนิช มาร์เก็ต หรือตลาดเฉพาะกลุ่ม การวางกลยุทธ์การตลาดจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งคุณสุชาดายอมรับว่าการสร้างแบรนด์นั้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของยอดขายผลิตภัณฑ์และธุรกิจของเธอ ซึ่งกลยุทธ์ของเธอคือการสร้าง personal branding ซึ่งตัวเธอเองก็เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาเส้นผมมาก่อน และได้ลองใช้สินค้าของตัวเองแก้ปัญหาจนเกิดผลลัพธ์ที่ดีด้วย
"ที่เราเลือกทำตลาดเองก่อนโดยไม่มีตัวแทนจำหน่าย ก็เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในแบรนด์กับลูกค้า เพราะเราอยากให้ลูกค้าสัมผัสได้ว่าเราต้องการมอบสิ่งดี ๆ มอบสินค้าที่ตอบโจทย์ สามารถแก้ปัญหาให้ได้จริง ๆ เพราะเราและทีมงานทุกคนก็ใช้สินค้าเองด้วย ปีนี้เราตั้งเป้าว่าแบรนด์ SHADA จะต้องเป็นที่ยอมรับในประเทศ โดยเราจะเน้นการทำตลาดในช่องทางออนไลน์ที่เราถนัดเป็นหลัก โดยจำหน่ายผ่านเพจหลักของบริษัท และบนแพลตฟอร์มของ SHOPEE และ LAZADA"
การนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในระบบออนไลน์ อาจจะสามารถสร้างยอดขายหลักแสนหลักล้านต่อเดือนได้ แต่ก็มีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จำนวนมากเช่นกัน และทุกคนต่างก็ใช้กลยุทธ์ด้านราคามาห้ำหั่นกัน ส่งผลให้สินค้าที่มีราคาถูกขายได้ ซึ่งสินค้าถูกอาจไม่ใช่สินค้าที่มีคุณภาพ เมื่อจำหน่ายออกไปก็อาจทำให้เกิดเสียสะท้อนที่ไม่ดีกลับมา ประกอบกับสินค้าที่แข่งกันในตลาดส่วนใหญ่เป็นสินค้ากระแสที่มาเร็วไปเร็ว
สุชาดา จึงมองหาความแตกต่าง ซึ่งเธอเลือกการทำแบรนดิ้ง เพราะมองเห็นโอกาสและเชื่อว่าการสร้างแบรนด์ที่มีคุณค่าจะทำให้ธุรกิจของเธอก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและมีความยั่งยืนกว่า โดยปีแรก SHADA ตั้งเป้าเปิดตัวยอดขาย 100 ล้านบาท ในฐานะสินค้าตัวแรกของบริษัท ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้รายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นในภาพรวมถึง 30 เปอร์เซ็นต์
"เราไม่เคยทำสินค้าเกี่ยวกับแบรนด์ เราเริ่มต้นจากศูนย์ แต่เราอยากแก้ปัญหา เรามีแรงบันดาลใจ การตัดสินใจสร้างแบรนด์ธุรกิจ สิ่งสำคัญคือต้องมีที่ปรึกษาที่ดีที่คอยช่วยแนะนำและวางแผนธุรกิจให้ ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้"